Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1392 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1392 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1392” คืออะไร? 


“มาตรา 1392” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1392 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าภาระจำยอมแตะต้องเพียงส่วนหนึ่งแห่งภารยทรัพย์ เจ้าของทรัพย์นั้นอาจเรียกให้ย้ายไปยังส่วนอื่นก็ได้ แต่ต้องแสดงได้ว่าการย้ายนั้นเป็นประโยชน์แก่ตนและรับเสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ต้องไม่ทำให้ความสะดวกของเจ้าของสามยทรัพย์ลดน้อยลง “


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1392” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1392 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7153/2553
ป.พ.พ. มาตรา 1392 มิได้ระบุระยะเวลาที่อาจเรียกให้ย้ายภาระจำยอมไว้ว่าจะต้องกระทำภายในระยะเวลาใด และต้องกระทำก่อนคดีถึงที่สุดหรือไม่ เพียงแต่ะระบุให้เจ้าของภารยทรัพย์ที่ขอย้ายต้องแสดงให้เห็นได้ว่าการย้ายนั้นเป็นประโยชน์แก่ตนและรับจะเสียค่าใช้จ่ายหากมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ทั้งจะต้องไม่ทำให้ความสะดวกของเจ้าของสามยทรัพย์ลดน้อยลง ก็เพียงพอที่จะเรียกให้ย้ายทางภาระจำยอมได้แล้ว ประกอบกับเจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าวก็เพื่อต้องการให้เป็นหลักประนีประนอมอันดีระหว่างประโยชน์ของเจ้าของภารยทรัพย์และความสะดวกของเจ้าของสามยทรัพย์โดยไม่ถือเคร่งครัดตามสิทธิเกินไปด้วย ดังนั้นตราบใดที่การบังคับคดียังไม่เสร็จสิ้น การขอย้ายทางภาระจำยอมก็ย่อมสามารถกระทำได้แม้จะมีคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นที่สุดแล้วก็ตาม
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1392

 


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7688/2551
บุพการีของโจทก์ โจทก์ และบุคคลในครอบครัวและบุคคลข้างเคียงได้เดินผ่านที่ดินของจำเลยออกสู่ทางสาธารณะมาเกินกว่า 10 ปี แม้เดิมโจทก์เดินทางด้านทิศเหนือผ่านบ้านของจำเลย แต่ต่อมาจำเลยไม่ให้โจทก์เดินผ่านทางด้านดังกล่าว โจทก์จึงหันมาเดินทางพิพาท ก็มิทำให้ภาระจำยอมของโจทก์หมดไป การที่จำเลยไม่ให้โจทก์เดินทางด้านทิศเหนือซึ่งเป็นทางเดินดั้งเดิม ถือได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์เรียกให้โจทก์ย้ายไปใช้ทางภาระจำยอมส่วนอื่นของที่ดินของจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392 โจทก์จึงได้ภาระจำยอมในทางพิพาท
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1387, ม. 1392


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2551
โจทก์ซื้อที่ดินจาก น. ซึ่งแบ่งขายที่ดินให้แก่โจทก์ โดย น. ตกลงกับโจทก์ให้โจทก์มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะผ่านที่ดินของ น. เป็นการได้ภาระจำยอมโดยนิติกรรมอันเป็นทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ แต่เมื่อโจทก์ยังไม่จดทะเบียนการได้มาจึงไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรก แม้การได้ภาระจำยอมโดยนิติกรรมของโจทก์จะไม่บริบูรณ์ หากโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางภาระจำยอมติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี โจทก์ก็มีสิทธิได้ภาระจำยอมโดยอายุความตามมาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382
การย้ายทางภาระจำยอมเป็นสิทธิของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของภาระทรัพย์โดยจำเลยเป็นฝ่ายเสียค่าใช้จ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392 แต่จำเลยจะต้องแสดงได้ว่าการย้ายนั้นเป็นประโยชน์แก่จำเลยและต้องไม่ทำให้ความสะดวกของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามทรัพย์ลดน้อยลง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1299, ม. 1392, ม. 1401
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
ติดต่อเราทาง LINE