“มาตรา 1640 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1640” คืออะไร?
“มาตรา 1640” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1640 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ เมื่อบุคคลใดต้องถือว่าถึงแก่ความตายตามความในมาตรา ๖๕ แห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้มีการรับมรดกแทนที่กันได้ “
2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1640” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1640 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1016/2485
การที่โจทก์ฟ้องว่าทรัพย์มรดกอยู่ในความปกครองยึดถือของจำเลย. จำเลยไม่ยอมแสดงบัญชี. โจทก์ไม่ทราบรายละเอียด.แต่โจทก์ประมาณราคาทรัพย์และโจทก์ขอให้จำเลยแสดงบัญชีทรัพย์มรดกดังนี้ ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม. คำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องที่แสดงบัญชีทรัพย์ที่โจทก์ยื่นภายหลังจำเลยให้การแล้วเป็นแต่เพียงการแสดงทรัพย์ซึ่งเบื้องต้นโจทก์ไม่รู้ให้ปรากฏขึ้นเท่านั้น. ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายประการใด.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1606, ม. 1607, ม. 1630, ม. 1631, ม. 1639, ม. 1640, ม. 1641, ม. 1642
ป.วิ.พ. ม. 179, ม. 180, ม. 181
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1188/2482
เจ้ามฤดกตายเมื่อ พ.ศ.2474 หลานจะมีสิทธิได้รับมฤดกของตาหรือไม่ ต้องใช้ พ.ร.บ.แก้ไขฯลักษณมฤดก ร.ศ.121 บังคับเมื่อบัตร์ของเจ้ามฤดกยังมีชีวิตอยู่ หลานซึ่งเกิดจากบุตร์นั้นยังไม่มีสิทธิได้รับมฤดกของเจ้ามฤดกการที่เจ้ามฤดกทำพินัยกรรม์ตัดบุตร์คนใดไม่ให้มีสิทธิได้รับมฤดก ไม่มีกฎหมายใดให้ถือว่าบุตร์คนนั้นได้ตายไปแล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมลักษณะมรดก ร.ศ.121 ม. 1
ป.พ.พ. ม. 1629, ม. 1639, ม. 1640, ม. 1608