“มาตรา 1505 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1505” คืออะไร?
“มาตรา 1505” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1505 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การสมรสที่ได้กระทำไปโดยคู่สมรสฝ่ายหนึ่งสำคัญผิดตัวคู่สมรส การสมรสนั้นเป็นโมฆียะ
สิทธิขอเพิกถอนการสมรสเพราะสำคัญผิดตัวคู่สมรสเป็นอันระงับเมื่อเวลาได้ผ่านพ้นไปแล้วเก้าสิบวันนับแต่วันสมรส “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1505” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1505 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1549/2523
คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ซึ่งโจทก์กล่าวหาว่าเป็นชู้กับจำเลยที่ 1 ภรรยาโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1505(เดิม) ซึ่งกำหนดอายุความตามมาตรา 1509 ว่าสามเดือนนับแต่วันที่โจทก์รู้หรือควรรู้ความจริงซึ่งอาจยกขึ้นกล่าวอ้าง. ปรากฏว่าโจทก์ได้ทราบว่าจำเลยที่ 2 เป็นชู้กับจำเลยที่ 1เมื่อวันที่ 12-14 เมษายน 2519 ครบสามเดือนเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2519 ก่อนวันที่ 16 ตุลาคม 2519 ซึ่ง เป็นวันที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ใช้บังคับ จึงยกอายุความที่บัญญัติไว้ในกฎหมายฉบับนี้ มาตรา 1529 ซึ่งมีกำหนด1 ปี มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะขัดต่อพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 มาตรา 9
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1505, ม. 1509 เดิม, ม. 1529
พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2477 ม. 9
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791/2515
สามีฟ้องเรียกค่าทดแทนจากชายชู้โดยไม่ได้ฟ้องขอหย่าภรรยากรณีไม่ต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1505วรรคแรกแต่สามีมีสิทธิตามวรรคสองของมาตราเดียวกันนี้ฟ้องเรียกค่าทดแทนได้
การล่วงเกินในทำนองชู้สาวมีความหมายรวมถึงการทำชู้ด้วย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1505
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791/2515
สามีฟ้องเรียกค่าทดแทนจากชายชู้โดยไม่ได้ฟ้องขอหย่าภรรยากรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1505 วรรคแรก แต่สามีมีสิทธิตามวรรคสองของมาตราเดียวกันนี้ฟ้องเรียกค่าทดแทนได้
การล่วงเกินในทำนองชู้สาวมีความหมายรวมถึงการทำชู้ด้วย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1505