Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1502 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1502 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1502” คืออะไร? 


“มาตรา 1502” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1502 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การสมรสที่เป็นโมฆียะสิ้นสุดลงเมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอน “


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1502” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1502 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3141/2516
สามีฟ้องภรรยาเป็นจำเลยขอหย่าต่อศาลแพ่ง จำเลยฟ้องแย้งขอให้ศาลเพิกถอนอำนาจปกครองบุตรของโจทก์ให้เป็นของจำเลยแต่ผู้เดียว ดังนี้ แม้ศาลแพ่งซึ่งพิพากษาคดีฟ้องหย่าจะมีอำนาจชี้ขาดว่าใครเป็นผู้สมควรปกครองบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1502 วรรค 2 ด้วยก็จริง แต่ฟ้องแย้งที่ขอให้ศาลสั่งให้อำนาจปกครองบุตรอยู่แก่จำเลยซึ่งเป็นมารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1538(6) นั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 แก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 163 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2515 ข้อ 1 บัญญัติให้คดีแพ่งที่ฟ้องศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์ ซึ่งจะต้องบังคับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1538(6) อยู่ในอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชน ศาลแพ่งไม่มีอำนาจรับฟ้องแย้งไว้พิจารณา
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1502, ม. 1538
ป.วิ.พ. ม. 177
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494

 


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3141/2516
สามีฟ้องภรรยาเป็นจำเลยขอหย่าต่อศาลแพ่ง จำเลยฟ้องแย้งขอให้ศาลเพิกถอนอำนาจปกครองบุตรของโจทก์ให้เป็นของจำเลยแต่ผู้เดียว ดังนี้ แม้ศาลแพ่งซึ่งพิพากษาคดีฟ้องหย่าจะมีอำนาจชี้ขาดว่าใครเป็นผู้สมควรปกครองบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1502 วรรค 2 ด้วยก็จริง แต่ฟ้องแย้งที่ขอให้ศาลสั่งให้อำนาจปกครองบุตรอยู่แก่จำเลยซึ่งเป็นมารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1538(6) นั้นพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 แก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 163 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2515 ข้อ 1บัญญัติให้คดีแพ่งที่ฟ้องศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์ ซึ่งจะต้องบังคับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1538(6) อยู่ในอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชน ศาลแพ่งไม่มีอำนาจรับฟ้องแย้งไว้พิจารณา
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1502, ม. 1538
ป.วิ.พ. ม. 177
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 669/2506
การที่บิดามารดาหย่ากันเอง และตกลงให้บิดาเป็นผู้ปกครองบุตรผู้เยาว์นั้นตามปกติบิดาย่อมเป็นผู้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรตามควรแก่กรณี หากบิดาละเลยหรือประพฤติมิชอบให้เห็นว่าไม่สมควรแก่หน้าที่จนบุตรนั้นหนีมาอยู่กับมารดาเป็นเหตุให้มารดาต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูไปก็ดีมารดาก็ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินนั้นจากบิดาได้แต่มารดาก็อาจร้องขอต่อศาลให้ถอนบิดาจากการเป็นผู้ปกครองเสียได้โดยขอตั้งผู้ปกครองใหม่แล้วใช้สิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากบิดาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1536
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1502, ม. 1503, ม. 1536
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
ติดต่อเราทาง LINE