“มาตรา 1731 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1731” คืออะไร?
“มาตรา 1731” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1731 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าผู้จัดการมรดกมิได้จัดทำบัญชีภายในเวลาและตามแบบที่กำหนดไว้ หรือถ้าบัญชีนั้นไม่เป็นที่พอใจแก่ศาล เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือการทุจริต หรือความไม่สามารถอันเห็นประจักษ์ของผู้จัดการมรดก ศาลจะถอนผู้จัดการมรดกเสียก็ได้ “
1 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1731” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1731 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2492
น้าของเจ้ามฤดกเป็นทายาทของเจ้ามฤดกตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1629 (6) อยู่แล้ว แม้จะตายไปก่อนเจ้ามฤดก ผู้สืบสันดานของเขา ย่อมมีสิทธิรับมฤดกแทนที่ ตามมาตรา 1639 โดยตรง
การที่จำเลยไปร้องขอต่อศาลให้ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมฤดกนั้น จำเลยได้ปกปิดความจริงอันควรบอกให้ชัดแจ้งว่า ทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ยังคงมีตัวอยู่ถึง 3 คน แสดงความไม่สุจริตของจำเลยมาตั้งแต่ต้น และเมื่อได้รับตั้งเป็นผู้จัดการมฤดกแล้ว จำเลยก็ไม่ปรารถนาที่จะทำบัญชีทรัพย์มฤดกตามหน้าที่ที่กฎหมายบังคับไว้ในมาตรา 1728,1729 ซ้ำในชั้นศาล ในคดีนี้จำเลยก็ยังคงยืนยันว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทโดยธรรม ที่จะได้รับมฤดก ย่อมเป็นการสมควรทุกประการที่ศาลจะถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมฤดกเสียตามมาตรา 1731.
คดีที่ทายาทเรียกร้องเอาทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิตกทอดแก่ตนโดยขอให้ถอดถอนผู้จัดการมฤดกเสียก่อนโดยจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมฤดกเป็นผู้ที่ไม่มีสิทธิในกองมฤดกที่จะยึดถือทรัพย์สินอันเป็นมฤดกนั้นไว้อย่างไรได้ แม้จำเลยจะยังคงเป็นผู้จัดการมฤดกอยู่ จำเลยก็ต้องรับผิดต่อทายาทตามมาตรา 1720 โดยลักษณะตัวแทนตัวการ จำเลยจะยกฐานะผู้จัดการมฤดกมาต่อสู้อายุความกับทายาทตามมาตรา 1754, 1755 หาได้ไม่
คดีเกี่ยวกับการจัดการมฤดก ผู้จัดการมฤดกจะยกอายุความ ขึ้นต่อสู้ทายาทได้ก็แต่มาตรา 1733 วรรค 2 ซึ่งมีกำหนด 5 ปี นับแต่การจัดการมฤดกสุดสิ้นลง.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1629 (6), ม. 1639, ม. 1728, ม. 1729, ม. 1733, ม. 1754, ม. 1755, ม. 1731.