“มาตรา 1626 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1626” คืออะไร?
“มาตรา 1626” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1626 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ เมื่อได้ปฏิบัติตามมาตรา ๑๖๒๕ (๑) แล้ว ให้คิดส่วนแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทโดยธรรม ดังต่อไปนี้
(๑) ทรัพย์มรดกนั้นให้แบ่งแก่ทายาทตามลำดับและชั้นต่าง ๆ ดังที่บัญญัติไว้ในหมวด ๒ แห่งลักษณะนี้
(๒) ส่วนแบ่งอันจะได้แก่ทายาทในลำดับและชั้นต่าง ๆ นั้น ให้แบ่งในระหว่างบรรดาทายาทในลำดับและชั้นนั้น ๆ ดังที่บัญญัติไว้ในหมวด ๓ แห่งลักษณะนี้ “
2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1626” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1626 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5517/2533
เดิม จ. เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จ. ตาย ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกตกเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ จ. ครึ่งหนึ่งและตกเป็นของ ส.สามีจ.ครึ่งหนึ่งส. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ. ตามคำสั่งศาลได้โอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยโดยเจตนาลวงด้วยสมรู้ระหว่างจำเลยกับ ส. สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นโมฆะ โจทก์ซึ่งมีสิทธิในที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกเอาคืนที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์จากจำเลยซึ่งไม่มีสิทธิยึดถือไว้ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1532,1533,1625,1626และ 1635.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1532, ม. 1533, ม. 1625, ม. 1626, ม. 1635
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1783/2505
พินัยกรรมแบบธรรมดา มีพยาน 4 คนลงลายมือชื่อไว้ท้ายลายพิมพ์นิ้วมือของเจ้ามรดก แต่ปรากฏว่าก่อนถึงลายเซ็นของพยานมีข้อความระบุไว้ด้วยว่าผู้สั่งพินัยกรรมได้ลงชื่อหรือพิมพ์นิ้วมือต่อหน้าข้าพเจ้าด้วย ดังนี้ ไม่จำเป็นจะต้องมีพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือโดยตรงต่างหากอีก
เรื่องสติของผู้ทำพินัยกรรมดีหรือไม่ ย่อมเป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องพิจารณา ในเมื่อมีการโต้เถียงกัน ตามกฎหมายไม่ได้บังคับว่าพินัยกรรมจะต้องมีข้อความว่าพยานรับรองสติของผู้ทำพินัยกรรม
ตามปกติการพิมพ์ลายนิ้วมือก็ควรจะมีลายนิ้วมือปรากฏอยู่ด้วย แต่ลายพิมพ์นิ้วมือของเจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมแม้จะไม่มีลายนิ้วมือเพราะเป็นโรคเรื้อน แต่เมื่อมีพยานลงลายมือชื่อรับรองถูกต้องและข้อเท็จจริงก็ฟังได้ว่าเจ้ามรดกได้พิมพ์ลายนิ้วมือไว้จริงแล้ว ลายพิมพ์นิ้วมือนั้นย่อมใช้ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1626