“มาตรา 1587 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1587” คืออะไร?
“มาตรา 1587” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1587 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วอาจถูกตั้งเป็นผู้ปกครองได้ เว้นแต่
(๑) ผู้ซึ่งศาลสั่งว่าเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
(๒) ผู้ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลาย
(๓) ผู้ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะปกครองผู้เยาว์หรือทรัพย์สินของผู้เยาว์
(๔) ผู้ซึ่งมีหรือเคยมีคดีในศาลกับผู้เยาว์ ผู้บุพการีหรือพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดากับผู้เยาว์
(๕)๓ ผู้ซึ่งบิดาหรือมารดาที่ตายได้ทำหนังสือระบุชื่อห้ามไว้มิให้เป็นผู้ปกครอง “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1587” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1587 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7755/2549
ผู้คัดค้านปกปิดการร้องขอให้ ส. เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ เพราะประสงค์จะช่วยเหลือและคุ้มครองประโยชน์ของ ส. โดยคดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล นอกจากนั้นผู้คัดค้านยังเป็นผู้รับมอบอำนาจจากบิดาผู้คัดค้านฟ้อง ค. และ บ. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับ ส. เพิกถอนการโอนที่ดินของ ป. พี่ชาย ส. ทั้งผู้คัดค้านยังได้แจ้งความร้องทุกข์ในฐานะผู้พิทักษ์ของ ส. ให้ดำเนินคดีแก่ ค. ในข้อหายักยอกทรัพย์ของ ส. การที่ผู้คัดค้านแจ้งความดำเนินคดีก็ดี การฟ้องคดีก็ดี ถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านได้กระทำในฐานะส่วนตัว จึงไม่ใช่เรื่องที่ผู้คัดค้านมีคดีในศาลกับพี่น้องร่วมบิดามารดากับ ส. และมิใช่ผู้ที่ไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้อนุบาล
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1587 (3), ม. 1587 (4)