“มาตรา 1467 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1467” คืออะไร?
“มาตรา 1467” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1467 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ เมื่อสมรสแล้วจะเปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรสนั้นไม่ได้ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากศาล
เมื่อได้มีคำสั่งของศาลถึงที่สุดให้เปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรสแล้ว ให้ศาลแจ้งไปยังนายทะเบียนสมรสเพื่อจดแจ้งไว้ในทะเบียนสมรส “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1467” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1467 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2270/2521
ที่ดินสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินโจทก์ ซึ่งเป็นภริยาร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของร่วมกันในโฉนดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1467 ส่วนรถยนต์นั้นแม้จะมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของในใบทะเบียนรถยนต์ก็ตาม แต่ใบทะเบียนรถยนต์ก็มิใช่เอกสารอันเป็นที่ตั้งแห่งกรรมสิทธิ์ จึงไม่ใช่เอกสารเป็นสำคัญสำหรับทรัพย์ (รถยนต์) ตามความหมายแห่งมาตรา 1467 ดังกล่าว จึงบังคับจำเลยให้ลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของร่วมกันไม่ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1467
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962/2520
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ไม่เป็นเอกสารสำคัญที่จะแสดงว่าผู้มีชื่อในหนังสือนั้นมีกรรมสิทธิ์ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1467 และ 1474 ฉะนั้นแม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นสามีภรรยากันมีชื่อร่วมกันในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จำเลยที่ 1 สามีก็มีอำนาจจำหน่ายได้โดยลำพัง ไม่จำต้องให้จำเลยที่ 2 ภริยาเข้าชื่อเป็นผู้ขายด้วย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1467, ม. 1473, ม. 1474
ป.ที่ดิน ม. 1
พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ม. 9
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094/2518
สามีภริยาก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ภริยามีสิทธิร้องขอให้ลงชื่อในโฉนดที่ดินสินสมรสร่วมกับสามีได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1467