“มาตรา 1632 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1632” คืออะไร?
“มาตรา 1632” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1632 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ภายใต้บังคับแห่งมาตรา ๑๖๒๙ วรรคสุดท้าย การแบ่งส่วนมรดกของทายาทโดยธรรมในลำดับญาติให้เป็นไปตามบทบัญญัติในส่วนที่ ๑ แห่งหมวดนี้ “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1632” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1632 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6080/2559
โจทก์อุทธรณ์ว่า จ. ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแก่ตนเองโดยแจ้งในบัญชีเครือญาติว่าบุตรผู้ตายอีก 8 คน ถึงแก่ความตาย เหลือ จ. เพียงคนเดียว โดยไม่ระบุบุตรผู้ตาย และในคดีขอจัดการมรดก จ. ระบุว่า ผู้ตายมีทายาทเพียง 2 คน ถือเป็นการปิดบังมรดก แต่ในคำฟ้องของโจทก์อ้างสาเหตุที่เป็นหลักแห่งข้อหาว่าที่ต้องกำจัด จ. เพราะว่า จ. โอนทรัพย์มรดกแก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 โดยให้ถือกรรมสิทธิ์รวม แต่ไม่โอนให้แก่โจทก์ จึงเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่มิได้อ้างมาในคำฟ้อง ถือเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงไม่รับวินิจฉัย เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยว่าอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่โต้แย้งคัดค้านพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ในประเด็นดังกล่าวนี้ว่า ไม่ชอบอย่างไร แท้จริงแล้วอุทธรณ์ของโจทก์ไม่เป็นการยกเอาข้อเท็จจริงนอกคำฟ้องมาอุทธรณ์ แต่โจทก์ยังคงฎีกาว่า ตามคำฟ้องและจากพยานหลักฐานในสำนวนถือว่า จ. มีพฤติกรรมในการปิดบังทรัพย์มรดกต้องถูกกำจัด จึงถือว่าเป็นฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สิทธิในการรับมรดกนั้นเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าเจ้ามรดกมีทายาทชั้นบุตร 9 คน โดยไม่ปรากฏว่ามีทายาทชั้นอื่นที่จะต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกให้อีก ดังนั้นมรดกของเจ้ามรดกต้องถูกแบ่งออกเป็น 9 ส่วนเท่าๆ กัน โดย ป.พ.พ. มาตรา 1632 และ 1633 บัญญัติว่า หากแบ่งปันหรือมีข้อตกลงให้แบ่งปันเป็นประการอื่น ต้องเป็นข้อตกลงยินยอมของทายาททุกคน จะใช้มติของทายาทเสียงข้างมากบังคับให้มีผลแตกต่างจากส่วนแบ่งที่จะได้รับตามกฎหมายหาได้ไม่ คดีนี้ ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 กล่าวอ้างว่า ทายาททุกคนตกลงให้แบ่งปันทรัพย์มรดกออกเป็น 10 ส่วน ส่วนที่เหลืออีก 1 ส่วน ยกให้แก่ จ. ก็มีผลเท่ากับว่า จ. ได้รับส่วนแบ่ง 2 ส่วน เกินส่วนที่ตนเองจะได้รับตามกฎหมาย และมีผลทำให้ทายาทอื่นรวมทั้งโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกแทนที่บิดาต้องได้รับส่วนแบ่งน้อยลงด้วย ทั้งในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ปรากฏว่าโจทก์เกี่ยวข้องด้วย การแบ่งปันทรัพย์มรดกตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมีผลบังคับเฉพาะที่ทายาทที่ตกลงกันเท่านั้น ไม่มีผลผูกพันโจทก์และไม่อาจทำให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งที่มีสิทธิจะได้รับตามกฎหมายได้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมการแบ่งมรดกที่แบ่งโดยมิชอบได้ แต่คงเพิกถอนได้เฉพาะส่วนที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับเท่านั้น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1632, ม. 1633
ป.วิ.อ. ม. 193, ม. 225
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 706/2513
การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทนั้นต้องแบ่งกันตามส่วนที่แต่ละคนมีสิทธิได้รับ ฉะนั้น เมื่อโจทก์ 4 คนฟ้องขอแบ่งมรดกกับจำเลยในฐานะบุตรและผู้รับมรดกแทนที่ของบุตรเจ้ามรดกผู้ตาย แต่ทางพิจารณาปรากฏว่าเจ้ามรดกมีบุตรรวม 6 คน ดังนี้ ต้องถือว่าโจทก์ทั้ง 4 และจำเลยมีสิทธิได้รับคนละ 1 ใน 6 ส่วนของทรัพย์มรดกโจทก์อ้างขอส่วนแบ่งคนละ 1 ใน 5 ส่วน โดยถือว่าทายาทอีกคนหนึ่งมิได้ฟ้องขอแบ่งมรดกด้วยมิได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1632, ม. 1633, ม. 1634, ม. 1749
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 542/2502
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาทรัพย์เป็นของตนทั้งหมด คำขอของโจทก์ตามฟ้องนั้น เพื่อจะได้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตายเมื่อฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้ตายในที่ดินและตึกพิพาทศาลก็ต้องยกฟ้องคดีชนิดนี้ศาลไม่สมควรที่จะชี้ขาดว่าฝ่ายใดควรได้ส่วนแบ่งเท่าใด
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 142 (2), ม. 242 (2), ม. 247
ป.พ.พ. ม. 1719, ม. 1632