“มาตรา 1351 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1351” คืออะไร?
“มาตรา 1351” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1351 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ เจ้าของที่ดิน เมื่อบอกล่วงหน้าตามสมควรแล้ว อาจใช้ที่ดินติดต่อเพียงที่จำเป็นในการปลูกสร้างหรือซ่อมแซมรั้ว กำแพง หรือโรงเรือน ตรงหรือใกล้แนวเขตของตน แต่จะเข้าไปในเรือนที่อยู่ของเพื่อนบ้านข้างเคียงไม่ได้ เว้นแต่ได้รับความยินยอม
ถ้าได้ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นไซร้ ท่านว่าเพื่อนบ้านข้างเคียงจะเรียกเอาค่าทดแทนก็ได้ “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1351” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1351 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3955/2542
คดีมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่า โจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดินมีสิทธิที่จะฉาบ ปูนและทาสีอาคารของโจทก์ซึ่งอยู่ชิดแนวเขตที่ดิน จำเลยโดยอาศัย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1351 วรรคหนึ่ง ได้หรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์บอกกล่าวจำเลยล่วงหน้า แล้ว จึงสามารถใช้ที่ดินของจำเลยที่อยู่ข้างเคียงเพื่อ ฉาบ ปูนและทาสีอาคารดังกล่าวได้ ดังนี้ปัญหาว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1351 เป็นบทจำกัด การใช้สิทธิของเจ้าของที่ดินผู้มีความประสงค์จะใช้สิทธิ นอกแดน กรรมสิทธิ์ของตนหรือไม่ จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระ แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง การใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1351 วรรคหนึ่ง เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ซึ่งมิได้บัญญัติให้เจ้าของที่ดินติดต่อต้องงดเว้นไม่ก่อสร้าง สิ่งใดลงใกล้แนวเขตที่ดิน ดังนั้น การที่โจทก์ปลูกสร้างอาคาร ฝ่าฝืนกฎหมายชิดแนวเขตโดยไม่เว้นระยะห่าง ก่อให้เกิด ความเสียหายแก่จำเลยหรือไม่ เป็นเรื่องที่จำเลยหรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องไปว่ากล่าวกับโจทก์ต่างหาก กรณีจึงมิใช่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจงใจหลีกเลี่ยงฝ่าฝืนกฎหมาย เป็นเหตุให้จำเลยที่มีที่ดินติดต่อได้รับความเสียหายดังที่จำเลยฎีกา
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1351 วรรคหนึ่ง
ป.วิ.พ. ม. 249 วรรคหนึ่ง
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3955/2542
คดีมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่า โจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดินมีสิทธิที่จะฉาบปูนและทาสีอาคารของโจทก์ซึ่งอยู่ชิดแนวเขตที่ดินจำเลยโดยอาศัย ป.พ.พ.มาตรา 1351 วรรคหนึ่ง ได้หรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์บอกกล่าวจำเลยล่วงหน้าแล้ว จึงสามารถใช้ที่ดินของจำเลยที่อยู่ข้างเคียงเพื่อฉาบปูนและทาสีอาคารดังกล่าวได้ ดังนี้ปัญหาว่า ป.พ.พ. มาตรา 1351 เป็นบทจำกัดการใช้สิทธิของเจ้าของที่ดินผู้มีความประสงค์จะใช้สิทธินอกแดนกรรมสิทธิ์ของตนหรือไม่ จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249วรรคหนึ่ง
การใช้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1351 วรรคหนึ่ง เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ซึ่งมิได้บัญญัติให้เจ้าของที่ดินติดต่อต้องงดเว้นไม่ก่อสร้างสิ่งใดลงใกล้แนวเขตที่ดิน ดังนั้น การที่โจทก์ปลูกสร้างอาคารฝ่าฝืนกฎหมายชิดแนวเขตโดยไม่เว้นระยะห่าง ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยหรือไม่ เป็นเรื่องที่จำเลยหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องไปว่ากล่าวกับโจทก์ต่างหาก กรณีจึงมิใช่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจงใจหลีกเลี่ยงฝ่าฝืนกฎหมาย เป็นเหตุให้จำเลยที่มีที่ดินติดต่อได้รับความเสียหายดังที่จำเลยฎีกา
(เหล็ก ไทรวิจิตร - พันธาวุธ ปาณิกบุตร - กิติยาภรณ์ อาตมียะนันทน์)ศาลจังหวัดมหาสารคาม นายสุรพงษ์ ชิดเชื้อศาลอุทธรณ์ภาค 1 นายสุรภพ ปัทมะสุคนธ์
นายพอพันธุ์ คิดจิตต์ - ตรวจ
นายมนตรี ยอดปัญญา - ผู้ช่วยผู้พิพากษาฯ
นายเอกศักดิ์ ยันตรปกรณ์ - ย่อ
รุจิรา พิมพ์/ทาน
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1351 วรรคหนึ่ง
ป.วิ.พ. ม. 249 วรรคหนึ่ง
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2542
จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินติดต่อที่ดินของโจทก์ด้านที่โจทก์จำเป็นต้องใช้ฉาบ ปูนและทาสีอันเป็นการจำเป็นในการปลูกสร้างอาคารของโจทก์ เมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวล่วงหน้าให้จำเลยทราบเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้ว โจทก์ก็ย่อมใช้ที่ดินที่จำเลยครอบครองอยู่เพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อการดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1351 วรรคแรก โจทก์ฟ้องจำเลยเนื่องจากจำเลยไม่ยอมให้โจทก์เข้าไปใช้ที่ดินของจำเลย ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1351 อันเป็นบทบัญญัติจำกัดสิทธิของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่อยู่ติดต่อกับที่ดินของโจทก์ แม้การก่อสร้างอาคารของโจทก์ซึ่งติดกับแนวเขตที่ดินจะเป็นการฝ่าฝืนเทศบัญญัติก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 5, ม. 1351
ป.วิ.พ. ม. 55