Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1331 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1331 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1331” คืออะไร? 


“มาตรา 1331” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1331 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ สิทธิของบุคคลผู้ได้เงินตรามาโดยสุจริตนั้น ท่านว่ามิเสียไป ถึงแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าเงินนั้นมิใช่ของบุคคลซึ่งได้โอนให้มา “


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1331” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1331 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11344/2556
การที่ ว. ฝากเงินเข้าบัญชีของโจทก์เพื่อชำระหนี้ที่ ว. ยืมเงินโจทก์ไป ถือว่าโจทก์รับเงินจำนวนดังกล่าวไว้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ เมื่อโจทก์ไม่มีส่วนรู้เห็นและเกี่ยวข้องในการที่ ว. กระทำความผิดแสดงว่าโจทก์รับเงินดังกล่าวมาโดยสุจริต ซึ่งสิทธิของโจทก์ผู้ได้เงินตรามาโดยสุจริตนั้น ท่านว่ามิเสียไปถึงแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าเงินนั้นมิใช่ของบุคคลซึ่งได้โอนให้มาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1331 โจทก์จึงได้รับความคุ้มครองตามบทกฎหมายดังกล่าว อันเป็นการยกเว้นหลักกฎหมายที่ว่า "ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน"
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1331

 


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1695/2540
ก่อนที่จำเลยจะฟ้อง ว.และโจทก์ให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันตามคดีหมายเลขแดงที่ 14473/2530 ของศาลชั้นต้น จำเลยรู้อยู่ก่อนแล้วว่า ว.ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาท เมื่อจำเลยซื้อรถยนต์พิพาทจาก ว.จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์และไม่อาจนำรถยนต์พิพาทออกให้เช่าซื้อได้ตามป.พ.พ.มาตรา 572 ดังนั้น เมื่อจำเลยนำรถยนต์พิพาทออกให้เช่าซื้อ โดยโจทก์เป็นผู้ค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อ สัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ การที่จำเลยฟ้องให้ ว.และโจทก์รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกัน ตามคดีหมายเลขแดงที่ 14473/2530 ของศาลชั้นต้น ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่า จำเลยไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทที่แท้จริง จึงถือได้ว่าจำเลยใช้สิทธิในการฟ้องคดีโดยไม่สุจริตอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ เมื่อจำเลยดำเนินการบังคับคดีเอาแก่โจทก์โดยอายัดเงินเดือนและเงินโบนัสของโจทก์จากการประปานครหลวง จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินที่ได้รับจากการบังคับคดีในคดีหมายเลขแดงที่ 14473/2530ของศาลชั้นต้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยคืนแก่โจทก์
คดีหมายเลขแดงที่ 14473/2530 ของศาลชั้นต้น จำเลยฟ้องโจทก์ให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันในฐานะโจทก์เป็นผู้ค้ำประกัน จึงมีประเด็นพิพาทว่าโจทก์ผิดสัญญาหรือไม่ และเมื่อโจทก์แพ้คดีดังกล่าว ต่อมาโจทก์ทราบจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2536 ว่า ในขณะที่ทำสัญญาเช่าซื้อ จำเลยไม่ได้เป็นเจ้าของรถยนต์ที่เช่าซื้อ โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยอ้างว่าจำเลยใช้สิทธิฟ้องคดีเดิมไม่สุจริตพร้อมกับเรียกเงินที่ได้จากการบังคับคดีของโจทก์คืน ประเด็นพิพาทในคดีนี้จึงมีว่า จำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินที่ได้รับจากการบังคับคดีคืนแก่โจทก์หรือไม่ ซึ่งการฟ้องคดีนี้มิได้ฟ้องโดยอาศัยข้อผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันแต่อย่างใด ดังนั้นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหามิได้เป็นอย่างเดียวกันกับคดีก่อนประเด็นที่วินิจฉัยมิใช่โดยอาศัยเหตุเดียวกัน และมิใช่ฟ้องคดีในเรื่องเดียวกัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 5, ม. 420, ม. 421, ม. 572, ม. 1331
ป.วิ.พ. ม. 148, ม. 271, ม. 284 วรรคสอง


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2536
การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานแล้วฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาและพิพากษายกฟ้องนั้น เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 227 โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโดยไม่ต้องโต้แย้งไว้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยเป็นมูลคดีเดียวกับคดีอาญาที่โจทก์เคยเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการฟ้องจำเลยว่าจำเลยร่วมกับ ล. ฉ้อโกงโจทก์ จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46 ซึ่งในคดีส่วนอาญานั้น ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วโดยฟังข้อเท็จจริงว่า ที่จำเลยรับเงินจาก ล. เป็นการรับชำระหนี้ค่าซื้อเชื่อทอง ฉะนั้น จากข้อเท็จจริงที่ฟังยุติดังกล่าว จำเลยจึงรับเงินไว้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ มิใช่รับไว้ในฐานลาภมิควรได้อย่างไรก็ตาม นอกจากโจทก์จะฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้แล้ว ยังฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยโดยอ้างเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1331 ด้วย คดียังมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวอยู่ ซึ่งศาลชั้นต้นยังมิได้สืบพยานฟังข้อเท็จจริงให้ยุติ ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 406, ม. 1331
ป.วิ.พ. ม. 24, ม. 226, ม. 227
ป.วิ.อ. ม. 46
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
ติดต่อเราทาง LINE