“มาตรา 1642 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1642” คืออะไร?
“มาตรา 1642” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1642 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การรับมรดกแทนที่กันนั้น ให้ใช้บังคับแต่ในระหว่างทายาทโดยธรรม “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1642” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1642 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5189/2539
ส. เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับก. ส. มีภริยาคือโจทก์ที่1และมีบุตร3คนคือร. โจทก์ที่2และที่3หลังจากส. ถึงแก่ความตายแล้วร. ทำหนังสือสละมรดกของส. ต่อมาก. เสียชีวิตโจทก์ที่1เป็นเพียงภริยาของส.มิใช่ผู้สืบสันดานของส. จึงไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่ส.เพราะการรับมรดกแทนที่กันจะมีได้เฉพาะผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่บิดามารดาเท่านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1639และ1642ส่วนร. แม้จะสละมรดกของส. แล้วแต่ก็ไม่ปรากฏว่าร. สละสิทธิในการรับมรดกของก. อันเป็นการรับมรดกแทนที่ส. แต่อย่างใดร.โจทก์ที่2และที่3จึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่ส. ในการสืบมรดกของก. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1645คนละหนึ่งในสาม โจทก์ทั้งสามมีชื่อโฉนดที่ดินพิพาทโดยรับมรดกเฉพาะส่วนของส. อยู่แล้วเป็นเพียงแต่ยังไม่มีชื่อโจทก์ที่2และที่3ในส่วนที่เป็นมรดกของก. เท่านั้นแต่ก็มีชื่อจำเลยที่2ในฐานะผู้จัดการมรดกของก. เท่ากับว่าโจทก์ที่2และที่3ชนะคดีบางส่วนจำเลยทั้งห้าจึงไม่สมควรรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1642, ม. 1645
ป.วิ.พ. ม. 161
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2510
จ. กับ ข. ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว มีบุตร 6 คนบุตรของ จ. ข. ทุกคนเว้น ธ. ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุ ได้ร่วมกันครอบครองมรดกตลอดมา ก. บุตรของ จ. ข. ตายหลัง จ. ข. มรดกของ จ. ข. ที่ ก. ได้รับจึงตกเป็นของโจทก์ที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาของ ก. ในฐานะผู้รับมรดกของ ก. หาใช่ในฐานะผู้รับมรดกแทนที่ ก. ไม่แต่เมื่อพิเคราะห์ฟ้องของโจทก์แล้วเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์ที่ 3 ขอรับมรดก ของ ก. นั่นเองโจทก์ที่ 3 จึงมีสิทธิขอแบ่งทรัพย์มรดก
ธ. ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุอยู่ก่อน ข. เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตลอดมาเป็นเวลา 20 ปี แล้ว ไม่ได้เข้ามาร่วมครอบครองทรัพย์มรดกคงมีแต่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 (ซึ่งเป็นบุตรของ จ. ข. เจ้ามรดก) และโจทก์ที่ 3 (ซึ่งเป็นภริยาของ ก. ซึ่งเป็นบุตรของ จ. ข. และถึงแก่ความตายไปแล้ว) จำเลย และ ส. ครอบครองร่วมกันมาโจทก์ ทั้ง3 จำเลย และ ส. ย่อมมีสิทธิในทรัพย์มรดกรายนี้เท่าๆกันจึงให้แบ่งทรัพย์มรดกออกเป็น 5 ส่วน (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7-8/2510)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1622, ม. 1629, ม. 1639, ม. 1642, ม. 1643, ม. 1749, ม. 1754
ป.วิ.พ. ม. 172
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2510
จ. กับ ข. ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว มีบุตร 6 คน บุตรของ จ.ข. ทุกคนเว้น ธ. ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุ ได้ร่วมกันครอบครองมรดกตลอดมา ก. บุตรของ จ.ข ตายหลัง จ.ข. มรดกของจ.ข. ที่ ก. ได้รับจึงตกเป็นของโจทก์ที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาของ ก. ในฐานะผู้รับมรดกของ ก. หาใช่ในฐานะผู้รับมรดกแทนที่ ก. ไม่ แต่เมื่อพิเคราะห์ฟ้องของโจทก์แล้ว เป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์ที่ 3 ขอรับมรดกของ ก.นั่นเอง โจทก์ที่ 3 จึงมีสิทธิขอแบ่งทรัพย์มรดก
ธ. ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุอยู่ก่อน ข. เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตลอดมาเป็นเวลา 20 ปีแล้ว ไม่ได้เข้ามาร่วมครอบครองทรัพย์มรดก คงมีแต่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 (ซึ่งเป็นบุตรของ จ.ข. เจ้ามรดก) และโจทก์ที่ 3 (ซึ่งเป็นภริยาของ ก.ซึ่งเป็นบุตรของ จ.ข. และถึงแก่ความตายไปแล้ว) จำเลย และ ส. ครอบครองร่วมกันมา โจทก์ทั้ง 3 จำเลย และ ส. ย่อมมีสิทธิในทรัพย์มรดกรายนี้เท่า ๆ กัน จึงให้แบ่งทรัพย์มรดกออกเป็น 5 ส่วน (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7-8/2510)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1622, ม. 1629, ม. 1639, ม. 1642, ม. 1643, ม. 1749, ม. 1754
ป.วิ.พ. ม. 172