“มาตรา 1590 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1590” คืออะไร?
“มาตรา 1590” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1590 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ผู้ปกครองมีได้คราวหนึ่งเพียงคนเดียว แต่ในกรณีมีข้อกำหนดพินัยกรรมให้ตั้งผู้ปกครองหลายคนหรือเมื่อมีผู้ร้องขอโดยมีเหตุผลอันสมควร ให้ศาลมีอำนาจตั้งผู้ปกครองได้ตามจำนวนที่ศาลเห็นว่าจำเป็น ในกรณีที่ตั้งผู้ปกครองหลายคนศาลจะกำหนดให้ผู้ปกครองเหล่านั้นกระทำการร่วมกันหรือกำหนดอำนาจเฉพาะสำหรับคนหนึ่ง ๆ ก็ได้ “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1590” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1590 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3973/2563
ป.พ.พ. มาตรา 1598/18 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1590 บัญญัติให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองมาใช้บังคับแก่ผู้อนุบาล โดยศาลจะตั้งผู้อนุบาลหลายคนให้กระทำการร่วมกันหรือกำหนดอำนาจเฉพาะสำหรับคนหนึ่ง ๆ ก็ได้ ซึ่งศาลเยาวชนและครอบครัวมีคำสั่งเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 179/2558 ให้โจทก์เป็นคนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความอนุบาลของ ฤ. และจำเลยร่วมกัน ศาลอุทธรณ์ภาค 6 และศาลฎีกาพิพากษายืนโดยศาลฎีกาให้ ฤ. เป็นผู้มีสิทธิกำหนดที่อยู่ของโจทก์ ตามคำสั่งศาลระบุเพียงว่า ฤ. และจำเลยเป็นผู้อนุบาลโจทก์ผู้ไร้ความสามารถ โดยมิได้กำหนดหน้าที่ของผู้อนุบาลแต่ละคนไว้โดยเฉพาะและมิได้กำหนดให้ผู้อนุบาลกระทำการร่วมกันอย่างไร ยกเว้นแต่ในเรื่องการกำหนดที่อยู่ที่ศาลฎีการะบุให้ ฤ. เพียงผู้เดียวเป็นผู้มีสิทธิกำหนดที่อยู่ของโจทก์ได้ กรณีจึงต้องถือว่าการใดที่ ฤ. และจำเลยกระทำการแทนโจทก์รวมถึงการบอกล้างโมฆียะกรรมต้องกระทำด้วยความยินยอมพร้อมใจกัน ดังนั้น การที่โจทก์โดย ฤ. ในฐานะผู้อนุบาลเพียงคนเดียวโดยไม่มีจำเลยร่วมฟ้องเป็นคดีนั้นจึงขัดต่อคำสั่งศาล ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้แม้การกระทำของจำเลยจะเป็นปฏิปักษ์ต่อทรัพย์ของโจทก์ แต่ ฤ.ไม่อาจอ้างเหตุความเป็นปฏิปักษ์ดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างในการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวได้เพราะ ฤ. อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีคำสั่งให้โจทก์เป็นคนไร้ความสามารถโดยแสดงเหตุขัดข้องดังกล่าว เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้ ฤ. เพียงฝ่ายเดียวมีอำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว หรือขอให้ศาลมีคำสั่งเกี่ยวกับการขอถอดถอนจำเลยจากการเป็นผู้อนุบาลร่วมได้ ดังนั้น โจทก์โดย ฤ. ในฐานะผู้อนุบาลเพียงคนเดียวจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ ปัญหาอำนาจฟ้องนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1590, ม. 1598/18 วรรคสอง, ม. 1726, ม. 1736
ป.วิ.พ. ม. 142 (5)
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2116/2558
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะเป็นผู้อนุบาล จ. หาได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นการส่วนตัวไม่ แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์เป็นการขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระเงินค่าเสียหายและเปิดทางเข้าออก อาจดูเหมือนเป็นการบังคับให้จำเลยทั้งสองรับผิดในฐานะส่วนตัวดังที่ศาลชั้นต้นเข้าใจก็เป็นเรื่องปัญหาเกี่ยวกับการบังคับคดี หาทำให้ฟ้องโจทก์ที่ฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะผู้อนุบาลของ จ. กลายเป็นฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะส่วนตัวไม่ เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งโจทก์ในฐานะจำเลยที่ 2 เป็นผู้อนุบาล จ. และสาระสำคัญของฟ้องแย้งก็เป็นเรื่องสัญญาเช่าเดียวกันกับที่โจทก์ใช้เป็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาฟ้องจำเลยทั้งสอง โดยจำเลยที่ 2 อ้างว่าสัญญาเช่าดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายและอาศัยข้ออ้างดังกล่าวเป็นหลักแห่งข้อหาในการฟ้องแย้งโจทก์ให้ออกไปจากห้องพิพาทและเรียกค่าเสียหาย ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม
