Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1450 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1450 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1450” คืออะไร? 


“มาตรา 1450” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1450 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ชายหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมาก็ดี เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาก็ดี จะทำการสมรสกันไม่ได้ ความเป็นญาติดังกล่าวมานี้ให้ถือตามสายโลหิต โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นญาติโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ “


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1450” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1450 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4302/2528
เมื่อนายทะเบียนเห็นว่าผู้ร้องขอจดทะเบียนสมรสมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 แล้วแต่กลับยับยั้งการจดทะเบียนสมรสไว้ โดยหารือไปยังจังหวัดก่อนนั้นย่อมถือได้ว่าเป็นการไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรส อันผู้มีส่วนได้เสียอาจยื่นคำร้องต่อศาลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478 แล้ว ในชั้นยื่นคำคัดค้านผู้คัดค้านอ้างเหตุที่ทำให้คำร้องเคลือบคลุมอย่างหนึ่งแต่เหตุที่ผู้คัดค้านยกขึ้นอ้างในฎีกาว่าคำร้องเคลือบคลุมเป็นอีกอย่างหนึ่งต่างกันดังนั้นฎีกาของผู้คัดค้านข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พุทธศักราช 2481มาตรา 19 ซึ่งบัญญัติว่า 'เงื่อนไขแห่งการสมรสให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของคู่กรณีแต่ละฝ่าย'นั้นหาใช่บทกฎหมายที่ผู้คัดค้านจะนำมาใช้ในชั้นพิจารณาคำร้องขอจดทะเบียนสมรสไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1448, ม. 1449, ม. 1450, ม. 1451, ม. 1452, ม. 1453, ม. 1454
ป.วิ.พ. ม. 249
พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 ม. 15
พ.ร.บ.ว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.2478 ม. 19

 


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1832/2527
เกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรสนั้น พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478 มาตรา 10 บัญญัติให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนสมรสให้เมื่อมีการร้องขอ การที่นายทะเบียนจะปฏิเสธได้ก็ต่อเมื่อปรากฏว่ามิได้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่ง มาตรา 1448 ถึงมาตรา1454และมาตรา1458 ตามที่ได้ ตรวจชำระใหม่ ซึ่งมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติ จดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478 ห้ามมิให้นายทะเบียนจดทะเบียนสมรสในกรณีที่นายทะเบียนไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรสผู้มีส่วนได้เสียก็มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อศาล โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม เมื่อศาลไต่สวนได้ความว่าการเป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายครบถ้วนแล้ว ก็ให้ศาลมีคำสั่ง ไปให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 15 แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 ม. 10, ม. 15
ป.พ.พ. ม. 1448, ม. 1449, ม. 1450, ม. 1451, ม. 1452, ม. 1453, ม. 1454, ม. 1458


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2496
สามีภริยายื่นคำร้องต่อกรมการอำเภอ มีข้อความกล่าวไว้ชัดแจ้งว่าทั้งสองฝ่ายตกลงหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายมีพยานลงลายมือชื่อสองคนดังนี้ก็ถือได้ว่า หนังสือคำร้องนั้นเป็นหนังสือหย่าอย่างบริบูรณ์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1498
ชายไทยทำการสมรสกับหญิงต่างด้าว ณ ต่างประเทศได้จดทะเบียนณ ต่างประเทศ โดยมิได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานทูตหรือกงศุลไทยตามมาตรา 1450 วรรคท้าย นั้นการสมรสดังว่านี้ เป็นการสมรสที่มิได้ทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉะนั้นการหย่าจึงไม่ต้องจดทะเบียนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก็ใช้ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1450, ม. 1498
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.