“มาตรา 1382 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1382” คืออะไร?
“มาตรา 1382” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1382 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์ “
อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง "ครอบครองปรปักษ์" ได้ที่นี่ คลิกเลย !
ค้นหาคำปรึกษาจริง, บทความเพิ่มเติมเรื่อง "ครอบครองปรปักษ์" ได้ที่นี่ คลิกเลย !
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1382” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1382 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 721/2565
ผู้ร้องสอดอาศัยอำนาจตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 ยึดที่ดินพิพาทเพื่อขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างก่อนที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ เมื่อมีคำสั่งยึดแล้ว บุคคลใดจะทำลาย ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่บุคคลอื่นซึ่งทรัพย์สินที่ถูกยึดดังกล่าวไม่ได้ตามมาตรา 12 ทวิ สิทธิของผู้ร้องสอดดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นสิทธิอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมาย การที่ผู้ร้องนำคำสั่งศาลที่ให้ที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ไปขอเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเป็นชื่อของผู้ร้อง ถือได้ว่าเป็นการดำเนินการในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หากเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการให้ ย่อมเกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งและถูกโต้แย้งสิทธิที่จะร้องขอเข้ามาในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) แม้ว่าผู้ร้องนำคำสั่งศาลไปดำเนินการจดทะเบียนที่ดินให้ผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์แล้ว แต่ก็เป็นการดำเนินการหลังจากที่ผู้ร้องสอดยึดที่ดินพิพาทไว้แล้ว อันมีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่า การจดทะเบียนที่ดินนั้นชอบหรือไม่ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะรับคำร้องขอของผู้ร้องสอดไว้เพื่อดำเนินการไต่สวนและวินิจฉัยถึงข้อโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องสอดในชั้นบังคับคดีตามรูปคดีต่อไป
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1382
ป.วิ.พ. ม. 57 (1)
ป.รัษฎากร ม. 12, ม. 12 ทวิ
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2564
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อประมาณปี 2544 จำเลยทั้งสี่ให้สภาตำบลศรีพรานทำถนนดินระหว่างที่ดินของโจทก์และจำเลยทั้งสี่โดยงบประมาณของสภาตำบลศรีพราน ต่อมาก็นำงบประมาณมาทำเป็นถนนคอนกรีตเพื่อให้เป็นเส้นทางเดินของโจทก์ จำเลยทั้งสี่ และประชาชนทั่วไปเพื่อออกสู่ทางสาธารณะ ทั้งในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลศรีพรานเป็นผู้ก่อสร้างถนนพิพาทตั้งแต่ปี 2548 แสดงว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยเข้าใจว่าเป็นทางสาธารณะมาตั้งแต่ต้น การใช้สิทธิผ่านทางพิพาทของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะเป็นการใช้โดยปรปักษ์ต่อจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ตั้งทางพิพาท เพื่อให้ได้สิทธิภาระจำยอมแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่ได้ภาระจำยอมโดยอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382 แม้หากจะฟังว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทก็ไม่เป็นภาระจำยอมเพื่ออสังหาริมทรัพย์แก่ที่ดินของโจทก์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1382, ม. 1401
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2823/2564
ผู้ร้องสอดอาศัยอำนาจตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 ยึดที่ดินพิพาทเพื่อขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างก่อนที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ สิทธิของผู้ร้องสอดดังกล่าวถือเป็นสิทธิอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมาย การที่ผู้ร้องนำคำสั่งศาลที่ให้ที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ไปขอเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเป็นชื่อของผู้ร้องถือเป็นการดำเนินการในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งหากเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการให้ย่อมจะเกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งและถูกโต้แย้งสิทธิ ชอบที่จะร้องขอเข้ามาในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(1)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1382
ป.วิ.พ. ม. 57 (1)
ป.รัษฎากร ม. 12