คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2529

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3772

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3772/2529

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 1 (1), 335

จำเลยกับผู้เสียหายเป็นคู่เขยและไม่มีสาเหตุกันจำเลยเข้าไปเอาปืนของผู้เสียหายต่อหน้าเด็กหญิงอ.บุตรของผู้เสียหายในบ้านของผู้เสียหายเพื่อเฝ้าข้าวในนาโดยมิได้เอาทรัพย์สินอย่างอื่นในบ้านของผู้เสียหายด้วยแสดงว่าจำเลยเอาอาวุธปืนไปโดยถือวิสาสะในฐานะเป็นญาติกันจำเลยไม่มีเจตนาทุจริตอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3752

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3752/2529

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55, 172 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1304

แม้ที่พิพาทจะเป็นที่สาธารณประโยชน์ของแผ่นดินซึ่งพลเมืองมีสิทธิใช้ร่วมกันแต่เมื่อโจทก์ครอบครองใช้ประโยชน์อยู่ก่อนจำเลยเข้าไปแย่งการครอบครองทำประโยชน์เช่นนี้ในระหว่างโจทก์จำเลยสิทธิของโจทก์ซึ่งมีอยู่เหนือที่พิพาทจึงดีกว่าจำเลยการที่จำเลยเข้าไปแย่งไถนาหว่านข้าวในที่พิพาทซึ่งโจทก์ครอบครองทำประโยชน์อยู่ก่อนจึงเป็นการรบกวนสิทธิของโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนสิทธิของโจทก์ได้ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่คนโดยระบุสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยจำเลยทั้งสี่บังอาจเข้าไปแย่งไถนาและหว่านข้าวในที่ดินสาธารณประโยชน์ที่โจทก์ทำมา22ปีแล้วทำให้โจทก์ขาดประโยชน์คือข้าว2เกวียนเป็นเงิน6,400บาทมิใช่ฟ้องจำเลยแต่ละคนว่าต่างคนต่างทำละเมิดต่อโจทก์และที่พิพาทที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันแย่งไถนาและหว่านข้าวมีเนื้อที่7ไร่2งานอยู่ทางทิศเหนือของที่ดินโจทก์ตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้องส่วนคำขอบังคับของโจทก์ก็มีว่าขอให้ห้ามจำเลยทั้งสี่มิให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทและใช้ค่าเสียหายปีละ6,400บาทดังนี้คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3751

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3751/2529

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420, 537, 545 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55

การที่จำเลยให้การว่าเมื่อน้าโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าเดิมถึงแก่กรรมแล้วโจทก์ได้รับโอนสิทธิการเช่าบ้านพิพาทจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และโจทก์ได้ตกลงให้จำเลยเช่าช่วงบ้านพิพาทเช่นที่เคยปฏิบัติมาเมื่อครั้งน้าโจทก์ให้จำเลยเช่าโดยเสียค่าเช่าให้โจทก์เช่นนี้เท่ากับจำเลยยอมรับว่าจำเลยอยู่ในบ้านพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าของโจทก์และแสดงว่าโจทก์ได้รับมอบการครอบครองบ้านพิพาทจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ผู้ให้เช่าแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3749

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3749/2529

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ม. 7 (1), 7 (3)

การที่จำเลยจำหน่ายชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านและมีหนังสือแจ้งไปยังนายทะเบียนคนญวนอพยพโดยอ้างว่าโจทก์ทั้งเจ็ดถูกถอนสัญชาติไทยเป็นเหตุให้นายทะเบียนคนญวนอพยพแจ้งให้โจทก์ไปทำทะเบียนประวัติคนญวนอพยพเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย บ.บิดาโจทก์เป็นคนมีสัญชาติไทยจดทะเบียนสมรสในประเทศไทยกับมารดาโจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตและเกิดบุตรคือโจทก์ในราชอาณาจักรไทยดังนี้โจทก์ย่อมได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ.2408มาตรา7(1)(3)และมิใช่กรณีที่โจทก์เกิดจากมารดาซึ่งเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงมิใช่บุคคลที่จะต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่337ลงวันที่13ธันวาคม2515ข้อ1(3).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3740/2529

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ม. 7 (3)

โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะหัวหน้าสำนักกิจการญวนจังหวัดนครพนมซึ่งโต้แย้งสิทธิของโจทก์ว่าโจทก์มิใช่คนสัญชาติไทยแต่เป็นคนสัญชาติญวนและสั่งให้โจทก์ทำบัตรประจำตัวคนญวนอพยพแม้สำนักกิจการญวนจังหวัดนครพนมจะมิใช่นิติบุคคลโจทก์ก็ฟ้องจำเลยในฐานะผู้ครองตำแหน่งดังกล่าวซึ่งโต้แย้งสิทธิของโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55 โจทก์ที่2ถึงที่7เกิดในราชอาณาจักรไทยและมีมารดาคือโจทก์ที่1ซึ่งเป็นคนมีสัญชาติไทยโจทก์ที่2ถึงที่7จึงเป็นคนมีสัญชาติไทยการที่ต.คนสัญชาติญวนเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่2ถึงที่7และโจทก์ที่2ถึงที่7แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ให้จดแจ้งชื่อโจทก์ที่2ถึงที่7ในทะเบียนบ้านญวนอพยพตามคำสั่งจำเลยมิใช่หลักฐานที่แสดงว่าโจทก์ที่2ถึงที่7มิใช่คนสัญชาติไทยการที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ที่2ถึงที่7แจ้งชื่อให้เจ้าหน้าที่จดแจ้งในทะเบียนบ้านญวนอพยพและให้ทำบัตรประจำตัวคนญวนอพยพจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบและเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ที่2ถึงที่7ซึ่งเป็นคนมีสัญชาติไทย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3721

