“มาตรา 1672 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1672” คืออะไร?
“มาตรา 1672” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1672 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กลาโหม และต่างประเทศ มีอำนาจและหน้าที่เท่าที่เกี่ยวกับกระทรวงนั้น ๆ ที่จะออกกฎกระทรวง เพื่อให้การเป็นไปตามประมวลกฎหมายบรรพนี้ รวมทั้งกำหนดอัตราค่าฤชาธรรมเนียมอันเกี่ยวกับการนั้น “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1672” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1672 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5895/2538
เมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์เกี่ยวกับที่ดินโฉนดที่2618และบ้านทรงไทยการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่ดินและบ้านทรงไทยดังกล่าวจึงเป็นการวินิจฉัยคดีนอกฟ้องอุทธรณ์เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142 การสละมรดกนั้นกระทรวงมหาดไทยได้ออกกฏกระทรวงโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา1672แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไว้เมื่อวันที่28กรกฎาคม2481ข้อ14,15และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2495มาตรา40กำหนดให้ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจแต่ตามบันทึกถ้อยคำที่โจทก์กับจำเลยทั้งสองทำไว้นั้นได้ทำไว้แก่เจ้าพนักงานที่ดินซึ่งมิใช่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612บันทึกถ้อยคำนั้นจึงมิใช่เอกสารสละมรดก
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1612, ม. 1672
ป.วิ.พ. ม. 142
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 ม. 40 ข้อ 14, 15
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2538
การสละมรดก โดยแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 นั้น ตามกฎกระทรวงมหาดไทยที่ออกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1672 ข้อ 14, 15 ประกอบ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 40 กำหนดว่า "พนักงานเจ้าหน้าที่"ดังกล่าว หมายถึงนายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขต ดังนั้น การที่โจทก์กับ ศ.ทำหนังสือสละมรดกมอบไว้แก่เจ้าพนักงานที่ดิน จึงไม่ใช่หนังสือสละมรดกตามกฎหมาย
ขณะ ล.เจ้ามรดกทำพินัยกรรทม ล.มีอาการป่วยหนักมีความคิดสับสน ไม่สามารถแสดงเจตนาทำพินัยกรรมได้ พินัยกรรมดังกล่าวจึงมิได้เกิดจากการแสดงเจตนาของ ล. และเป็นพินัยกรรมปลอม โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนในทรัพย์มรดกจึงฟ้องขอเพิกถอนการจดทะเบียนรับมรดกของจำเลยได้
คดีมีทุนทรัพย์ 2,700,000 บาท เมื่อพิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดี ประกอบกับเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนี้แล้ว ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความจำนวน 15,000 บาท จึงชอบด้วยตาราง 6ท้าย ป.วิ.พ.
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระต่อศาลในนามของโจทก์ซึ่งค่าขึ้นศาลที่โจทก์ผู้ฟ้องอย่างคนอนาถาได้รับยกเว้นนั้น เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 158 จึงเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 112 (เดิม), ม. 1608 (1), ม. 1612, ม. 1646, ม. 1654 วรรคแรก, ม. 1672
ป.วิ.พ. ม. 158, ตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 ม. 40
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2513
โจทก์กับจำเลยถูก ต. ฟ้องขอแบ่งมรดก แล้วโจทก์ทำหนังสือมอบให้จำเลยไว้ มีใจความว่า โจทก์ขอสละสิทธิรับมรดกเพราะโจทก์ไม่ต้องการไปศาลเพราะสุขภาพไม่ดีและไม่มีจิตใจเงินทองในการสู้คดีให้จำเลยออกเงินและสู้คดีไปโดยลำพัง ดังนี้ ไม่มีผลเป็นการสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 เพราะโจทก์มิได้มอบหนังสือนั้นไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ และหนังสือนั้นเป็นหนังสือที่โจทก์แสดงเจตนาเพียงฝ่ายเดียว ไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 850, ม. 1612, ม. 1672