“มาตรา 1441 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1441” คืออะไร?
“มาตรา 1441” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1441 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าคู่หมั้นฝ่ายหนึ่งตายก่อนสมรส อีกฝ่ายหนึ่งจะเรียกร้องค่าทดแทนมิได้ ส่วนของหมั้นหรือสินสอดนั้นไม่ว่าชายหรือหญิงตาย หญิงหรือฝ่ายหญิงไม่ต้องคืนให้แก่ฝ่ายชาย “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1441” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1441 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421 - 422/2508
(1) ในสำนวนแรกที่โจทก์ฟ้องจำเลยว่าผิดสัญญาหมั้นเรียกค่าสินสอดของหมั้นและค่าทดแทนโดยอ้างว่าจำเลยไม่ส่งตัวจำเลยที่ 3 ให้หลับนอนกับโจทก์ และไม่จัดการให้ไปจดทะเบียนสมรส โดยจำเลยที่ 3 ได้หลบหนีไปเสียนั้น
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1,2 ซึ่งเป็นบิดามารดาของจำเลยที่ 3 มิได้รู้เห็นเป็นใจให้จำเลยที่3 หลบหนีไปตรงข้ามยังได้จัดการส่งตัวจำเลยที่ 3 เข้าห้องเรือนหอร่วมกับโจทก์และเมื่อโจทก์บอกจำเลยที่ 2,3 ให้จัดการเรื่องจดทะเบียนสมรสแล้วจำเลยได้ขอผัดเป็นวันหลังโจทก์ก็ไม่เร่งรัดครั้นแต่งงานได้ 3 วัน เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 3 เดินทางผ่านอำเภอโจทก์ก็ไม่ชวนจำเลยที่ 3 ให้แวะเข้าไปจดทะเบียน ซึ่งเห็นได้ว่าโจทก์ไม่สนใจนำพาต่อการจดทะเบียนเองเช่นนี้โจทก์ยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินสอดของหมั้นและค่าทดแทน
(2) ส่วนในสำนวนหลังที่จำเลยกลับฟ้องโจทก์ว่า โจทก์ผิดสัญญาไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรส และเรียกค่าเสียหายนั้น
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การที่โจทก์ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 3 นั้นจะปรับเป็นความผิดของโจทก์มิได้เพราะภายหลังพิธีแต่งงานแล้ว จำเลยที่ 3 ได้ร่วมอยู่กินหลับนอนกับโจทก์ได้เพียง 3 วันแล้วก็หลบหนีไป เพราะทนต่อวิธีร่วมประเวณีของโจทก์มิได้ จนเกิดฟ้องร้องกันขึ้นแล้ว จำเลยที่ 3 จึงกลับใจจะขออยู่กินฉันสามีภรรยากับโจทก์โดยขอให้ไปจดทะเบียนสมรสแต่โจทก์ไม่ยินยอมเพราะเกรงจำเลยที่ 3 จะทำเช่นเดิมเช่นนี้จะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาหมั้นอันจะต้องใช้ค่าเสียหายตามที่จำเลยฟ้องโจทก์และเรียกร้องมานั้นหาได้ไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 55
ป.พ.พ. ม. 1435, ม. 1436, ม. 1438, ม. 1439, ม. 1441, ม. 1442, ม. 1449
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1235/2506
ชายคู่หมั้นตั้งรังเกียจหญิงคู่หมั้น โดยหญิงคู่หมั้นนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานซึ่งชายอื่นขี่เพื่อไปดูภาพยนตร์ในเวลากลางคืน มีเพื่อนไปด้วยกันรวม 7 คน แล้วชาวบ้านคิดเดาและลือกันว่าหญิงนั้นมีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับชายที่ขี่จักรยานนั้น การที่หญิงคู่หมั้นกระทำเพียงเท่านี้ แล้วต่อมาหญิงนั้นไม่ยอมสมรสกับชายคู่หมั้น ก็จะถือว่าเพราะมีเหตุผลสำคัญอันเกิดแต่หญิงนั้นหาได้ไม่ หญิงนั้นจึงมิต้องคืนของหมั้นเพราะเหตุเช่นนี้
ชายคู่หมั้นหมิ่นประมาทหญิงคู่หมั้นซึ่งเป็นการร้ายแรงตามความหมายในมาตรา 1500(2) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ย่อมเป็นเหตุผลอันสำคัญอันเกิดแต่ชายคู่หมั้นซึ่งหญิงคู่หมั้นจะไม่ยอมสมรสกับชายนั้นโดยมิต้องคืนของหมั้นได้
ถ้อยคำที่ถือว่าเป็นการหมิ่นประมาทซึ่งเป็นการร้ายแรงตามความหมายในมาตรา 1500(2)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1441, ม. 1442, ม. 1500 (2)
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2494
ชายหญิงทำพิธีแต่งงานกันตามประเพณี แต่หญิงไม่ยอมหลับนอนร่วมประเวณีกับชายฉันสามีภริยาโดยแยกไปนอนเสียคนละห้องกับชายอยู่มาประมาณ 10 วัน มารดาของหญิงบอกให้ชายพาหญิงเข้าห้องเอาเองชายจึงเข้าไปจับเอวหญิงออกมาจากห้องที่หญิงนอน หญิงฉวยแจกันตีศีรษะชายแตกโลหิตออกแจกันหักแล้วยังใช้แจกันตีชายถูกโหนกแก้มเป็นบาดแผลต้องเย็บถึง 7 เข็ม ชายจึงกลับบ้านและไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับหญิงดังนี้ถือว่าการกระทำของหญิงเป็นเหตุผลสำคัญอันพอที่จะทำให้ชายปฏิเสธไม่ยอมสมรสด้วยหญิงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1441 ได้ ชายจึงมีสิทธิเรียกของหมั้นคืนจากหญิงได้
โจทก์จำเลยร่วมกันนำสัมภาระและลงทุนปลูกสร้างเรือนขึ้น 1หลัง แต่ไม่ได้ความพอจะชี้ได้ว่าสัมภาระชิ้นใดเป็นของผู้ใดได้ทุกชิ้น ทั้งไม่ได้ความว่าแต่ละฝ่ายได้มีส่วนเป็นเจ้าของอยู่เกินกว่าครึ่ง ดังนี้ ต้องถือว่า โจทก์และจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของเรือนรายนี้เท่าๆกัน
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1357, ม. 1441