“มาตรา 1614 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1614” คืออะไร?
“มาตรา 1614” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1614 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าทายาทสละมรดกด้วยวิธีใดโดยที่รู้อยู่ว่าการที่ทำเช่นนั้นจะทำให้เจ้าหนี้ของตนเสียเปรียบ เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะร้องขอให้เพิกถอนการสละมรดกนั้นเสียได้ แต่ความข้อนี้มิให้ใช้บังคับ ถ้าปรากฏว่าในขณะที่สละมรดกนั้น บุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย แต่หากกรณีเป็นการสละมรดกโดยเสน่หา เพียงแต่ทายาทผู้สละมรดกเป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวเท่านั้นก็พอแล้ว ที่จะขอเพิกถอนได้
เมื่อได้เพิกถอนการสละมรดกแล้ว เจ้าหนี้จะร้องขอให้ศาลสั่ง เพื่อให้ตนรับมรดกแทนที่ทายาทและในสิทธิของทายาทนั้นก็ได้
ในกรณีเช่นนี้ เมื่อได้ชำระหนี้ของทายาทนั้นให้แก่เจ้าหนี้แล้ว ถ้าส่วนของทายาทนั้นยังมีเหลืออยู่อีก ก็ให้ได้แก่ผู้สืบสันดานของทายาทนั้น หรือทายาทอื่นของเจ้ามรดก แล้วแต่กรณี “
2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1614” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1614 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10810/2559
ส. สละมรดกในขณะที่เป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา โดยข้อเท็จจริงได้ความว่า ส. ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่โจทก์จะบังคับคดีได้ จึงเป็นการสละมรดกโดยรู้อยู่ว่าจะทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ กรณีมีเหตุเพิกถอนนิติกรรมสละมรดกที่ดินในส่วนของ ส.
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการสละมรดกที่ดินระหว่าง ส. กับจำเลยที่ 2 โดยอ้างว่า ส. สละมรดกที่ดินโดยรู้อยู่ว่าการกระทำเช่นนั้นจะทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของตนเสียเปรียบ การกระทำของ ส. จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เมื่อ ส. ถึงแก่ความตาย โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทโดยธรรม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1737
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1614, ม. 1737
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2663/2532
การที่จำเลยขอกู้เงินโจทก์และในวันเดียวกันนั้นได้แสดงเจตนาขอสละทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ร้องทั้งที่ตนไม่มีทรัพย์อื่นอีก และผู้ร้องเป็นผู้เยาว์ยังอยู่ในอำนาจปกครองของจำเลย พฤติการณ์การสละมรดกยังไม่สมเหตุผล ถือว่าเพียงแต่ให้ผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์ทรัพย์มรดกไว้แทนเท่านั้น จำเลยยังคงเป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์มรดกผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์มรดก และโจทก์ยึดทรัพย์มรดกได้โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ ปัญหามีว่า ทรัพย์มรดกยังเป็นของจำเลยหรือไม่ การที่ศาลวินิจฉัยว่า การสละมรดกของจำเลยเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันตกเป็นโมฆะ ผู้ร้องมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกแทนจำเลยจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1357, ม. 1381, ม. 1612, ม. 1614
ป.วิ.พ. ม. 183, ม. 271, ม. 288