ป.พ.พ. มาตรา 1598/18 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1590 ที่ใช้บังคับอยู่ขณะศาลจังหวัดภูเก็ตแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวมีคำสั่งตั้งจำเลยทั้งสองซึ่งมิใช่บิดามารดาหรือคู่สมรสของ จ. เป็นผู้อนุบาลของ จ. ที่เป็นคนไร้ความสามารถนั้น บัญญัติให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองมาใช้บังคับแก่ผู้อนุบาล โดยศาลจะตั้งผู้อนุบาลหลายคนให้กระทำการร่วมกันหรือกำหนดอำนาจเฉพาะสำหรับคนหนึ่ง ๆ ก็ได้ ซึ่งตามคำสั่งศาลจังหวัดภูเก็ตแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในคดีหมายเลขแดงที่ 25/2548 ระบุเพียงว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้อนุบาลของ จ. ผู้ไร้ความสามารถ โดยมิได้กำหนดหน้าที่ของผู้อนุบาลแต่ละคนไว้โดยเฉพาะ และมิได้กำหนดให้ผู้อนุบาลกระทำการร่วมกันอย่างไร กรณีจึงต้องถือว่าการใดที่จำเลยทั้งสองกระทำการแทน จ. ต้องกระทำด้วยความยินยอมพร้อมใจกัน การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้อนุบาลเพียงคนเดียวโดยไม่มีจำเลยที่ 1 ร่วมให้การและฟ้องแย้งมานั้นจึงขัดต่อคำสั่งศาล ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว แม้ต่อมา จ. ถึงแก่ความตายระหว่างคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้น อันมีผลให้ความเป็นผู้อนุบาลของจำเลยทั้งสองที่มีต่อ จ. ซึ่งเป็นผู้ไร้ความสามารถสิ้นสุดลงในภายหลังตาม ป.พ.พ. มาตรา 1572 (เดิม), 1581 (เดิม) แก้ไขใหม่มาตรา 1598/6 และ 1598/18 แล้ว และศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 2 เพียงผู้เดียวเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. ให้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายและจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน จ. เจ้ามรดกจนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตก็ตาม ก็หามีผลทำให้การขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ของจำเลยที่ 2 ที่สืบเนื่องมาจากการยื่นคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ที่กระทำโดยปราศจากอำนาจขัดต่อกฎหมาย กลับมีผลเป็นชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาใหม่ไม่ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1572 (เดิม), ม. 1581 (เดิม), ม. 1598/6, ม. 1598/18, ม. 1590
ป.วิ.พ. ม. 142 (5), ม. 177 วรรคสาม
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2116/2558
ป.พ.พ. มาตรา 1598/18 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1590 ที่ใช้บังคับอยู่ขณะศาลจังหวัดภูเก็ตแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวมีคำสั่งตั้งจำเลยทั้งสองซึ่งมิใช่บิดามารดาหรือคู่สมรสของเป็นผู้อนุบาลของ จ. ที่เป็นคนไร้ความสามารถนั้น บัญญัติให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองมาใช้บังคับแก่ผู้อนุบาล โดยศาลจะตั้งผู้อนุบาลหลายคนให้กระทำการร่วมกันหรือกำหนดอำนาจเฉพาะสำหรับคนหนึ่งๆ ก็ได้ ซึ่งตามคำสั่งศาลจังหวัดภูเก็ตแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวระบุเพียงว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้อนุบาลของ จ. ผู้ไร้ความสามารถ โดยมิได้กำหนดหน้าที่ของผู้อนุบาลแต่ละคนไว้โดยเฉพาะ และมิได้กำหนดให้ผู้อนุบาลกระทำการร่วมกันอย่างไร กรณีจึงต้องถือว่าการใดที่จำเลยทั้งสองกระทำการแทน จ. ต้องกระทำด้วยความยินยอมพร้อมใจกัน การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้อนุบาลเพียงคนเดียวโดยไม่มีจำเลยที่ 1 ร่วมให้การและฟ้องแย้งมานั้น จึงขัดต่อคำสั่งศาล ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว แม้ต่อมา จ. ถึงแก่ความตายระหว่างคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้น อันมีผลให้ความเป็นผู้อนุบาลของจำเลยทั้งสองที่มีต่อ จ. ซึ่งเป็นผู้ไร้ความสามารถสิ้นสุดลงในภายหลังตาม ป.พ.พ. มาตรา 1572 (เดิม), 1581 (เดิม) แก้ไขใหม่มาตรา 1598/6 และ 1598/18 แล้ว และศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 2 เพียงผู้เดียวเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. ให้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย และจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน จ. เจ้ามรดกจนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตก็ตาม ก็หามีผลทำให้การขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ของจำเลยที่ 2 ที่สืบเนื่องมาจากการยื่นคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ที่กระทำโดยปราศจากอำนาจขัดต่อกฎหมาย กลับมีผลเป็นชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาใหม่ไม่ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1590, ม. 1598/6, ม. 1598/18
ป.วิ.พ. ม. 142 (5)