มาตรา 1645 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1645” คืออะไร?
“มาตรา 1645” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1645 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การที่บุคคลใดสละมรดกของบุคคลอีกคนหนึ่งนั้น ไม่ตัดสิทธิของผู้สละที่จะรับมรดกแทนที่บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นในการสืบมรดกบุคคลอื่น “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1645” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1645 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5189/2539
ส. เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับก. ส. มีภริยาคือโจทก์ที่1และมีบุตร3คนคือร. โจทก์ที่2และที่3หลังจากส. ถึงแก่ความตายแล้วร. ทำหนังสือสละมรดกของส. ต่อมาก. เสียชีวิตโจทก์ที่1เป็นเพียงภริยาของส.มิใช่ผู้สืบสันดานของส. จึงไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่ส.เพราะการรับมรดกแทนที่กันจะมีได้เฉพาะผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่บิดามารดาเท่านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1639และ1642ส่วนร. แม้จะสละมรดกของส. แล้วแต่ก็ไม่ปรากฏว่าร. สละสิทธิในการรับมรดกของก. อันเป็นการรับมรดกแทนที่ส. แต่อย่างใดร.โจทก์ที่2และที่3จึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่ส. ในการสืบมรดกของก. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1645คนละหนึ่งในสาม โจทก์ทั้งสามมีชื่อโฉนดที่ดินพิพาทโดยรับมรดกเฉพาะส่วนของส. อยู่แล้วเป็นเพียงแต่ยังไม่มีชื่อโจทก์ที่2และที่3ในส่วนที่เป็นมรดกของก. เท่านั้นแต่ก็มีชื่อจำเลยที่2ในฐานะผู้จัดการมรดกของก. เท่ากับว่าโจทก์ที่2และที่3ชนะคดีบางส่วนจำเลยทั้งห้าจึงไม่สมควรรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1642, ม. 1645
ป.วิ.พ. ม. 161
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5189/2539
การรับมรดกแทนที่กันจะมีได้เฉพาะผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่บิดามารดาเท่านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1639 และ 1642 โจทก์ที่ 1 เป็นภรรยาของ ส.มิใช่ผู้สืบสันดานของ ส.จึงไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่ส. ส.มีบุตร3คนคือพ.โจทก์ที่2และที่3พ.สละมรดกของ ส. เท่านั้น ไม่ได้สละสิทธิในการรับมรดกของก. อันเป็นการรับมรดกแทนที่ ส.ดังนี้พ. มีสิทธิรับมรดกแทนที่ ส. ในการสืบมรดกของ ก. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1645 โจทก์ที่ 2 และที่ 3จึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่ ส. ในการสืบมรดกของ ก.คนละหนึ่งในสาม
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1639, ม. 1645
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2512
ผู้ร้องกับบุตรผู้คัดค้านเป็นสามีภริยากันโดยไม่จดทะเบียนสมรส. เกิดบุตรด้วยกัน 1 คน. ซึ่งบิดาได้รับรองแล้ว. ต่อมาบุตรผู้คัดค้านและบุตรผู้ร้องถึงแก่ความตายวันเดียวกัน. โดยบุตรผู้คัดค้านตายก่อนผู้ร้องจึงร้องขอจัดการมรดกของบุตร. ซึ่งได้รับมรดกตกทอดมาจากบุตรผู้คัดค้าน. ไม่มีมรดกอื่นอีก. ผู้คัดค้านได้คัดค้านว่า. ผู้ร้องได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้คัดค้านว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของบุตรผู้คัดค้าน. โดยผู้คัดค้านได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้ผู้ร้องรับไปเสร็จสิ้นแล้ว. ดังนั้นหากฟังได้ตามคำคัดค้าน.ย่อมถือได้ว่า ผู้ร้องได้ยอมสละสิทธิที่จะไม่ยุ่งเกี่ยวหรือเรียกร้องทรัพย์สินใดๆเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของบุตรผู้คัดค้าน. อันจะเป็นมรดกแก่บุตรผู้ร้อง. และตกทอดมายังผู้ร้อง. เมื่อผู้ร้องได้สละสิทธิดังกล่าวโดยได้รับเงินตอบแทนไปแล้ว. จึงเป็นอันว่ามรดกของบุตรผู้ร้องไม่มีแล้ว. แม้ผู้ร้องจะเป็นทายาทของบุตร. ตามพฤติการณ์ก็ไม่มีเหตุที่จะให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกของบุตร.ซึ่งไม่มีจะให้จัดการอีกต่อไป. คำคัดค้านของผู้คัดค้านจึงไม่ใช่เรื่องนอกประเด็น.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1612, ม. 1645, ม. 1711, ม. 1713