Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1543 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1543 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1543” คืออะไร? 


“มาตรา 1543” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1543 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ในกรณีที่ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีได้ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรแล้ว และตายก่อนคดีนั้นถึงที่สุด ผู้มีสิทธิได้รับมรดกร่วมกับเด็กหรือผู้จะเสียสิทธิรับมรดกเพราะการเกิดของเด็กนั้นจะขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่หรืออาจถูกเรียกให้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีก็ได้ “


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1543” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1543 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1143/2524
โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ที่ 2ถึงที่ 5 ตกลงลดหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยโดยโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่ได้ยินยอมด้วย ดังนี้ข้อตกลงดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5แม้โจทก์ที่ 1 จะฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5ซึ่งเป็นผู้เยาว์ แต่คำแถลงต่อศาลเรื่องลดหนี้ให้จำเลยเป็นคำแถลงของโจทก์ที่ 1 โดยเฉพาะ ถือไม่ได้ว่าเป็นคำแถลงแทนโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ด้วย
เมื่อจำเลยยังชำระหนี้ตามคำพิพากษาไม่ครบถ้วน โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ย่อมร้องขอให้บังคับคดีต่อไปได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 797, ม. 1543
ป.วิ.พ. ม. 271

 


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1963/2517
แม้ในตอนต้นของคำฟ้องจะมีชื่อโจทก์เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่ปรากฏจากคำฟ้องว่า โจทก์เป็นภริยาของผู้ตายและเป็นมารดาของผู้เยาว์ทั้ง 3 คน ทั้งได้เรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาของบุตรทั้ง 3 คนนั้นด้วย จึงถือได้ว่าโจทก์ฟ้องคดีในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรผู้เยาว์ด้วยแล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1538, ม. 1544, ม. 1543
ป.วิ.พ. ม. 56, ม. 172


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2604/2516
บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาแต่อำนาจปกครองโดยแท้จริงคงอยู่ที่บิดา บิดาจึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและผู้ใช้อำนาจปกครองเท่านั้นที่มีสิทธิเอาเงินของบุตรมาใช้ได้ตามสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1545 มารดาหามีสิทธิไม่
บิดาเปิดบัญชีเงินฝากประจำที่ธนาคารให้บุตรผู้เยาว์ โดยมอบหมายให้มารดาเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ถอนเงินจากธนาคารมาใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของบุตร แล้วบิดามารดาต่างได้นำเงินเข้าฝากในบัญชีดังกล่าวระคนปนกับเงินได้ของบุตร โดยมีเจตนายกเงินที่นำเข้าฝากนั้นให้แก่บุตรดังนี้ เงินในบัญชีเงินฝากจึงเป็นของบุตรทั้งสิ้น หาใช่เป็นเงินที่บิดามารดาฝากไว้เป็นของตนเอง โดยฝากไว้ในนามของบุตรทำนองลงชื่อบุตรเป็นนามแฝงไม่ แม้จะมีข้อตกลงกับธนาคารว่าผู้ใดจะเป็นผู้ลงชื่อถอนเงินจากธนาคารได้นั้น ก็เป็นเรื่องระเบียบและวิธีการตามธรรมดาของธนาคารซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1545 และ 1546 ก็บัญญัติให้อำนาจและวิธีการแก่ผู้ใช้อำนาจปกครองที่จะนำเงินของบุตรไปใช้จ่ายได้ ย่อมจำเป็นที่จะต้องระบุชื่อผู้มีอำนาจหน้าที่ในการถอนเงินของบุตรจากธนาคารไว้ด้วย มิฉะนั้นจะเกิดความยุ่งยากในกรณีที่จะต้องนำเงินมาใช้จ่ายตามอำนาจ ที่บิดามอบหมายให้มารดาเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ถอนเงินจากธนาคารมาใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของบุตรจึงเป็นเรื่องการมอบหมายให้มารดาทำหน้าที่แทนบิดาตามธรรมดานั่นเองมารดาหามีสิทธิถอนเงินของบุตรไปใช้สอยส่วนตัวไม่
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีอุทลุมในนามของตนเองแทนเด็กตามอำนาจและหน้าที่ในกฎหมาย โดยไม่มีการแต่งตั้งทนายศาลไม่สั่งให้ค่าทนายความ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2516 แต่ไม่ลงมติ)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 521, ม. 523, ม. 797, ม. 1534, ม. 1537, ม. 1543, ม. 1545, ม. 1546
ป.วิ.พ. ม. 161
พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 ม. 11
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
ติดต่อเราทาง LINE