“มาตรา 1485 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1485” คืออะไร?
“มาตรา 1485” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1485 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ สามีหรือภริยาอาจร้องขอต่อศาลให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสโดยเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือเข้าร่วมจัดการในการนั้นได้ ถ้าการที่จะทำเช่นนั้นจะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่า “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1485” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1485 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3445/2524
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่แก้ไขใหม่นั้นกำหนดไว้เป็นหลักทั่วไปให้สามีและภรรยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน เว้นแต่จะมีสัญญาก่อนสมรสหรือสัญญาระหว่างสมรสระบุไว้เป็นอย่างอื่น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1485 หมายถึงการจัดการสินสมรสแก่ทรัพย์สินเฉพาะอย่างซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากหรือมีความสำคัญเป็นพิเศษซึ่งสามีหรือภรรยาร้องขอต่อศาลให้ตนเป็นผู้จัดการทรัพย์สินดังกล่าวโดยลำพังหรือเข้าร่วมจัดการด้วยได้ไม่ว่าคู่สมรสจะมีสัญญาก่อนสมรสหรือสัญญาระหว่างสมรสตกลงกันไว้อย่างไร สามีหรือภรรยาก็อาจร้องขอต่อศาลไม่ให้ต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวหรือถ้าไม่มีทั้งสัญญาก่อนสมรสและระหว่างสมรส สามีหรือภรรยาก็อาจร้องขอต่อศาลให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสดังกล่าวแต่ผู้เดียว อันเป็นข้อยกเว้นจากหลักทั่วไป ทั้งสองกรณีนี้ ผู้ร้องขอต่อศาลจะต้องแสดงให้เห็นว่าการที่จะทำเช่นนั้น จะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่า
กรณีของโจทก์ โจทก์ต้องการเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกับสามีตามอำนาจที่มีอยู่แล้วเท่านั้น โจทก์จึงไม่อาจอาศัย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1485 ร้องขอให้ศาลตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกับจำเลยที่ 1 ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1485
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3445/2524
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่แก้ไขใหม่นั้นกำหนดไว้เป็นหลักทั่วไปให้สามีและภรรยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน เว้นแต่จะมีสัญญาก่อนสมรสหรือสัญญาระหว่างสมรสระบุไว้เป็นอย่างอื่น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1485 หมายถึงการจัดการสินสมรสแก่ทรัพย์สินเฉพาะอย่างซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากหรือมีความสำคัญเป็นพิเศษซึ่งสามีหรือภรรยาร้องขอต่อศาลให้ตนเป็นผู้จัดการทรัพย์สินดังกล่าวโดยลำพังหรือเข้าร่วมจัดการด้วยได้ไม่ว่าคู่สมรสจะมีสัญญาก่อนสมรสหรือสัญญาระหว่างสมรสตกลงกันไว้อย่างไร สามีหรือภรรยาก็อาจร้องขอต่อศาลไม่ให้ต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวหรือถ้าไม่มีทั้งสัญญาก่อนสมรสและระหว่างสมรส สามีหรือภรรยาก็อาจร้องขอต่อศาลให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสดังกล่าวแต่ผู้เดียว อันเป็นข้อยกเว้นจากหลักทั่วไป ทั้งสองกรณีนี้ ผู้ร้องขอต่อศาลจะต้องแสดงให้เห็นว่าการที่จะทำเช่นนั้น จะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่า
กรณีของโจทก์ โจทก์ต้องการเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกับสามีตามอำนาจที่มีอยู่แล้วเท่านั้น โจทก์จึงไม่อาจอาศัย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1485 ร้องขอให้ศาลตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกับจำเลยที่ 1 ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1485
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2487
ไนคดีที่มีข้อโต้เถียงระหว่างคู่ความพลายข้อ สาลชั้นต้นตัดประเด็นข้ออื่น ๆ หมดลงเหลือประเด็นข้อเดียวที่ทำการพิจารนาและประเด็นที่ถูกตัดเสียนั้นคู่ความมิได้โต้เถียงแย้งคำสั่งสาลชั้นต้นไว้ แต่กลับอุธรน์ไปประเด็นข้อเดียวที่สาลชั้นต้นพิจารนามาเท่านั้น ดั่งนี้ประเด็นข้ออื่น ๆ เปนอันยุติ
สาลอุธรน์ไม่มีอำนาดย้อนสำนวนไปไหสาลชั้นต้นพิจารนาพิพากสาไหม่ไนประเด็นที่คู่ความมิได้อุธรน์
โจทชนะความแล้วยึดทรัพย์ สามีจำเลยร้องขัดทรัพย์ สาลชั้นต้นกะประเด็นไห้สืบข้อเดียวว่าทรัพย์ที่ยึดเปนสินเดิมหรือสินสมรส ส่วนประเด็นที่ว่าจำเลยได้รับอนุญาตไห้กู้หรือไม่และทำเพื่อประโยชน์ด้วยกันหรือไม่ ไม่ไห้นำสืบ และคู่ความมิได้คัดค้าน ดังนี้ สาลอุธรน์กะไห้สืบพยานไนข้อหลังนี้ไม่ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 38, ม. 653, ม. 1485
ป.วิ.พ. ม. 84, ม. 184, ม. 226, ม. 288, ม. 240, ม. 243