Q: มรดกจากพ่อสามี จะตกเป็นของภรรยาได้หรือไม่หากสามีเสียชีวิต

คุณพ่อหย่ากับคุณแม่และไปแต่งงานจดทะเบียนสมรสใหม่ ระหว่างสมรสกับภรรยาใหม่ไม่ได้สร้างสมบัติด้วยกัน ทั้งคู่ไม่ได้ทำงานค่ะ ใช้เงินจากคุณปู่และคุณป้า คุณปู่เคยยกบ้านและที่ดินให้คุณพ่อไว้ระหว่างที่ยังสมรสกับภรรยาใหม่อยู่ จนกระทั่งตอนนี้คุณพ่อเสียชีวิต ภรรยาใหม่อ้างว่าตอนนี้เป็นผู้จัดการมรดก(เราไม่เคยยินยอมให้เขาเป็น) ซึ่งตอนนี้เขาต้องการให้เซ็นต์เอกสารหลายอย่าง เอกสารส่วนตัวของเรา รวมถึงต้องการใบหย่าจากคุณแม่เราด้วย อ้างว่าไม่สามารถปิดบัญชีและรับเงินค่าทำศพจากประกันสังคมได้เพราะต้องได้เอกสารตามที่กล่าวมา นอกจากนั้นยังอ้างว่าบ้านและที่ดินที่คุณปู่ยกให้คุณพ่อก็ต้องเป็นของเขาด้วยเพราะเขามีสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมายทั้งหมด ส่วนเราจะได้รับเพียงเงินจากประกันสังคมคุณพ่อเพียง 1ใน4ส่วน (ปู่ ย่า เรา และตัวภรรยาใหม่) เราพอจะทราบว่าจริงๆต้องหาร4ของสมบัติทั้งหมดหากคุณพ่อเคยสร้างเอาไว้เพราะปู่ย่าก็ยังมีชีวิต แต่ไม่เข้าใจเรื่องมรดกของคุณปู่ค่ะ มันไม่สามารถเป็นสินสมรสได้ ทำไมภรรยาใหม่จึงอ้างว่าเขามีสิทธิ์เพียงคนเดียวได้คะ นอกจากนั้นถ้าหากภรรยาใหม่ของพ่อจดทะเบียนถูกต้องทำไมจึงต้องการเอกสารยินยอมจากเราในการปิดบัญชี และรับเงินส่วนอื่นๆดังกล่าวด้วยคะ อยากทราบว่าข้อมูลทั้งหมดจากภรรยาใหม่เป็นจริงมากน้อยแค่ไหน แล้วตัวเราควรและไม่ควรทำอะไรบ้างคะ

เผยแพร่เมื่อ 2024-05-30

คำตอบจากทนาย (4)

A: ทรัพย์มรดกของผู้ตาย ให้แบ่งทรัพย์มรดกดังนี้ 1. ทรัพย์มรดก ของผู้ตาย แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ สินส่วนตัว และสินสมรส 1.1 สินส่วนตัวคือทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนสมรส และ อีกอย่างคือทรัพย์สินที่ได้รับมรดกมา 1.2 สินสมรสคือทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส และอีกอย่างคือทรัพย์สินที่ได้รับมรดกโดยมีการระบุว่าให้เป็นสินสมรส(จึงถือว่าเป็นสินสมรส) 2. เมื่อปู่ตายไม่ได้ระบุว่าเป็นสินสมรสจึงถือได้ว่าเป็นสินส่วนตัวของพ่อเพราะได้รับมรดกจากปู่ 3. บ้านและที่ดินของปู่จึงไม่นำไปคิดเป็นมรดกของพ่อ 4. จึงเหลือทรัพย์ที่จำเป็นต้องแบ่งคือสินสมรส โดยแบ่งออกครึ่งหนึ่งให้แก่ภรรยาใหม่ของพ่อ เหลืออีกครึ่งหนึ่งให้แบ่งให้แก่ทายาทของเจ้ามรดกทุกคนเท่ากันโดยภรรยาใหม่ของพ่อก็ได้ยังในส่วนครึ่งหลังนี้ด้วยอีกส่วนถือว่าเป็นทายาทโดยธรรม 5. หน้าที่ของผู้จัดการมรดกคือมีหน้าที่รวบรวมทรัพย์สินของผู้ตายนำมาแบ่งให้กับทายาท หากมีการกระทำที่เป็นการฉ้อฉล ปิดบัง หรือแบ่งทรัพย์สินไม่เป็นธรรมให้แก่ทายาท ทายาทสามารถร้องขอต่อศาลให้มีการเปลี่ยนผู้จัดการมรดกได้ และในส่วนที่มีการปิดบังหรือฉ้อฉลเกิดขึ้นจากการกระทำของผู้จัดการมรดก ผู้จัดการมรดกท่านนั้นต้องถูกกำจัดไม่ให้ได้รับมรดกของผู้ตาย -ดังนั้นไม่ใช่การที่ได้รับการตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้วมีอำนาจกระทำการตามอำเภอใจผู้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการมรดก หากผู้จัดการมรดกไม่ทำหน้าที่เช่นกล่าวอ้างว่าไม่ว่าง หรือไม่อยากทำให้ เหล่านี้เป็นต้น สามารถที่จะร้องขอต่อศาลเปลี่ยนผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ครับ หรือปิดบังไม่เป็นเผยทรัพย์มรดกของผู้ตาย ถือว่าเบียดบังทรัพย์มรดกได้ก็จะโดยกำจัดไม่ให้ได้รับมรดกเช่นกัน -ย้ำ ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่รวบรวมทรัพย์สินของผู้ตาย จึงต้องมี 1.การทำบัญชีทรัพย์สินภายใน 15 วัน 2.ต้องมีการเรียกประชุมทายาท หากไม่ทำถือว่าไม่ทำหน้าที่ของผู้จัดการ ครับ จึงไม่ต้องกังวลครับสามารถให้ความร่วมมือกันได้ครับแต่ถ้าหากตกลงกันด้วยดีไม่ได้ก็ต้องร้องขอต่อศาลขอเปลี่ยนผู้จัดการมรดกได้เช่นกันครับ

