“มาตรา 1443 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1443” คืออะไร?
“มาตรา 1443” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1443 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ในกรณีมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่ชายคู่หมั้นทำให้หญิงไม่สมควรสมรสกับชายนั้น หญิงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้โดยมิต้องคืนของหมั้นแก่ชาย “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1443” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1443 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3731/2533
โจทก์ได้หญิงรับใช้ในบ้านโจทก์เป็นภริยามาเป็นเวลานาน ถือได้ว่าโจทก์อุปการะเลี้ยงดูและยกย่องหญิงอื่นฉันภริยาอยู่ จึงมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่โจทก์ทำให้จำเลยซึ่งเป็นคู่หมั้น ของโจทก์ไม่สมควรสมรสกับโจทก์ จำเลยมิใช่เป็นฝ่ายผิด สัญญาหมั้น จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้โดยไม่ต้องคืนของหมั้นให้แก่โจทก์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1443, ม. 1516 (1)
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2533
จำเลยที่ 3 ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1 อ้างว่าเนื่องจากโจทก์ที่ 1 มีสติไม่บริบูรณ์เหมือนคนธรรมดาและคล้ายกับปัญญาอ่อน แต่พฤติการณ์ที่ปรากฏในสำนวนยังไม่พอฟังว่าโจทก์ที่ 1เป็นเช่นนั้น อันจะเป็นข้ออ้างที่มีเหตุสำคัญในการไม่ยอมจดทะเบียนสมรส จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น จำเลยทั้งสามตกลงรับหมั้นจากฝ่ายโจทก์พร้อมทั้งรับของหมั้นไว้เรียบร้อยแล้ว แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 มอบของหมั้นทั้งหมดให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1อันเป็นการผิดสัญญาหมั้น จำเลยทั้งสามซึ่งรับของหมั้นไว้ก็ต้องร่วมกันคืนของหมั้นแก่ฝ่ายโจทก์.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1439, ม. 1443
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1143/2524
โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 + ตามคำพิพากษาให้แก่จำเลย โดยโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่ได้ยินยอมด้วย ดังนี้ ข้อตกลงดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 แม้โจทก์ที่ 1 จะฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นผู้เยาว์แต่คำแถลงต่อศาลเรื่องลดหนี้ให้จำเลยเป็นคำแถลงของโจทก์ที่ 1 โดยเฉพาะ ถือไม่ได้ว่าเป็นคำแถลงแทนโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ด้วย
เมื่อจำเลยยังชำระหนี้ตามคำพิพากษาไม่ครบถ้วน โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ย่อมร้องขอให้บังคับคดีต่อไปได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 797, ม. 1443
ป.วิ.พ. ม. 271