“มาตรา 1354 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1354” คืออะไร?
“มาตรา 1354” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1354 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้ามีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นให้ทำได้และถ้าเจ้าของไม่ห้าม บุคคลอาจเข้าไปในที่ป่า ที่ดง หรือในที่มีหญ้าเลี้ยงสัตว์ซึ่งเป็นที่ดินของผู้อื่น เพื่อเก็บฟืน หรือผลไม้ป่า ผัก เห็ด และสิ่งเช่นกัน “
2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1354” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1354 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2534
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จึงเท่ากับมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์หรือโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาที่ก่อให้เกิดสิทธิอยู่บนที่ดินนั้นได้ ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การวินิจฉัยข้อเท็จจริงในกรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะร้องต่อศาลให้วินิจฉัยชี้ขาดคดีให้ตนเป็นฝ่ายชนะโดยอาศัยเหตุแต่เพียงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งขาดนัดไม่มาศาลนั้นไม่ได้ แต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชี้ขาดให้คู่ความที่มาศาลเป็นฝ่ายชนะคดีต่อเมื่อเห็นว่าข้ออ้างของคู่ความเช่นว่านั้นมีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย เมื่อศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชี้ขาดโดยพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์ว่ามีน้ำหนักให้รับฟังแล้วเช่นนี้ย่อมไม่ขัดต่อกฎหมาย เมื่อศาลเห็นว่าการขาดนัดยื่นคำให้การของจำเลยเป็นการจงใจและไม่มีเหตุสมควรจึงไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ จำเลยอาจสาบานตนให้การเป็นพยานและถามค้านพยานโจทก์ได้เท่านั้น ไม่มีสิทธิอ้างทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารมาสืบ การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การและบัญชีระบุพยานนั้นชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 199วรรคสองแล้ว โจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินมี ส.ค.1 คนหนึ่งย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ที่มารบกวนหรือแย่งที่ดินนั้นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 แม้มาตรา 1359 จะอยู่ในหมวดกรรมสิทธิ์รวมก็ตาม ย่อมนำมาใช้บังคับในหมวดว่าด้วยการครอบครองได้ เพราะมีลักษณะเป็นเจ้าของรวมเหมือนกัน.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1354
ป.วิ.พ. ม. 199 วรรคสอง, ม. 205 วรรคแรก, ม. 224 วรรคสอง
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3895/2533
ส. ซึ่งมีชื่อเป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกับโจทก์ทั้งสอง เคยฟ้องจำเลยทั้งสามในข้อหาบุกรุกที่พิพาท เป็นการใช้สิทธิของเจ้าของรวมเพื่อติดตามเอาที่พิพาทคืน เมื่อศาลฟังว่า ที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดโดยศาลฟังว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยแล้ว โจทก์ทั้งสองซึ่งเป๋นเจ้าของรวมจะฟ้องจำเลยทั้งสาม ขอให้แสดงว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อีกไม่ได้ เพราะเป็นฟ้องซ้ำ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1354
ป.วิ.พ. ม. 148