Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1636 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1636 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1636” คืออะไร? 


“มาตรา 1636” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1636 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าเจ้ามรดกมีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ ๕ หลายคนยังมีชีวิตอยู่ ภริยาเหล่านั้นทั้งหมดรวมกันมีสิทธิได้รับมรดกตามลำดับชั้นและส่วนแบ่งดังระบุไว้ในมาตรา ๑๖๓๕ แต่ในระหว่างกันเองให้ภริยาน้อยแต่ละคนมีสิทธิได้รับมรดกกึ่งส่วนที่ภริยาหลวงจะพึงได้รับ “


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1636” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1636 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557 - 558/2524
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ที่ 1 เป็นภริยาของ ล. โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรของ ล. ซึ่งเกิดแต่ ข. ภริยาอีกคนหนึ่ง จำเลยเป็นบุตรซึ่งเกิดแต่ ส. ภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของ ล. จำเลยโอนรับมรดกที่ดินพิพาทแต่ผู้เดียว ขอให้แบ่งตามส่วน ได้ความว่าโจทก์ที่2 และจำเลยเป็นบุตรที่ ล. บิดารับรองว่าเป็นบุตรส่วนที่พิพาทได้ความว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างที่ ล. และ ส. มารดาจำเลยอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาดังนี้ ล. และ ส. จึงเป็นเจ้าของรวมในที่พิพาท ที่พิพาทจึงเป็นของ ส. มารดาจำเลยกึ่งหนึ่ง อีกกึ่งหนึ่งเป็นของ ล. ส่วนของ ล. นี้ตกเป็นสินสมรส ระหว่าง ล. กับโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิ ในส่วนที่ เป็นของ ล. กึ่งหนึ่งในฐานะภรรยาที่ ชอบด้วยกฎหมาย อีกกึ่งหนึ่งเป็นมรดกของ ล. ซึ่งตกได้แก่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และจำเลยคนละหนึ่งส่วนเท่ากัน(โจทก์ที่ 1 มีสิทธิในที่พิพาท 4 ใน 12 ส่วน โจทก์ที่ 2 มีสิทธิ 1 ใน 12 ส่วน)
จำเลยไปยื่นคำร้องขอรับมรดกที่พิพาท โจทก์ที่ 1ได้ยื่นคำคัดค้าน ในที่สุดโจทก์ที่ 1 และจำเลยตกลงกันได้ โจทก์ที่ 1 ได้ทำบันทึกไว้ต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดินว่าโจทก์ที่ 1 ยอมรับเอาที่พิพาทส่วนหนึ่งทางทิศตะวันตกจะรังวัดแบ่งแยกกันเมื่อจำเลยได้โฉนดแล้ว และโจทก์ที่ 1 ขอถอนคำคัดค้านนั้นเสียดังนี้ บันทึกดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงแบ่งปันทรัพย์ มรดก ไม่ใช่การสละมรดก เป็นผลให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่ 1 ระงับไป และได้สิทธิใหม่ตามสัญญานี้จำเลยกล่าวมาในฎีกาว่ายินดีปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมดังกล่าว ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งตามสัญญาดังกล่าวนั้นได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 850, ม. 1356, ม. 1612, ม. 1613, ม. 1627, ม. 1635 (1), ม. 1636, ม. 1750 วรรคสอง
ป.วิ.พ. ม. 142 (2)

 


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2518
ภริยา 2 คนก่อนบรรพ 5 ซึ่งสามียกย่องเป็นภรรยาเสมอเท่าเทียมกัน ไม่ยกใครเป็นภรรยาหลวง ทั้ง 2 คนมีส่วนได้ทรัพย์สินบริคณห์และมรดกในฐานะภริยาเท่ากัน คือคนละครึ่งในหนึ่งในสามของสินสมรสซึ่งเป็นส่วนของภริยา
พินัยกรรมที่ผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อบรรจุซอง ผู้ทำพินัยกรรมลงชื่อตามรอยผนึก กรมการอำเภอจดข้อความที่ซองยืนยันและลงลายมือชื่อรับรองประทับตราประจำตำแหน่งมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง 2 คน ทั้งระบุชื่อและที่อยู่ผู้พิมพ์พินัยกรรม ดังนี้เป็นพินัยกรรมลับ ตามมาตรา 1660
ข้อต่อสู้ว่าฟ้องเคลือบคลุม ซึ่งไม่กล่าวว่าเคลือบคลุมตรงไหนอย่างไร ไม่แสดงเหตุผลโดยชัดแจ้ง คำให้การนี้ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรค 2 ศาลไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2477
ป.วิ.พ. ม. 177
ป.พ.พ. ม. 1660, ม. 1636


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 413/2506
มรดกหรือการแบ่งมรดกจะมีขึ้นได้ต่อเมื่อบุคคลถึงแก่ความตายฉะนั้นเมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตายในขณะใช้กฎหมายใด ก็ต้องตกอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น
เป็นสามีภริยากันมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5-6แต่ตายจากกันภายหลังใช้ บรรพ 5-6 แล้ว ต้องแบ่งมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1635, ม. 1636
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
ติดต่อเราทาง LINE