Q: ญาติฟ้องให้โอนที่ดิน
พอดีได้รับหมายศาลฟ้องเรื่องที่ดินจากญาติซึ่งเป็นพี่น้องทางฝั่งคุณพ่อ โดยเรื่องราวคือ คุณพ่อมีพี่น้อง 7 คน รวมคุณพ่อเป็นลูกคนสุดท้องด้วย ปู่และย่ามีที่ดินหลายที่ได้แจกจ่ายให้ลูกๆไปบ้างแล้ว แต่มีที่ดินอยู่ 4 แปลงที่เป็นของย่าและ 1 แปลงที่เป็นของพี่สาวคนโตซึ่งเป็นคนโสด โดยทั้งย่าและพี่สาวคนโตได้พูดบอกกับญาติคนอื่นไว้ว่าถ้าใครดูแลจนตายก็เอาที่ดินนี้ไปโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมหรือโอนให้ใคร ซึ่งคุณพ่อได้ดูแลทั้งสองท่านจนตาย ต่อมาคุณพ่อได้ไปทำเรื่องเป็นผู้จัดการมรดกและโอนมรดกเป็นของตนเองตั้งแต่ปี2553 และใช้ประโยชน์ที่ดินมาตลอดโดยญาติทุกคนรับรู้ ต่อมาเดือนมิถุนายน 2566 คุณพ่อเสียชีวิต ไม่ได้ทำพินัยกรรมหรือโอนที่ดินให้ใคร และคุณแม่ พี่สาวและผมยังไม่ได้ไปทำเรื่องโอน ต่อมาวันที่ 4 มิถุนายน 2567 พี่น้องทางฝั่งพ่อได้ฟ้องเรื่อง ทรัพย์มรดก เรียกทรัพย์คืน ที่ดิน 5 แปลง โดยไปประเมินที่ดิน เป็นราคา 405,500 บาท โดยให้โอนที่ดินให้ญาติคืนทั้งหมดและจ่ายค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายให้ญาติด้วยตามหมายศาล โดยศาลให้ทำคำให้การแก้คดี และเรียกครั้งแรก นัดชี้สองสถานะ วันที่ 26 กรกฏาคม 2567 อยากปรึกษาว่าต้องทำยังไงบ้างและสามารถไกล่เกลี่ยได้หรือไม่(ที่ดินบางที่ก็ไม่อยากได้)และทำไมต้องจ่ายค่าฤชากับค่าทนายให้โจทก์ด้วย และต้องทำคำให้การตั้งแต่ครั้งแรกที่ไปศาลหรือไม่หากต้องการไปไกล่เกลี่ย ขอบคุณครับ
คำตอบจากทนาย (2)
A: กรณีนี้สามารถไกล่เกลี่ยได้ครับ แต่แนะนำให้ยื่นคำให้การต่อศาลด้วย เพื่อป้องกันหากไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ เราจะได้มีข้อต่อสู้อีกฝ่ายครับ (กรณีนี้ต้องทำคำให้การยื่นต่อศาลภายใน 15 วัน)
A: กรณีดังกล่าว ทนายแนะนำให้ท่านรีบนำหมายเรียกและคำฟ้องปรึกษาทนายเพื่อต่อสู้คดีค่ะ คดีดังกล่าวเป็นคดีแพ่งท่านต้องให้ทนายยื่นคำให้การภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหมายเรียก ส่วนในเรื่องของการไกล่เกลี่ยก็ค่อยไปเจรจากันในวันนัดได้ค่ะ แต่ควรยื่นคำให้การสู้คดีไว้ก่อน
เดือน