Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1670 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1670 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1670” คืออะไร? 


“มาตรา 1670” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1670 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บุคคลต่อไปนี้จะเป็นพยานในการทำพินัยกรรมไม่ได้
              (๑) ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
              (๒) บุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
              (๓) บุคคลที่หูหนวก เป็นใบ้ หรือจักษุบอดทั้งสองข้าง “

อ่านคำปรึกษาจริง, บทความเพิ่มเติมเรื่อง "พินัยกรรม" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

 


2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1670” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1670 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8687 - 8688/2558
เมื่อจำเลยถึงแก่ความตาย คำสั่งศาลที่ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกไม่มีผลต่อไป แต่ความรับผิดของผู้จัดการมรดกอันเกิดจากการจัดการมรดกมิชอบมิใช่เป็นการเฉพาะตัวจึงย่อมตกทอดแก่ทายาท ที่ศาลอนุญาตให้ ท. เป็นคู่ความแทนที่จำเลยจึงชอบแล้ว
พินัยกรรมมีลายมือชื่อพยานสองคนและไม่มีกฎหมายห้ามมิให้พยานในพินัยกรรมเป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือในขณะเดียวกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าพยานในพินัยกรรมทั้งสองเป็นบุคคลต้องห้าม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1670 การที่ผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อและพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้า ช. กับ ห. เมื่อบุคคลทั้งสองลงลายมือชื่อรับรองไว้ในขณะทำพินัยกรรม ตามมาตรา 1665 พินัยกรรมจึงถูกต้องตามแบบและสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1665, ม. 1670
ป.วิ.พ. ม. 42


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5397/2539
พินัยกรรมจะมีผลต่อเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายดังนั้นในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่พินัยกรรมยังไม่มีผลบังคับผู้ทำพินัยกรรมสามารถทำนิติกรรมผูกพันทรัพย์ที่ระบุไว้ในพินัยกรรมได้อย่างเต็มที่หากผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตายก่อนทำนิติกรรมสำเร็จทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรมย่อมต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้ทำพินัยกรรมที่มีต่อทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นโดยผลแห่งกฎหมายอยู่แล้วไม่จำต้องกล่าวถึงพินัยกรรมไว้ในนิติกรรมที่ทำนั้นแต่อย่างใด กฎหมายไม่มีข้อห้ามมิให้ผู้รับมรดกรู้ข้อความในพินัยกรรมล่วงหน้าทั้งไม่มีข้อห้ามญาติใกล้ชิดเป็นพยานในพินัยกรรมฉะนั้นการที่อ. ซึ่งเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมได้ล่วงรู้ข้อความในพินัยกรรมและน. กับร. ซึ่งเป็นพยานในพินัยกรรมเป็นเพียงญาติใกล้ชิดกับผู้รับพินัยกรรมเท่านั้นมิได้มีส่วนได้เสียในพินัยกรรมจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1646, ม. 1670
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.