“มาตรา 1619 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1619” คืออะไร?
“มาตรา 1619” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1619 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ผู้ใดจะสละหรือจำหน่ายจ่ายโอนโดยประการใด ซึ่งสิทธิอันหากจะมีในภายหน้าในการสืบมรดกผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นไม่ได้ “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1619” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1619 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2539
ท. เจ้ามรดกถึงแก่ความตายหลังจากโจทก์สละมรดกแล้ว4วันจังเป็นการแสดงเจตนาสละมรดกที่ฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1619การสละมรดกจึงไม่เกิดผลตามกฎหมายถือเท่ากับว่าไม่มีการสละมรดกโจทก์จึงยังคงมีสิทธิในทรัพย์มรดกในส่วนที่โจทก์จะพึงได้รับตามพินัยกรรมและการที่โจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินมรดกและไม่เคยติดใจเรียกร้องทรัพย์มรดกก็ไม่มีบทกฎหมายใดให้ถือว่าเป็นการปิดปากและเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าโจทก์สละมรดกนั้นแล้ว เมื่อการสละมรดกโดยโจทก์ไม่เกิดผลตามกฎหมายโจทก์จึงยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมรดกอยู่การไถ่ถอนจำนองที่ดินมรดกโดยจำเลยตกลงรับสภาพหนี้ต่อธนาคารและผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคารก็ปรากฎว่าโจทก์และน้องๆทุกคนก็ช่วยกันออกเงินคนละ20,000บาทให้จำเลยไปดำเนินการหาใช่เป็นเงินของจำเลยเพียงคนเดียวไม่อีกทั้งไม่ปรากฎว่ามีการตกลงกันระหว่างพี่น้องจำเลยให้จำเลยไปจัดการไถ่ถอนจำนองที่ดินมรดกแล้วจำเลยจะได้รับที่ดินมรดกในส่วนที่โจทก์จะพึงได้รับตามพินัยกรรมเป็นการตอบแทนที่ดินมรดกในส่วนดังกล่าวจึงยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ คดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกโดยโจทก์ฟ้องตั้งประเด็นว่าโจทก์เป็นทายาทโดยพินัยกรรมมีสิทธิรับมรดกจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจัดการมรดกโดยมิชอบไม่ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดกกรณีนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1733วรรคสองได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกนั้นมิให้ทายาทฟ้องเกินกว่า5ปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงจึงจะนำอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754มาบังคับใช้กับกรณีนี้หาได้ไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1619, ม. 1733 วรรคสอง, ม. 1750, ม. 1754
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2535
การที่โจทก์ร่วมแบ่งที่พิพาทให้แก่จำเลย แล้วจำเลยนำที่พิพาทมาขายคืนให้แก่โจทก์ร่วม ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจำหน่ายจ่ายโอนซึ่งสิทธิอันหากจะมีภายหน้าในการสืบมรดกผู้ที่มีชีวิตอยู่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1619 หนังสือสัญญาการซื้อขายจึงตกเป็นโมฆะ เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่อาจรับฟังได้โดยแน่ชัดว่าโจทก์ร่วมมีสิทธิครอบครองที่พิพาทแต่ผู้เดียว ที่พิพาทยังคงเป็นมรดกของ พ.การที่จำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งของพ. มีสิทธิรับมรดกแทนที่ ป. ผู้เป็นมารดา เข้ายึดถือครอบครองในที่พิพาทจึงเป็นเพียงโต้แย้งสิทธิโจทก์ร่วมในทางแพ่ง ฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานบุกรุก
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.อ. ม. 365
ป.พ.พ. ม. 1619
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2264/2529
ทรัพย์มรดกเป็นที่ดินมือเปล่าเจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกให้โจทก์โดยข้อกำหนดในพินัยกรรมระบุว่าให้พินัยกรรมมีผลเมื่อภริยาของเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้วระหว่างที่โจทก์เป็นผู้เยาว์ให้จำเลยเก็บผลประโยชน์จากทรัพย์มรดกดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายอุปการะเลี้ยงดูโจทก์โจทก์ทราบข้อความในพินัยกรรมตั้งแต่เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่หลังจากเจ้ามรดกตายแล้วแต่ในระหว่างที่ภริยาของเจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่นั้นโจทก์ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วได้แสดงเจตนาสละสิทธิในทรัพย์มรดกเมื่อภริยาของเจ้ามรดกถึงแก่กรรมจำเลยก็ได้ครอบครองทรัพย์มรดกอย่างเป็นเจ้าของนับแต่นั้นเป็นต้นมาดังนี้ทรัพย์มรดกจึงตกเป็นของจำเลยแล้วโจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกและเงินผลประโยชน์อันเกิดจากทรัพย์มรดกจากจำเลยไม่ได้.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1377, ม. 1619