Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1384 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1384 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1384” คืออะไร? 


“มาตรา 1384” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1384 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าผู้ครอบครองขาดยึดถือทรัพย์สินโดยไม่สมัครและได้คืนภายในเวลาปีหนึ่งนับตั้งแต่วันขาดยึดถือหรือได้คืนโดยฟ้องคดีภายในกำหนดนั้นไซร้ ท่านมิให้ถือว่าการครอบครองสะดุดหยุดลง“


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1384” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1384 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1635/2534
ที่พิพาทเป็นที่ดินมีโฉนด โจทก์ครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้ว ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้กรรมสิทธิ์สิ้นสุดลงโดยการไม่ใช้ แม้โจทก์จะมิได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทนานเท่าใด ตราบใดที่ยังไม่มีผู้อื่นมาแย่งกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทไปจากโจทก์ โจทก์ก็หาเสียกรรมสิทธิ์ไปไม่.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1377, ม. 1382, ม. 1384

 


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2284/2523
ผู้จัดสรรที่ดินได้ซื้อที่ดินจากจำเลยมาทำการปรับปรุงจัดสรรเพื่อจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป โดยทำถนนพิพาทขึ้นในที่จัดสรรนั้นด้วย ถือได้ว่าถนนพิพาทเป็นสาธารณูปโภค ซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดิน ต้องตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรตามนัยแห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 วรรคแรก และข้อ 32 แม้ว่าถนนดังกล่าวยังมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่ก็ตาม จำเลยก็ไม่มีสิทธิกระทำการใดๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ม. 30, ม. 32
ป.พ.พ. ม. 1384, ม. 1390


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2509
ทำหนังสือขายฝากที่ดินมือเปล่าโดยไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มีข้อความว่า ถ้าไม่ไถ่คืนภายใน 1 ปีก็ขาดแม้สัญญาขายฝากนั้นจะเป็นโมฆะก็ตาม แต่ก็เป็นที่เห็นได้ชัดว่า คู่กรณีได้มีเจตนาขายฝากที่พิพาทต่อกันโดยแสดงเจตนาว่า ถ้าไม่ไถ่คืนภายใน 1 ปีก็ขาด เมื่อผู้ขายฝากมอบสิทธิครอบครองในที่ที่ขายฝากนั้นให้ผู้ซื้อครอบครองตั้งแต่วันขายฝากตลอดมาก็ถือได้ว่าเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันแสดงเจตนาขายฝาก ผู้ขายยอมสละสิทธิ์ครอบครองซึ่งมีอยู่ในที่ที่ขายฝากให้โจทก์โดยเด็ดขาดตั้งแต่วันนั้นแล้ว
ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า เจ้าของมีแต่เพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น การโอนไปซึ่งการครอบครองย่อมโอนได้โดยการส่งมอบทรัพย์ที่ครอบครอง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 491, ม. 1299, ม. 1367, ม. 1369, ม. 1377, ม. 1378, ม. 1384
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
ติดต่อเราทาง LINE