Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1412 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1412 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1412” คืออะไร? 


“มาตรา 1412” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1412 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ สิทธิเหนือพื้นดินนั้นจะก่อให้เกิดโดยมีกำหนดเวลา หรือตลอดชีวิตเจ้าของที่ดิน หรือตลอดชีวิตผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินนั้นก็ได้
              ถ้าก่อให้เกิดสิทธิพื้นดินโดยมีกำหนดเวลาไซร้ ท่านให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๔๐๓ วรรค ๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม “


2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1412” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1412 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8015/2551
ตามบันทึกข้อตกลงที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์กับ ช. มารดาจำเลยทั้งสองนั้นเป็นบันทึกข้อตกลงที่ก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดินซึ่งจะต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะบริบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิใช้ยันบุคคลภายนอกได้ แต่แม้จะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็หาทำให้เป็นโมฆะเสียเปล่าไม่ ยังคงบังคับกันได้ในฐานะเป็นบุคคลสิทธิระหว่างคู่สัญญา เมื่อโจทก์เป็นคู่สัญญาตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกที่จะได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง
บันทึกข้อตกลงระบุให้ ช. และบริวารอยู่อาศัยในห้องแถวทั้งสี่ห้องจนกว่าจะทรุดโทรมจนอยู่อาศัยไม่ได้ อันเป็นข้อตกลงที่ระบุเงื่อนไขไว้ชัดแจ้งว่า ช. และบริวารสามารถอยู่อาศัยในห้องแถวพิพาทซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินของโจทก์ได้จนกว่าห้องแถวนั้นจะทรุดโทรมประการหนึ่งและการทรุดโทรมนั้นต้องทำให้ไม่สามารถอยู่ในห้องแถวได้อีกประการหนึ่ง เมื่อครบทั้งสองประการดังกล่าว ช. และบริวารจึงจะอยู่อาศัยในที่ดินของโจทก์ต่อไปไม่ได้ต้องออกไปจากที่ดินของโจทก์ ซึ่งเงื่อนไขทั้งสองประการเป็นที่เห็นได้ว่าการทรุดโทรมจนอยู่อาศัยไม่ได้นั้น ไม่อาจกำหนดเวลาได้ว่าจะทรุดโทรมเมื่อใดและเมื่อทรุดโทรมแล้วเมื่อใดจึงจะถือว่าอยู่อาศัยไม่ได้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าบันทึกข้อตกลงเป็นการก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินโดยมีกำหนดเวลา อันจะต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1412 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1403 วรรคสาม
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1299 วรรคสอง, ม. 1403 วรรคสาม, ม. 1412 วรรคสอง

 


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 211/2537
คำฟ้องที่ว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่โฉนดพร้อมสิ่งปลูกสร้างอาคารพิพาท โจทก์ได้จดทะเบียนยกกรรมสิทธิ์อาคารดังกล่าวให้จำเลยทั้งสอง ต่อมาโจทก์มีความประสงค์จะขายที่ดินดังกล่าว จำเลยขัดขวางไม่ยอมรื้อถอนอาคารพิพาทออกจากที่ดินขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทออกไปจากที่ดินของโจทก์และใช้ค่าเสียหาย เป็นการฟ้องโดยอาศัยมูลละเมิดโจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้าง ย่อมมีหน้าที่นำสืบในประเด็นข้อพิพาทนี้ คำให้การของจำเลยที่ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยเพราะโจทก์ได้แสดงเจตนายกกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทให้จำเลยทั้งสองอยู่อาศัยตลอดชีวิตพอแปลได้ว่าเป็นข้อต่อสู้ว่านอกจากโจทก์จะยกกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทให้จำเลยแล้ว ยังมีข้อตกลงต่างหากให้จำเลยทั้งสองมีสิทธิอยู่อาศัยในอาคารพิพาท ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์ตลอดชีวิต
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 420, ม. 1410, ม. 1412
ป.วิ.พ. ม. 84
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
ติดต่อเราทาง LINE