Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1611 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1611 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1611” คืออะไร? 


“มาตรา 1611” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1611 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ทายาทซึ่งเป็นผู้เยาว์ บุคคลวิกลจริตหรือบุคคลผู้ไม่สามารถจะจัดทำการงานของตนเองได้ตามความหมายแห่งมาตรา ๓๒ แห่งประมวลกฎหมายนี้ จะทำการดังต่อไปนี้ไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมของบิดามารดา ผู้ปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี และได้รับอนุมัติจากศาลแล้วคือ
              (๑) สละมรดก
              (๒) รับมรดกอันมีค่าภาระติดพันหรือเงื่อนไข “


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1611” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1611 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2508
เมื่อเจ้ามรดกตาย ทรัพย์มรดกย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก เมื่อทายาทโดยธรรมคนใดคนหนึ่งตายก่อนเจ้ามรดก ส่วนมรดกที่ทายาทโดยธรรมจะได้รับย่อมตกทอดแก่ผู้สืบสันดานทุกคนของทายาทโดยธรรมนั้นในฐานะเป็นผู้รับมรดกแทนที่ ดังนั้น เมื่อทายาทโดยธรรมตาย มีผู้เอาชื่อผู้สืบสันดานคนหนึ่งใส่ลงในหน้าโฉนดเป็นผู้รับมรดกจึงหาทำให้ผู้สืบสันดานคนอื่นๆ เสียสิทธิในการรับมรดกแทนที่ในที่ดินนั้นไปไม่
คำสั่งของผู้ตายให้ยกที่ดินให้แก่ใครคนหนึ่งนั้นมิใช่พินัยกรรมจึงหาลบล้างสิทธิของทายาทโดยธรรม หรือผู้รับมรดกแทนที่ของทายาทโดยธรรมนั้นไม่
การสละมรดกจะต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
การที่มารดาจะสละมรดกแทนผู้เยาว์ได้ จะต้องได้รับอนุมัติจากศาลก่อน
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1611 (1), ม. 1612, ม. 1620, ม. 1629, ม. 1639, ม. 1648

 


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2508
เมื่อเจ้ามรดกตาย ทรัพย์มรดกย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก เมื่อทายาทโดยธรรมคนใดคนหนึ่งตายก่อนเจ้ามรดก ส่วนมรดกที่ทายาทโดยธรรมจะได้รับย่อมตกทอดแก่ผู้สืบสันดานทุกคนของทายาทโดยธรรมนั้นในฐานะเป็นผู้รับมรดกแทนที่ ดังนั้น เมื่อทายาทโดยธรรมตาย มีผู้เอาชื่อผู้สืบสันดานคนหนึ่งใส่ลงในหน้าโฉนดเป็นผู้รับมรดกจึงหาทำให้ผู้สืบสันดานคนอื่น ๆ เสียสิทธิในการรับมรดกแทนที่ในที่ดินนั้นไปไม่

คำสั่งของผู้ตายให้ยกที่ดินให้แก่ใครคนหนึ่งนั้นมิใช่พินัยกรรม จึงหาลบล้างสิทธิของทายาทโดยธรรมหรือผู้รับมรดกแทนที่ของทายาทโดยธรรมนั้นไม่
การสละมรดกจะต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
การที่มารดาจะสละมรดกแทนผู้เยาว์ได้ จะต้องได้รับอนุมัติจากศาลก่อน
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1611 (1), ม. 1612, ม. 1620, ม. 1629, ม. 1639, ม. 1648


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2489
ที่ดินมรดกตกได้แก่มารดาและบุตร เมื่อเจ้ามรดกตายแล้วทายาทก็เก็บค่าเช่าแบ่งกัน ต่อมาประมาณ 4 ปีมารดาโอนขายที่มรดกในนามของตนและแทนเด็กไปตามลำพัง ดังนี้ อัยการเป็นโจทก์ฟ้องแทนเด็กขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายได้
การเพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งผู้ขายขายในนามของตนเองและขายแทน เมื่อมีการเพิกถอนสัญญาโดยขายแทนเด็กไม่ได้ ก็ต้องเพิกถอนทั้งหมด ส่วนผู้ขายจะต้องรับผิดชอบต่อผู้ซื้ออย่างไรก็คงมีอยู่ตามกฎหมาย
มารดาขายที่ดินแทนเด็กตามลำพังนั้นถ้าผู้ซื้อทราบอยู่แล้วว่าเด็กทั้งสองมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นด้วย ผู้ซื้อจะยกเอาความสุจริตขึ้นต่อสู้ไม่ได้ ฝ่ายเด็กก็ขอให้เพิกถอนสัญญานั้นได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 5, ม. 135, ม. 453, ม. 456, ม. 1546, ม. 1599, ม. 1611, ม. 1745, ม. 1750
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
ติดต่อเราทาง LINE