Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1522 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1522 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1522” คืออะไร? 


“มาตรา 1522” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1522 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าสามีภริยาหย่าโดยความยินยอม ให้ทำความตกลงกันไว้ในสัญญาหย่าว่าสามีภริยาทั้งสองฝ่าย หรือสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเงินเท่าใด
              ถ้าหย่าโดยคำพิพากษาของศาลหรือในกรณีที่สัญญาหย่ามิได้กำหนดเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ ให้ศาลเป็นผู้กำหนด “


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1522” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1522 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7073/2560
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู ป. ที่ค้างชำระจำนวน 10,000 บาท และให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เป็นรายเดือน เดือนละ 5,000 บาท ทุกวันที่ 30 ของเดือน ต่อมาจำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงขอให้บังคับคดี จำเลยยื่นคำร้องว่า จำเลยมีภาระหนี้สินมากและมีภาระต้องเลี้ยงดูบิดาและครอบครัว เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2559 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอลดเงิน ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดไว้เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดู ต่อมาจำเลยขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ยื่นภายในวันที่ 17 มิถุนายน 2559 จำเลยยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2559 จึงถือได้ว่าจำเลยยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด ส่วนคำร้องของจำเลยที่ขอลดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรนั้น จำเลยอ้างว่า จำเลยมีภาระต้องเลี้ยงดูบุตรซึ่งเกิดจากโจทก์และบุตรกับภริยาคนใหม่ ทั้งจำเลยยังกู้ยืมเงินจากธนาคาร ก. จำนวน 1,500,000 บาท พฤติการณ์รายได้หรือฐานะของจำเลยเปลี่ยนแปลงไปซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นภายหลัง แม้หนี้เงินกู้ดังกล่าวจำเลยอ้างว่าเพื่อสร้างบ้านให้แก่บิดาที่จังหวัดเชียงรายและต่อเติมตกแต่งบ้านที่จังหวัดสุรินทร์ ทั้ง ๆ ที่จำเลยรู้ว่ามีภาระต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรให้แก่โจทก์เดือนละ 5,000 บาท แต่จำเลยกลับไปสร้างภาระหนี้สินจำนวนมากมายดังกล่าว กรณีจึงไม่อาจนำมาอ้างเป็นเหตุผลให้กระทบเสียหายต่อค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรและค่าใช้จ่ายอื่นแก่โจทก์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1522, ม. 1525

 


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5535/2558
ในคดีหย่า แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบเรื่องอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าจะให้ฝ่ายใดเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใดและอีกฝ่ายจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1520 วรรคสองและมาตรา 1522 วรรคสอง เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่า ผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของโจทก์มาตลอดตั้งแต่จำเลยที่ 1 เริ่มมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปและเหตุหย่าเกิดจากความผิดของจำเลยที่ 1 ประกอบกับจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้ให้การหรือสืบพยานว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์จะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสอง ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสองและให้จำเลยที่ 1ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์คนละ 4,000 บาท ต่อเดือน จนกว่าจะบรรลุนิติภาวะจึงชอบแล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1520 วรรคสอง, ม. 1522 วรรคสอง


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6471/2548
ระหว่างที่โจทก์และจำเลยแยกกันอยู่ จำเลยได้ทำหนังสือร้องเรียนโจทก์ต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์ว่าโจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับบุคคลอื่น ซึ่งอาจทำให้โจทก์ถูกลงโทษทางวินัย และย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นหญิงได้รับความอับอายขายหน้าต่อเพื่อนร่วมงาน เพื่อนบ้านหรือบุคคลทั่วไป แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้ขวนขวายที่จะให้มีการอยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์ต่อไปจึงได้กระทำการอันก่อให้เกิดความบาดหมางกันยิ่งขึ้นสุดที่จะอยู่กินด้วยกันได้อีก และนับแต่วันที่แยกกันอยู่ดังกล่าวจนถึงวันฟ้องเป็นเวลานานถึง 4 ปี จำเลยไม่ได้ส่งเสียอุปการะเลี้ยงดูโจทก์หรือกลับไปหาโจทก์อีกเลย พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์จำเลยไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน 3 ปี โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4/2) และในกรณีนี้โจทก์จำเลยมีบุตรผู้เยาว์ด้วยกัน 1 คน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1520 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในกรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาลให้ศาลซึ่งพิจารณาคดีฟ้องหย่านั้นชี้ขาดด้วยว่า ฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด..." และมาตรา 1522 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าหย่าโดยคำพิพากษาของศาลหรือในกรณีที่สัญญาหย่ามิได้กำหนดเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ ให้ศาลเป็นผู้กำหนด" ดังนี้ แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้าง ศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้วินิจฉัยในเรื่องดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1516 (4/2), ม. 1520 วรรคสอง, ม. 1522 วรรคสอง
ป.วิ.พ. ม. 142
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
ติดต่อเราทาง LINE