“มาตรา 1621 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1621” คืออะไร?
“มาตรา 1621” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1621 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้แสดงเจตนากำหนดไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น แม้ทายาทโดยธรรมคนใดจะได้รับทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดตามพินัยกรรม ทายาทคนนั้นก็ยังมีสิทธิที่จะเรียกเอาส่วนโดยธรรมของตนจากทรัพย์มรดกส่วนที่ยังไม่ได้จำหน่ายโดยพินัยกรรมจนเต็มอีกก็ได้ “
1 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1621” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1621 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2501
"สินเดิม" คือทรัพย์สินของผัวหรือของเมียที่มีอยู่ก่อนแต่งงาน ซึ่งอาจนำมาใช้ประกอบการทำมาหากินให้เกิดผลได้ หรืออาจนำมาใช้เพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งในภายหลังที่ทำการสมรสแล้ว ถึงแม้จะมิได้นำมาบริคณห์กันในเวลาแต่งงานแล้วก็ดี
การที่โจทก์มีเงินสดติดตัวมาและมีเครื่องทองเพชรสำหรับแต่งตัวเป็นสินเดิมมา เมื่อมาอยู่กับเจ้ามรดกแม้เจ้ามรดกทำแต่ราชการอย่างเดียวมิได้ค้าขายก็ถือว่ามีสินเดิม มีสิทธิขอแบ่งสินสมรสได้
ผู้ทำพินัยกรรมจะเอาส่วนสินสมรสของโจทก์ไปทำยกให้ผู้อื่นไม่ได้
เมื่อพินัยกรรมระบุยกทรัพย์สินให้ น.ส.หนุ่ย.น.ส.หนุ่ยตายก่อนเจ้ามรดก ต้องเอาส่วนของ น.ส.หนุ่ยมาแบ่งแก่ทายาทที่มิได้มีคำสั่งกำจัดมรดกทุกคน
การที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งสินสมรสและส่วนมรดก ไม่เป็นการฟ้องให้เพิกถอนข้อกำหนดในพินัยกรรม จึงไม่จำต้องฟ้องภายใน 3 เดือน นับแต่ทราบข้อความในพินัยกรรม
การยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ไม่ใช่เป็นการรับรองพินัยกรรม พินัยกรรมระบุจำนวนเงินที่จะใช้ทำศพแน่นอน ถ้าผู้จัดการมรดกใช้เงินเกินไปจากที่กำหนด ที่ประชุมใหญ่ให้ถือว่าเป็นหนี้ทางศีลธรรมซึ่งผู้ออกเงินไป สมัครออกไปเองจะหักเงินนี้จากกองมรดกไม่ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
กฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68
ป.พ.พ. ม. 1466 (2), ม. 1477, ม. 1698 (1), ม. 1699, ม. 1620 (2), ม. 1621, ม. 1710, ม. 1605