Q: อยากให้ช่วยทำการบ้านหน่อยค่ะอาจารย์ให้โจทย์มาให้ฝั่งหนูเป็นทนายไปต่อสู่ให้กับฝั่งจำเลยซึ่งหนูไม่รู้จะพูดหรือจะเริ่มยังไงค่ะ

* จากแอดมิน * หากผู้ใช้มีคำถามรบกวนสรุปมาเป็นประเด็นให้ชัดนะครับ เพื่อความสะดวกของทนายทุกท่านในการตอบคำถาม อันนี้เป็นโจทย์ค่ะ https://drive.google.com/file/d/1eS0x4fxrwsdCefcA_fsF25FaWUF5fZk6/view ส่วนอันนี้คือวิธีการที่จะตอบ ส่วนที่เว้นไว้คือสิ่งที่หนูต้องอ่านโจทย์เพื่อเอามาเขียนค่ะ การกล่าวคำขึ้นต้นและลงท้ายในการแถลงการณ์ด้วยวาจา การขึ้นต้น-ลงท้าย 1) การแถลงการณ์ฝ่ายอุทธรณ์พูดแถลงการณ์คนที่ 1 (ทนายจำเลยคนที่ 1 พูด 15 นาที) เริ่มต้น (ทำความเคารพโดยการโค้งคำนับต่อศาลและกล่าวว่า) ​ข้าแต่ศาลที่เคารพ ข้าพเจ้านาย/นางสาว................. ทนายความฝ่ายจำเลยคนที่ 1 ขอประทานกราบเรียนแถลงการณ์ด้วยวาจาต่อศาลชั้นอุทธรณ์เพื่อประกอบดุลพินิจในการพิจารณาพิพากษาของศาลอันมีเหตุผลทั้งทางข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ดังต่อไปนี้…………………………………………… สรุปข้อเท็จจริงและคำพิพากษา (ที่โจทย์คำถามให้มา)................................................ ​ด้วยความเคารพต่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นทนายความฝ่ายจำเลยคนที่ 1 ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังปรากฏตามรายละเอียดที่ได้ยื่นอุทธรณ์แล้ว ​ข้าพเจ้าทนายความฝ่ายจำเลยคนที่ 1ขอกราบเรียนแถลงการณ์ด้วยวาจาเพื่อประกอบดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้………………………………………………………………………. ลงท้าย ด้วยเหตุผลทุกประการที่ได้กราบเรียนไปแล้วข้างต้น ข้าพเจ้าขอจบการแถลงการณ์ด้วยวาจาในส่วนของข้าพเจ้าแต่เพียงเท่านี้ และขอให้ศาลชั้นอุทธรณ์ได้โปรดพิพากษา (กลับหรือยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้น) นอกจากนั้นขอศาลอุทธรณ์ได้โปรดประธานอนุญาตให้ทนายความโจทก์จำเลยคนที่ 2 ได้แถลงการณ์เพิ่มเติมในโอกาสต่อไป ......................ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด (โค้งคำนับต่อศาลและกลับที่) ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 2) การแถลงการณ์ฝ่ายแก้อุทธรณ์พูดแถลงการณ์คนที่ 1 (ทนายโจทก์คนที่ 1 พูด 10 นาที) เริ่มต้น (ทำความเคารพโดยการโค้งคำนับต่อศาลและกล่าวว่า) ​ข้าแต่ศาลที่เคารพ ข้าพเจ้านาย/นางสาว................. ทนายความฝ่ายโจทก์คนที่ 1 จากคำแถลงการณ์ของทนายความฝ่ายจำเลยคนที่ 1 ข้าพเจ้าทนายความฝ่ายโจทก์คนที่ 1 ไม่เห็นพ้องด้วยจึงขอประทานกราบเรียนแถลงการณ์ด้วยวาจาต่อศาลชั้นอุทธรณ์เพื่อประกอบดุลพินิจในการพิจารณาพิพากษาของศาลอันมีเหตุผลทั้งทางข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ดังต่อไปนี้…………………………………………… ลงท้าย ด้วยเหตุผลทุกประการที่ได้กราบเรียนไปแล้วข้างต้น ข้าพเจ้าขอจบการแถลงการณ์ด้วยวาจาในส่วนของข้าพเจ้าแต่เพียงเท่านี้ และขอให้ศาลชั้นอุทธรณ์ได้โปรดพิพากษา (ยืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น) นอกจากนั้นขอศาลชั้นอุทธรณ์ได้โปรดประธานอนุญาตให้ทนายความโจทก์คนที่ 2 ได้แถลงการณ์เพิ่มเติมในโอกาสต่อไป ......................ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด (โค้งคำนับต่อศาลและกลับที่) ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 3) การแถลงการณ์ฝ่ายแก้อุทธรณ์พูดแถลงการณ์คนที่ 2 (ทนายโจทก์คนที่ 2 พูด 10 นาที) เริ่มต้น (ทำความเคารพโดยการโค้งคำนับต่อศาลและกล่าวว่า) ​ข้าแต่ศาลที่เคารพ ข้าพเจ้านาย/นางสาว............................. ทนายความฝ่ายจำเลยคนที่ 2 ไม่เห็นพ้องด้วยกับทนายความฝ่ายจำเลยคนที่ 1 จึงขอประทานกราบเรียนต่อศาลชั้นอุทธรณ์เพื่อขอแถลงอุทธรณ์เพิ่มเติมด้วยประเด็นทั้งทางข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ดังต่อไปนี้……………………….. ​ลงท้าย ด้วยเหตุผลทุกประการที่ได้กราบเรียนไปแล้วข้างต้น (อาจใส่หรือไม่ก็ได้ แนวความคิดและเอกสารทางวิชาการ/รวมทั้งแนวคำพิพากษาของศาลที่ได้วางรากฐานไว้/และเพื่อความที่ทำดำรงอยู่ของสังคม)ทนายความฝ่ายจำเลยคนที่ 2 ขอให้ศาลอุทธรณ์ให้ผู้พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ......................ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด (โค้งคำนับต่อศาลและกลับที่) ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 4) การแถลงการณ์ฝ่ายอุทธรณ์พูดแถลงการณ์คนที่ 2 (ทนายจำเลยคนที่ 2 พูด 8 นาที) เริ่มต้น (ทำความเคารพโดยการโค้งคำนับต่อศาลและกล่าวว่า) ​ข้าแต่ศาลที่เคารพ ข้าพเจ้านาย/นางสาว............................. ทนายความฝ่ายจำเลยคนที่ 2 ด้วยความเคารพต่อศาลชั้นต้นทนายความฝ่ายจำเลยคนที่ 2 ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงขอแถลงอุทธรณ์เพิ่มเติมต่อศาลชั้นอุทธรณ์ด้วยประเด็นทั้งทางข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ดังต่อไปนี้……………………….. ​ลงท้าย ด้วยเหตุผลทุกประการที่ได้กราบเรียนไปแล้วข้างต้น (อาจใส่หรือไม่ก็ได้ แนวความคิดและเอกสารทางวิชาการ/รวมทั้งแนวคำพิพากษาของศาลที่ได้วางรากฐานไว้/และเพื่อความที่ทำดำรงอยู่ของสังคม)ทนายความฝ่ายจำเลยคนที่ 2 ขอให้ศาลอุทธรณ์ให้ผู้พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เพื่อประโยชน์และประกาศความชอบธรรมให้ปรากฏแก่จำเลยด้วย(ครับ/ค่ะ) ......................ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด (โค้งคำนับต่อศาลและกลับที่) ข้อแนะนำเพิ่มเติม 1) การแถลงการณ์ของทนายความฝ่ายจำเลยคนที่ 1 ต้องกล่าวถึงข้อเท็จจริงที่ผ่านมาในศาลชั้นต้นโดยสรุปข้อเท็จจริงเฉพาะในประเด็นที่สำคัญ ไม่ต้องลอกมาทั้งหมดจากนั้นจึงเข้าสู่เนื้อหาของการโต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้น 2) ไม่ควรเพิ่มเติมข้อเท็จจริงที่ไม่ได้กล่าวเอาไว้ในโจทย์คำถาม ไม่เช่นนั้นอาจโดนตัดคะแนนได้ 3) ผู้แถลงปิดคดีคือฝ่ายอุทธรณ์คนที่ 2 (ทนายความฝ่ายจำเลยคนที่ 2) ทำได้แต่เพียงทำลายน้ำหนักในประเด็นที่ฝ่ายแก้อุทธรณ์ทั้งสองคน(ฝ่ายโจทก์)แถลงไว้เท่านั้น ห้ามตั้งประเด็นขึ้นมาใหม่ เนื่องจากอีกฝ่ายไม่มีโอกาสได้แถลงแก้อีกแล้ว ดังนั้นในส่วนของการตั้งประเด็นนั้นให้เป็นหน้าที่ของผู้แถลงคนแรก (ทนายความฝ่ายจำเลยคนที่ 1) 4) ในตอนจบของคำแถลงการณ์ควรสรุปถึงเหตุผลและกฎหมายทั้งหมดให้เชื่อมโยงกันอีกครั้งหนึ่ง 5) การใช้คำขึ้นต้นหรือลงท้ายอาจแตกต่างกันได้ตามแต่ละทีมจะนำเสนอ แต่จะต้องยึดโยงกับหลักการที่วางไว้ รบกวนช่วยหนูด้วยนะคะ

