“มาตรา 1552 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1552” คืออะไร?
“มาตรา 1552” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1552 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ในกรณีที่เด็กไม่มีมารดาหรือมีมารดาแต่มารดาถูกถอนอำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมดและศาลได้ตั้งผู้อื่นเป็นผู้ปกครองบางส่วนหรือทั้งหมดไว้ก่อนมีการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร บิดาซึ่งจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้วจะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งถอนความเป็นผู้ปกครองบางส่วนหรือทั้งหมดของผู้ปกครองและให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองก็ได้ ถ้าศาลเห็นว่าบิดาอาจใช้อำนาจปกครองเพื่อความผาสุกและประโยชน์ของเด็กได้ดียิ่งกว่าผู้ปกครอง ศาลจะมีคำสั่งถอนความเป็นผู้ปกครองบางส่วนหรือทั้งหมดของผู้ปกครองและให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองก็ได้ “
1 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1552” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1552 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944/2496
เมื่อบิดาของผู้เยาว์ประพฤติตนไม่สมควร มีพฤติการณ์ส่อไปในทางที่เป็นภัยแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์และเลี้ยงดูผู้ เยาว์โดยไม่สมควร,ซึ่งถือได้ว่าเป็นการใช้อำนาจปกครองเด็กโดยมิชอบ ดังนี้ ลุงของผู้เยาว์มีอำนาจที่จะฟ้องศาล ขอให้โอนอำนาจปกครองผู้เยาว์ จากบิดาผู้เยาว์โดยตั้งลุงผู้เยาว์เป็นผู้ปกครองแทนได้./
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1537, ม. 1552.