“มาตรา 1419 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1419” คืออะไร?
“มาตรา 1419” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1419 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าทรัพย์สินสลายไปโดยไม่ได้ค่าทดแทนไซร้ ท่านว่าเจ้าของไม่จำต้องทำให้คืนดี แต่ถ้าเจ้าของทำให้ทรัพย์สินคืนดีขึ้นเพียงใด ท่านว่าสิทธิเก็บกินก็กลับมีขึ้นเพียงนั้น
ถ้าได้ค่าทดแทนไซร้ ท่านว่าเจ้าของหรือผู้ทรงสิทธิเก็บกิน ต้องทำให้ทรัพย์สินคืนดีเพียงที่สามารถทำได้ตามจำนวนเงินค่าทดแทนที่ได้รับ และสิทธิเก็บกินกลับมีขึ้นเพียงที่ทรัพย์สินกลับคืนดี แต่ถ้าพ้นวิสัยที่จะทำให้กลับคืนดีได้ สิทธิเก็บกินก็เป็นอันสิ้นไป และค่าทดแทนนั้นต้องแบ่งกันระหว่างเจ้าของทรัพย์สิน และผู้ทรงสิทธิเก็บกินตามส่วนแห่งความเสียหายของตน
วิธีนี้ให้ใช้บังคับโดยอนุโลมถึงกรณีซึ่งทรัพย์สินถูกบังคับซื้อ และกรณีซึ่งทรัพย์สินสลายไปแต่บางส่วน หรือการทำให้คืนดีนั้นพ้นวิสัยในบางส่วน “
1 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1419” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1419 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2479
แร่ที่มีผู้ลักลอบขุดขึ้นจากเขตต์ประทานบัตร์ของผู้ใดโดยผู้ขุดมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานเช่นนี้ เจ้าของประทานบัตร์ไม่ได้แร่นั้นแร่ต้องถูกริบ การที่ศาลสั่งริบแร่ดั่งกล่าวข้างต้นมิใช่เป็นเรื่องที่รัฐบาลได้ค่าทดแทนตามลักษณกฎหมายเรื่องสิทธิเก็บกิน ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา 15-144 ประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง +57 ในกรณีที่มีผู้ลักลอบขุดแร่จากเขตต์ประทานบัตร์ย่อมมีสิทธิที่จะขอเข้ามาเป็นคู่ความในคดีเพื่อเรียกร้องแร่ที่ถูกขุดขึ้นมาได้ โดยวิธีการร้องสอด ผู้ร้องสอดไม่มีอำนาจคัดค้านคำพิพากษาที่พิพากษาเกี่ยวกับเลยแลเสร็จเด็ดขาดแล้ว ผู้ร้องมีอำนาจว่า +อ้างอิงได้ฉะเพาะของตน
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
พ.ร.บ.การทำเหมืองแร่ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2474 ม. 17-20
ป.พ.พ. ม. 1419
ป.วิ.พ. ม. 57