“มาตรา 1618 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1618” คืออะไร?
“มาตรา 1618” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1618 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าทายาทโดยธรรมผู้ที่ได้สละมรดกไม่มีผู้สืบสันดานที่จะรับมรดกได้ หรือผู้รับพินัยกรรมได้สละมรดก ให้ปันส่วนแบ่งของผู้ที่ได้สละมรดกนั้น ๆ แก่ทายาทอื่นของเจ้ามรดกต่อไป “
2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1618” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1618 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2518
วัตถุที่ประสงค์ของมูลนิธิและข้อกำหนดว่าด้วยทรัพย์สินของมูลนิธิตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 82(3) และ (4) นั้น ตามมาตรา 84 หาได้ยอมให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดขอร้องให้ศาลกำหนดขึ้นได้ไม่อันแสดงว่าเจตนารมย์ของกฎหมายประสงค์จะให้ผู้ก่อตั้งมูลนิธิแต่ผู้เดียวเป็นผู้กำหนดในตราสารจัดตั้งและจะขาดเสียมิได้ เพราะรายการทั้งสองดังกล่าวเป็นสารสำคัญอันถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบของการที่จะเป็นมูลนิธิตามมาตรา 81
ข้อกำหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับการก่อตั้งมูลนิธิมีว่า'โฉนดที่ดินหมายเลขที่ 6483 ตำบลตลิ่งชัน อำเภอตลิ่งชันจังหวัดธนบุรี เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ 35 วา ขอมอบให้เป็นมูลนิธิมงคลรักสำรวจ' เช่นนี้ พินัยกรรมดังกล่าวมิได้ระบุข้อความเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของมูลนิธิมงคลรักสำรวจ ไว้ ย่อมทำให้มูลนิธิมงคล รักสำรวจ ไม่สามารถจัดตั้งขึ้นได้ ข้อกำหนดพินัยกรรมดังกล่าวจึงหาใช่เป็นข้อกำหนดพินัยกรรมที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1676 ไม่เพราะมิได้ระบุให้บุคคลใดตกอยู่ในภาระติดพันที่จะก่อตั้งมูลนิธิเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งมิได้มีการสั่งให้จัดสรรทรัพย์สินไว้โดยตรงเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งตามบทบัญญัติมาตรา 81 ข้อกำหนดพินัยกรรมของนายมงคลที่ว่าขอมอบที่ดินให้เป็นมูลนิธิมงคล รักสำรวจจึงไม่มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ที่ดินโฉนดที่ 6483 จึงตกทอดแก่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทลำดับ 3 ของเจ้ามรดกแต่เพียงคนเดียวตามมาตรา 1699เพราะโจทก์ที่1 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับสูงกว่าซึ่งเหลืออยู่เพียงผู้เดียวได้สละมรดกแล้ว กรมที่ดินและเจ้าพนักงานที่ดินจำเลยจึงต้องรับจดทะเบียนโอนแก้ทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้เป็นของโจทก์ที่ 2
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 81, ม. 82, ม. 83, ม. 84, ม. 1618, ม. 1629, ม. 1676, ม. 1699
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2494
ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้แก่บุคคลหลายคนเป็นผู้รับเมื่อเจ้ามรดกตายสิทธิในทรัพย์ย่อมตกได้แก่ผู้รับพินัยกรรม
บรรดาผู้รับพินัยกรรมจึงได้ชื่อว่า เป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์มรดกฉะนั้นการที่ผู้รับพินัยกรรมคนหนึ่งจัดการเรียกร้องทรัพย์มรดกได้มาจากบุคคลอื่นแล้วจะกีดกันเอาไว้แต่ผู้เดียวมิได้ จำต้องแบ่งกันระหว่างผู้รับพินัยกรรมตามส่วน
ผู้รับพินัยกรรมคนหนึ่งทำหนังสือยอมมอบสิทธิการรับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมของตน ซึ่งตกอยู่กับผู้รับมรดกอีกคนหนึ่งให้แก่ผู้รับพินัยกรรมอีกคนหนึ่ง นั้น มิใช่เป็นการสละมรดก และการโอนเช่นนี้ถือว่าใช้ได้ ผู้รับโอนย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกมรดกส่วนที่โอนนั้นจากผู้ยึดถือทรัพย์มรดกนั้นอยู่ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 55
ป.พ.พ. ม. 112, ม. 306, ม. 1356, ม. 1359, ม. 1618, ม. 1617