“มาตรา 1493 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1493” คืออะไร?
“มาตรา 1493” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1493 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ในกรณีที่ไม่มีสินสมรสแล้ว สามีและภริยาต้องช่วยกันออกค่าใช้สอยสำหรับการบ้านเรือนตามส่วนมากและน้อยแห่งสินส่วนตัวของตน “
2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1493” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1493 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1320/2506
พี่น้องร่วมบิดามารดาได้เสียเป็นผัวเมียกัน เมื่อพ.ศ.2477 นั้น ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียจะต้องถูกลงโทษลอยแพ ฉะนั้น พี่น้องดังกล่าวจึงมิใช่ผัวเมียที่ชอบด้วยกฎหมายแม้ต่อมา พ.ศ.2483 จะมีบุตรด้วยกันก็เป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา เว้นแต่บิดาจะจดทะเบียนหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฟ้องบิดาเรียกทรัพย์ที่ยืมไปคืนได้ไม่เป็นอุทลุม
แม้ชายอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์ และหญิงอายุสิบห้าปีบริบูรณ์จะจดทะเบียนสมรสกัน โดยมิได้รับความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครองก็ตาม ก็หาถือว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะหรือไม่สมบูรณ์แต่อย่างใดไม่ กฎหมายเพียงแต่ให้อำนาจบิดามารดาหรือผู้ปกครองร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการสมรสเสียได้เท่านั้น หากไม่มีการร้องขอให้เพิกถอนชายหญิงนั้นก็ย่อมบรรลุนิติภาวะแล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 20, ม. 1455 (1), ม. 1447, ม. 1493, ม. 1526, ม. 1534
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 325/2485
ภริยามีโรคประจำตัวไม่สามารถนอนร่วมกับสามีได้จึงต่างคนต่างอยู่มาประมาณ 30 ปีเพียงเท่านี้ ไม่ถือว่าขาดจากสามีภริยากัน.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1493, ม. 1498
กฎหมายลักษณะผัวเมีย ม. 49, ม. 51, ม. 62.