Q: คดี ครอบครองและค่าซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า2562 มาตรา17 ระวางโทษ มาตรา92 โทษ
แฟนถูกคดี ครอบครองและค้านกปรอดหัวโขน ถึงกับต้องติดคุกไหมคะ หรือมีโทษสูงสุดเท่าไรคะ และในข้อหากล่าวหามีคำว่าระวางโทษมาตรา 92 หมายความว่าไงคะ
คำตอบจากทนาย (2)
A: กฎกระทรวง กำหนดให้เป็นสัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 บอกว่า นกปรอดหัวโขน หรือ นกกรงหัวจุก เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ม.17 ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าว ซึ่งมันก็มีข้อยกเว้นอยู่ เช่น ครอบครองโดยได้รับใบอนุญาต ครอบครองโดยผู้ที่ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการเพาะพันธุ์สัตว์ป่า หรือครอบครองสัตว์ หรือซากสัตว์ดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนปี 2562 ถ้าท่านครอบครองโดยไม่เข้าข้อยกเว้นที่พูดมา ม.92 บอกว่า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ ยังมีกรณี ม.29 ห้ามค้าสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากสัตว์ป่าดังกล่าว หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ดังกล่าว ถ้าฝ่าฝืน ม.89 วรรคแรก บอกว่า ต้องระวางโทษจำคุกเพิ่มจาก จำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ยังดีที่นกปรอดหัวโขนเป็นเพียงสัตว์ป่าคุ้มครอง ถ้าไปล่าสัตว์ป่าสงวน จะโดนโทษหนักกว่านี้ แต่ทั้งนี้ การกระทำดังกล่าว เป็นการกระทำความผิดหลายกรรม หลายบท ก็ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด ตาม ม.90 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ดังนั้น ถ้าจะผิดก็ต้องไปเอา ม.89 มาลงโทษ คือกรณีที่มีการค้าสัตว์คุ้มครอง ทางแก้มีทางเดียว คือ เปลี่ยนจากหนักให้เป็นเบา ด้วย ม.78 ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งเป็นเรื่องการบรรเทาโทษ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การรับสารภาพไป จะได้เป็นเหตุบรรเทาโทษ โดยหากศาลเห็นสมควรก็จะลดโทษให้ได้ไม่เกินกึ่งหนึ่ง คือ เต็มที่ก็ได้ ครึ่งหนึ่ง เช่น ลงโทษจำคุก 5 ปี ก็จะเหลือแค่ 2.5 ปี หรือ ปรับ 50,000 บาท ก็จะเหลือ 25,000 บาท นอกจากนี้หากผู้กระทำความผิดไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน หรือเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนแต่โทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือเป็นความผิดลหุโทษ หรือเป็นโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือเคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่พ้นโทษจำคุกมาแล้วเกิน 5 ปี หากศาลคำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติฯลฯ ศาลจะพิพากษาว่าผู้กระทำความผิดนั้นมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้ เพื่อให้โอกาสกลับตัวภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด แต่ก็จะไม่เกิน 5 ปี ซึ่งศาลก็อาจสั่งให้มารายงานตัวบ้างในช่วงรอลงอาญา ไม่ก็ให้ไปทำความดี แต่ก็ดีคือไม่ต้องติดคุก เช่นนี้ ในคดีอาญานั้น เป็นคดีที่มีผลต่อชีวิต เสรีภาพ ดังนั้น หากศาลถามว่าต้องการทนายไหม ก็ให้ตอบว่า ต้องการ ไปก่อน จะได้ปรึกษาทนายความได้ ซึ่งทนายความตรงนี้ บอกศาลว่าขอเป็นทนายขอแรง จะได้ไม่ต้องเสียเงิน ทั้งนี้เพื่อเป็นการใช้สิทธิของท่านเองอย่างเต็มที่
A: ความผิดฐานครอบครองสัตว์ป่ามีโทษถึงจำคุกครับ โดยนกปรอดถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฏหมาย เว้นแต่ได้ทำการขึ้นทะเบียนไว้ ความผิดตามกฎหมายคือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 มาตรา 17 ประกอบมาตรา 92
เดือน