“มาตรา 1394 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1394” คืออะไร?
“มาตรา 1394” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1394 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้ามีการแบ่งแยกภารยทรัพย์ ท่านว่าภาระจำยอมยังคงมีอยู่ทุกส่วนที่แยกออก แต่ถ้าในส่วนใดภาระจำยอมนั้นไม่ใช้และใช้ไม่ได้ตามรูปการ ท่านว่าเจ้าของส่วนนั้นจะเรียกให้พ้นจากภาระจำยอมก็ได้ “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1394” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1394 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11447/2556
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า หลังจากที่ดินตามโฉนดเลขที่ 11327 ได้แบ่งแยกเป็นแปลงย่อยแล้ว ที่ดินดังกล่าวซึ่งมีการจดทะเบียนภาระจำยอมเดิมได้กันที่ดินที่เหลือจากการแบ่งแยกให้เป็นทางถนนกว้าง 8 เมตร ยาวตลอดเชื่อมต่อกับที่ดินโฉนดเลขที่ 43653 ซึ่งทำเป็นทางถนนเชื่อมกับทางสาธารณะถนนสายรามอินทรา โดยเจ้าของที่ดินที่ซื้อที่ดินที่แบ่งแยกรวมทั้งโจทก์และจำเลยต่างใช้ทางดังกล่าวเข้าและออกสู่ถนนสาธารณะ และหลังจากแบ่งแยกที่ดินของโจทก์นั้น จำเลยไม่ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของโจทก์เป็นทางภาระจำยอมอีกเลยตั้งแต่ปี 2515 และต่อมาเมื่อมีการก่อสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา-อาจณรงค์ แล้ว จำเลยสามารถใช้ที่ดินโฉนดเลขที่ 43653 ออกสู่ทางถนนดังกล่าวได้ด้วย ในกรณีเช่นนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1394 บัญญัติว่า "ถ้ามีการแบ่งแยกภารยทรัพย์ ท่านว่าภาระจำยอมยังคงมีอยู่ทุกส่วนที่แยกออก แต่ถ้าในส่วนใดภาระจำยอมนั้นไม่ใช้และใช้ไม่ได้ตามรูปการ ท่านว่าเจ้าของส่วนนั้นจะเรียกให้พ้นจากภาระจำยอมก็ได้" เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ที่ดินของโจทก์ซึ่งเป็นภารยทรัพย์หลังจากมีการแบ่งแยกแล้ว จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในภารยทรัพย์ โจทก์ในฐานะเจ้าของภารยทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้ที่ดินส่วนที่แบ่งแยกของโจทก์ให้พ้นจากภาระจำยอมเพราะเหตุไม่ใช้หรือใช้ไม่ได้ตามรูปการได้ ภาระจำยอมในที่ดินของโจทก์จึงระงับสิ้นไป ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ทั้งการใช้สิทธิฟ้องของโจทก์ในกรณีนี้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายหาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใดไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1394
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6547/2546
จำเลยทั้งสิบยังใช้ทางเดินภารจำยอมในที่ดินของโจทก์เดินผ่านออกไปสู่ทางสาธารณะอยู่ เมื่อมีการขัดขวางโดยบริษัท ช. ผู้ขายที่ดินให้โจทก์ปิดกั้นทางภารจำยอมจำเลยกับพวกก็ใช้สิทธิฟ้องให้บริษัทดังกล่าวเปิดทางภารจำยอม จนในที่สุดศาลฎีกาพิพากษาให้ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมและให้รื้อสิ่งก่อสร้างที่กระทำลงบนทางภารจำยอม ซึ่งอยู่ในระหว่างการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีอันเป็นข้อแสดงว่าจำเลยทั้งสิบยังต้องการใช้ทางภารจำยอมและตามรูปการทางภารจำยอมนั้นก็สามารถใช้ได้อยู่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้ที่ดินภารยทรัพย์พ้นจากภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1394
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1394
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6547/2546
ทางภาระจำยอมที่โจทก์จะเรียกให้พ้นจากภาระจำยอมได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1394 ทางภาระจำยอมนั้นต้อง ไม่ใช้และใช้ไม่ได้ตามรูปการ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยยังคงใช้ทางเดินภาระจำยอมในที่ดินของโจทก์ผ่านออกไปสู่ทางสาธารณะอยู่ เมื่อปรากฏว่ามีการขัดขวางโดยผู้ขายที่ดินให้โจทก์ปิดกั้นทางภาระจำยอม จำเลยกับพวกก็ใช้สิทธิฟ้องให้ผู้ขายที่ดินดังกล่าวเปิดทางภาระจำยอมนั้น เพื่อให้จำเลยกับพวกได้ใช้ทางภาระจำยอมในที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์อยู่ ในที่สุดศาลฎีกาพิพากษาให้ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมและให้รื้อสิ่งก่อสร้างใด ๆ ที่กระทำลงบนทางภาระจำยอม ขณะนี้คดีอยู่ในระหว่างการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อให้โจทก์เปิดทางภาระจำยอมให้แก่จำเลยกับพวกอันเป็นข้อแสดงว่าจำเลยยังต้องการใช้ทางภาระจำยอมและตามรูปการทางภาระจำยอมนั้นก็สามารถ ใช้ได้อยู่ ฉะนั้นโจทก์จึงหามีสิทธิที่จะเรียกให้ที่ดินภารยทรัพย์พิพาทพ้นจากภาระจำยอมตามมาตรา 1394 ไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1394