เผยแพร่เมื่อ: 2024-05-30

A: บ้านที่ปู่ยกให้พ่อ หากปู่ไม่ได้ระบุว่าให้เป็นสินสมรสย่อมเป็นสินส่วนตัวของพ่อ100% และทรัพย์สินและมรดกของพ่อ(กรณีที่ไม่มีทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสของภรรยาใหม่)ต้องเอามาแบ่งระหว่างทายาท ซึ่งก็จะมี ลูก คู่สมรส พ่อแม่ ของผู้ตาย ในส่วนเท่าๆกันครับ และในกรณีที่ได้รับแจ้งว่าภรรยาใหม่เป็นผู้จัดการมรดกนั้น แนะนำให้ตรวจสอบที่ศาลที่เป็นภูมิลำเนาของพ่อก่อนครับว่าได้มีการร้องขอจัดตั้งผู้จัดการมรดกไว้แล้วหรือยัง ถ้าหากมีแล้วและศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว ผู้จัดการมรดกก็จะมีหน้าที่รวบรวมทรัพย์มรดกของผู้ตายและแบ่งให้ทายาทครับ ซึ่งโดยส่วนมากผู้จัดการมรดกที่ศาลมีคำสั่งจะสามารถดำเนินธุรกรรมต่างๆได้โดยใช้สำเนาคำสั่งศาลในการติดต่อครับ แนะนำให้ตรวจสอบก่อนครับว่าศาลได้มีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้แล้วหรือยัง ถ้าหากยังไม่ได้ตั้ง คุณสามารถร้องขอต่อศาลเพื่อเป็นผู้จัดการมรดกได้ครับ ส่วนเรื่องที่เขาขอให้คุณเซ็นเอกสารยินยอมต่างๆ อาจจะเป็นขั้นตอนก่อนการยื่นคำร้องขอจัดการมรดกก็ได้ครับ ต้องเช็คอีกทีครับ

เผยแพร่เมื่อ: 2024-05-30

A: จากข้อเท็จจริงที่คุณแจ้งว่าพ่อกับภริยาใหม่ไม่มีสมบัติที่สร้างมาด้วยกัน (ไม่ได้ซื้อบ้าน/รถ ภายหลังที่มีการจดทะเบียนสมรส) ทรัพย์สินที่เป็นชื่อพ่อจึงเป็นสินส่วนตัวของพ่อที่ต้องตกทอดแก่ทายาท คือ ปู่ ย่า ภริยาใหม่ และลูก คนละเท่า ๆ กัน รวมถึงบ้านและที่ดินที่ปู่โอนให้แก่พ่อด้วยแม้จะหลังจดทะเบียนสมรสก็ตาม (เว้นแต่ ปู่ระบุให้เป็นสินสมรส ต้องแบ่งครึ่งให้ภริยาใหม่ก่อน) กรณีนี้ทนายแนะนำว่าให้ไปตรวจสอบก่อนครับว่ามีการร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกของพ่อหรือยัง หากยังคุณสามารถคัดค้านแล้วขอเป็นร่วมได้ครับ หรือหากมีการแต่งตั้งแล้ว ถ้าภริยาใหม่โอนทรัพย์มรดกเป็นของตนผู้เดียว คุณสามารถแจ้งความฐานยักยอกทรัพย์มรดก และฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้ครับ

เผยแพร่เมื่อ: 2024-05-30

A: ทรัพย์สินตัวบ้านไม่เป็นสินสมรสจริง แต่ก็เป็นสินส่วนตัวของคุณพ่อ แม่เจ้ามรดกตายไปจะต้องเอามาแบ่งกับทายาทซึ่ง ตัวภริยาใหม่ก็มีสิทธิได้รับในฐานะทายาทชั้นคู่สมรสค่ะ หากตอนนี้ทายาทมี4 คน คือ ปู่ ย่า ท่าน และ ภริยา ทุกคนจะได้รับมรดกเท่ากันค่ะ และส่วนในเรื่องของการปิดบัญชี รอให้มีการตั้งผู้จัดการมรดกแล้วไปปิดบัญชีก็ได้ค่ะ ทนายแนะนำว่า ให้ท่านไปคัดค้านและขอเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับอีกฝ่ายค่ะ

เผยแพร่เมื่อ: 2024-05-31

คำถามที่คุณอาจสนใจ

Loading...
ทนายที่ให้คำปรึกษามากที่สุด
เดือน
ติดต่อเราทาง LINE