“มาตรา 1321 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1321” คืออะไร?
“มาตรา 1321” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1321 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ภายในบังคับแห่งกฎหมายเฉพาะและกฎข้อบังคับในเรื่องนั้น ผู้ใดจับสัตว์ป่าได้ในที่รกร้างว่างเปล่าหรือในที่น้ำสาธารณะก็ดี หรือจับได้ในที่ดิน หรือที่น้ำมีเจ้าของโดยเจ้าของมิได้แสดงความหวงห้ามก็ดี ท่านว่าผู้นั้นเป็นเจ้าของสัตว์ “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1321” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1321 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2515
โจทก์สูบน้ำออกจากหนองเพื่อจับปลาจนน้ำแห้งสามารถจับปลาได้แล้ว ย่อมถือว่าปลาในหนองอยู่ในความครอบครองของโจทก์ไม่ว่าหนองนั้นจะเป็นหนองสาธารณะหรือไม่จำเลยใช้ปืนขู่ห้ามมิให้โจทก์จับปลาในหนอง แล้วให้พวกของจำเลยจับปลาในหนองไป ย่อมมีความผิดฐานชิงทรัพย์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.อ. ม. 339
ป.พ.พ. ม. 1320, ม. 1321
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 78/2494
กระบือของจำเลยขวิดกระบือโจทก์ขาหักพิการ ใช้งานไม่ได้
โจทก์จำเลยตกลงกันโดยจำเลยเอากระบือเมียให้แก่โจทก์ 1 ตัวเป็นค่าเสียหาย การที่จำเลยมอบกระบือเมีย 1 ตัวแก่โจทก์นี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ชำระหนี้อันเกิดจากการละเมิดให้โจทก์เป็นการปฏิบัติต่อกันเลยขั้นที่จะถือว่าทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อกันไปแล้วจึงไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือก็ใช้ได้ ฉะนั้นเมื่อจำเลยกลับไปเอากระบือนั้นมาเสียจากการยึดถือครอบครองของโจทก์ ก็นับว่าจำเลยได้ทำละเมิดสิทธิยึดถือครอบครองของโจทก์ขึ้นอีกโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้คืนกระบือนั้นหรือใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 851, ม. 420, ม. 1321
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 78/2494
กระบือของจำเลยขวิดกระบือโจทก์ขาหักพิการ ใช้งานไม่ได้โจทก์จำเลยตกลงกันโดยจำเลยเอากระบือเมียให้แก่โจทก์ 1 ตัวเป็นค่าเสียหายการที่จำเลยมอบกระบือเมีย 1 ตัวแก่โจทก์นี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ชำระหนี้อันเกิดจากการละเมิดให้โจทก์ เป็นการปฏิบัติต่อกันเลยคั่นที่จะถือว่าทำสัญญาประณีประนอมยอมความต่อกันไปแล้ว จึงไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือก็ใช้ได้ ฉะนั้นเมื่อจำเลยกลับไปเอากระบือนั้นมาเสียจากการยึดถือครอบครองของโจทก์ ก็นับว่าจำเลยได้ทำละเมิดสิทธิยึดถือครอบครองของโจทก์ขึ้นอีก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้คืนกระบือนั้นหรือใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 851, ม. 520, ม. 1321