“มาตรา 1333 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1333” คืออะไร?
“มาตรา 1333” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1333 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ท่านว่ากรรมสิทธิ์นั้น อาจได้มาโดยอายุความตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะ ๓ แห่งบรรพนี้ “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1333” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1333 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2485
ที่บ้านซึ่งซื้อมาโดยทำการโอนกันต่อกรมการอำเภอตามระเบียบผู้ซื้อย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย. โอนที่บ้านโดยทำสัญญากันเองผู้รับโอนจะต้องครอบครองถึง9-10 ปี จึงจะได้กรรมสิทธิ์.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1299, ม. 1382, ม. 1298, ม. 1310, ม. 1311, ม. 1319, ม. 1333
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1535/2482
+งอกริมตลิ่งย่อมเป็นทรัพย์สินของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น ไม่ใช่ที่ว่างเปล่าของรัฐบาล, อยู่ในที่ดินโดยอาศัยอำนาจบุคคลอื่น ซึ่งเจ้าของที่ดินอนุญาตให้อยู่ได้นั้น แม้จะได้อยู่มาช้านานเท่าใดก็หาได้กรรมสิทธิ์ไม่.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1308, ม. 1333, ม. 1367, ม. 1369
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 87/2481
ที่ดินของโจทก์ด้านหน้าติดถนนหลวง ด้านหลังมีทางรายพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยโจทก์ได้ใช้ทางนี้เพื่อขนสินค้าและในกรณีเกิดอัคคีภัยมาประมาณ 20 ปีเศษแล้ว ที่ดินของจำเลยจึงตกอยู่ในภาระจำยอม จำเลยจะปิดทางนี้เสียมิได้
คดีไม่มีทุนทรัพย์เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น คู่ความฎีกาได้แต่ข้อกฎหมาย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1401, ม. 1333, ม. 1382, ม. 1390
ป.วิ.พ. ม. 172, ม. 248
พ.ร.บ.ลักษณฎีกาอุทธรณ์ พ.ศ.2461