Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1708 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1708 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1708” คืออะไร? 


“มาตรา 1708” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1708 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ เมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายแล้ว บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนพินัยกรรมซึ่งได้ทำขึ้นเพราะเหตุข่มขู่ก็ได้ แต่หากผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่ต่อมาเกินหนึ่งปีนับแต่ผู้ทำพินัยกรรมพ้นจากการข่มขู่แล้ว จะมีการร้องขอเช่นว่านั้นไม่ได้ “


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1708” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1708 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653/2535
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า โจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นบุตร ของ ส.ซึ่งมีสิทธิได้รับทรัพย์คนละส่วนตามข้อกำหนดในพินัยกรรมของส.กับพินัยกรรมมีข้อกำหนดให้ทรัพย์อีกส่วนหนึ่งตกได้แก่ผู้ทำบุญ อุทิศให้แก่ ส.เมื่อส.ถึงแก่กรรมอันเป็นเจตนาของส. จำเลยที่ 3ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมได้ยื่นเรื่องขอจดทะเบียนผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมต่อนายอำเภอ คดีนี้ เมื่อโจทก์เห็นว่าพินัยกรรมไม่ถูกต้อง เป็นโมฆะทำขึ้นโดย มีการบังคับขู่เข็ญหรือฉ้อฉลไม่เป็นไปตามเจตนาเดิมของ ส. โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในฐานะทายาทของ ส. ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมดังกล่าวได้ตามป.พ.พ. มาตรา 1708 และมาตรา 1709.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1708, ม. 1709
ป.วิ.พ. ม. 55

 


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3293/2525
โจทก์ฟ้องว่าในขณะทำพินัยกรรม ผู้ทำพินัยกรรมเจ็บป่วยจนไม่มีสติสัมปชัญญะ ไม่มีเจตนาในการทำพินัยกรรม พินัยกรรมจึงตกเป็นโมฆะ หาได้ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมที่ผู้ทำพินัยกรรมได้กระทำโดยสำคัญผิด ถูกกลฉ้อฉลหรือถูกข่มขู่ไม่ จึงนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1710 มาใช้บังคับตามที่จำเลยให้การต่อสู้ไม่ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1708, ม. 1709, ม. 1710


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2344/2521
อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1710 ใช้บังคับในกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมที่ผู้ทำพินัยกรรมได้กระทำโดยสำคัญผิดถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1708 และ 1709 มิได้ใช้บังคับแก่กรณีที่โจทก์ฟ้องว่าพินัยกรรมปลอมและเป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องว่าในขณะทำพินัยกรรม ผู้ทำพินัยกรรมเจ็บป่วยจนไม่มีสติสัมปชัญญะเป็นพินัยกรรมที่จำเลยทำปลอมขึ้น ทั้งทำไม่ถูกต้องตามแบบเอกสารฝ่ายเมือง พินัยกรรมจึงเป็นโมฆะ โจทก์มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมเพราะผู้ทำพินัยกรรมมีเจตนาบกพร่องตามมาตรา 1708 และ 1709 จึงไม่อยู่ในบังคับของอายุความตามมาตรา 1710
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1646, ม. 1658, ม. 1705, ม. 1708, ม. 1709, ม. 1710
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
ติดต่อเราทาง LINE