เผยแพร่เมื่อ 2023-08-08

คำตอบจากทนาย (1)

A: พี่ขออนุญาตให้คำแนะนำ แทนการช่วยทำนะคะ ก่อนอื่นเลย การแถลงปิดคดีวัตถุประสงค์หลักๆก็เพื่อเป็นการสรุป ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายและพยานหลักฐานต่างๆในสำนวนว่ามีเหตุผลใดที่ศาลควรตัดสินให้ฝ่ายตนจะต้องชนะคดี เพราะฉะนั้น วิธีการเขียนคำแถลงการณ์ไม่ได้มีกฎหมายกำหนด หรือมีหลักการกำหนดไว้ตายตัว แต่อาจจะมีแนวทางในการเริ่มต้น ดังนี้ค่ะ 1. ให้พิจารณาหาประเด็นข้อกฎหมายที่สำคัญ ที่จะให้ศาลพิพากษาให้เราชนะคดีเพราะข้อกฎหมายใด แนบฎีกาประกอบไปด้วยก็ได้ค่ะ 2.ชี้ให้ศาลเห็นน้ำหนักของพยานหลักฐานของฝ่ายเรา และชี้ข้อพิรุธของพยานหลักฐานฝ่ายตรงข้าม 3.ไม่ใช้ข้อความที่เยิ่นเย้อ หรือซ้ำซ้อนกับข้อความในสำนวน ( สรุปใจความสำคัญในคำถาม อย่าลอกคำถามมาเขียน) การหยิบยกหลักฐานหรือคำเบิกความให้ยกมาแค่บางส่วนที่ต้องการขี้ประเด็น อย่ายกมาทั้งหมด สรุปให้สั้นทกระชับ จับใจความสำคัญครบทุกประเด็น 4. ระมัดระวังการเขียนข้อเท็จจริงที่ผิดไปจากพยานหลักฐาน/คำเบิกความในสำนวน อย่าอ้างถึงพยานหลักฐานนอกคดีเพราะอาจทำให้ศาลเข้าใจว่าเราพยายามบิดเบือนข้อเท็จจริงและกลายเป็นไม่เชื่อฝ่ายเราแทน เว้นแต่เป็นข้อเท็จจริงทั่วไป 5. ไม่ใช่ถ้อยคำเสียดสีฝ่ายตรงข้าม แต่เป็นการเขียนเนื้อหาเพื่อโน้มน้าวให้ศาลเห็นคล้อยตามพยานหลักฐานฝ่ายเรา อย่าลืมแบ่งเป็นข้อๆเพื่อให้อ่านเข้าใจง่าย ไล่เรียงประเด็นชี้ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามลำดับเวลาหรือเหตุการณ์เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เริ่มต้นเขียนอย่างไร ลำดับการเขียน คร่าวๆ ก็คือ -อ่านคำถามทั้งหมดก่อนเพื่อแยกประเด็นว่าเป็นของใครบ้าง แยกออกมาเป็นฝ่ายๆไว้ก่อน จะได้ง่ายต่อการเรียบเรียงแถลงการณ์ของแต่ละฝ่าย -เมื่อแยกได้แล้วให้สรุปประเด็นข้อพิพาทในคดีแบบสั้นๆ (อย่า! ลอกคำฟ้อง/คำให้การ ให้ใช้วิธีสรุปคำฟ้อง/คำให้การ) ของแต่ละฝ่ายแล้วเขียนออกมาในลักษณะสรุปใจความสำคัญ -ชี้ความน่าเชือถือของพยานหลักฐานฝ่ายเรา และความไม่น่าเชื่อของพยานหลักฐานของฝ่ายตรงข้าม -ชี้ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง+เป็นประโยชน์กับรูปคดี +ยกแนวฎีกาในข้อกฎหมายนั้นประกอบ -สรุป ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาทั้งหมดศาลจึงควรพิพากษาให้ฝ่าย..... เป็นผู้ชนะคดี

เผยแพร่เมื่อ: 2023-08-08

คำถามที่คุณอาจสนใจ

Loading...
ทนายที่ให้คำปรึกษามากที่สุด
เดือน
ติดต่อเราทาง LINE