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3721/2529

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1375 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 142 (5)

ประเด็นที่ว่าโจทก์ฟ้องคดีพ้นระยะเวลาเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375วรรคสองหรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ศาลชั้นต้นจะมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยได้ จำเลยเข้าแย่งการครอบครองที่พิพาทโดยเข้าไปทำรั้วโจทก์ไปเห็นรั้วที่จำเลยทำในวันที่29เมษายน2524ขณะนั้นจำเลยยังทำรั้วไม่เสร็จเมื่อไม่ปรากฏพฤติการณ์แย่งการครอบครองด้วยประการอื่นก่อนหน้านั้นยังถือไม่ได้ว่าจำเลยแย่งการครอบครองของโจทก์ไปได้แล้วในวันดังกล่าวโจทก์ฟ้องเอาคืนการครอบครองเมื่อวันที่23เมษายน2525ยังไม่ถึง1ปีจึงยังไม่ขาดสิทธิฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3716

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3716/2529

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 341, 343 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 2 (4), 162, 167, 185

ในคดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องโดยไม่นัดไต่สวนมูลฟ้องหรือนัดไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องโดยไม่ไต่สวนมูลฟ้องหรือไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องก็ได้ทั้งสิ้นเป็นดุลพินิจในการดำเนินกระบวนพิจารณาให้คดีเสร็จสิ้นไปโดยเร็วและชอบด้วยกฎหมาย การที่จำเลยนำบัตรเครดิต(บัตรวีซ่า)ที่โจทก์ออกให้และห้ามจำเลยใช้ไปใช้ต่อสถานที่รับบริการบัตรเครดิตโดยปกปิดความจริงที่ควรจะต้องแจ้งว่าจำเลยไม่มีสิทธิจะใช้บัตรเครดิตดังกล่าวทำให้โจทก์เสียหายต้องจ่ายเงินแก่สถานบริการนั้นจำเลยได้ทรัพย์สินไปเพราะการปกปิดข้อความจริงต่อเจ้าของสถานบริการทรัพย์สินที่จำเลยได้ไปก็มิใช่ทรัพย์สินของโจทก์การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงโจทก์ การที่โจทก์ต้องจ่ายเงินให้แก่สถานที่รับบริการการใช้บัตรเครดิตที่จำเลยซื้อสินค้าหรือใช้บริการแทนจำเลยตามสัญญาที่โจทก์มีกับสถานที่รับบริการบัตรเครดิตเป็นความเสียหายที่โจทก์ได้รับในทางแพ่งไม่ใช่ความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการที่จำเลยหลอกลวงหรือปกปิดไม่แจ้งความจริงการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยตรงต่อสถานบริการนั้นๆกรณีไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทำต่อโจทก์แม้โจทก์จะต้องจ่ายเงินให้แก่สถานบริการก็ไม่ทำให้โจทก์เป็นผู้เสียหายตามมาตรา2(4)แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3711

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3711/2529

พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522

มาตรา71,86,167 โจทก์นำรถยนต์มาจดทะเบียนประกอบการขนส่งและเสียภาษีตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ.2522รถยนต์ของโจทก์จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์คงต้องเสียภาษีรถยนต์ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ.2522ต่อไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา71วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวส่วนคำว่ารถที่จดทะเบียนใหม่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา86วรรคสองนั้นหมายถึงรถยนต์ที่นำมาจดทะเบียนใหม่กับกรมการขนส่งทางบกเป็นครั้งแรกมิได้หมายความต้องเป็นรถยนต์ใหม่ที่ยังไม่เคยจดทะเบียนมาก่อนและตามมาตรา167วรรคแรกที่บัญญัติว่ารถที่ได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วก่อนที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังไม่ถึงกำหนดเสียภาษีครั้งถัดไปให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะครบกำหนดเวลาที่ได้เสียภาษีไว้นั้นมีความหมายเพียงว่ารถยนต์ที่ได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วและยังไม่ครบกำหนดเวลาที่ได้เสียภาษีไว้ระหว่างนั้นเจ้าของรถได้นำรถไปจดทะเบียนประกอบการขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ.2522ก็ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกเท่านั้นไม่มีข้อความให้อำนาจกรมการขนส่งทางบกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังหรือที่ค้างชำระตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ได้ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3704

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3704/2529

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 583 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

จำเลยประกอบกิจการสถานบริการบังกะโลมีคำสั่งมิให้พนักงานหยุดงานในวันที่ 5,6,7 เมษายนเพราะจำเลยมีความประสงค์จัดการแสดงอาหารและบริการของจำเลย เพื่อเรียกร้องความสนใจแก่ผู้ใช้บริการหรือลูกค้า จึงสั่งให้พนักงานจัดแสดงอาหารตกแต่งสถานที่และประดับไฟ ให้สวยงามกว่าปกติ การแสดงดังกล่าวย่อมมีความสำคัญ ต่อกิจการของจำเลย การที่โจทก์ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเรื่องไฟฟ้า อันเกี่ยวข้องกับการแสดงโดยตรง หยุดงานหรือไม่มาทำงาน ในวันที่ 6,7 โดยไม่แจ้งให้จำเลยทราบย่อมมีผลกระทบกระเทือน ต่อกิจการของจำเลยโดยตรง ถือว่าโจทก์ขัดคำสั่งของจำเลย เป็นความผิดกรณีที่ร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดย ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3700

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3700/2529

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 144, 167

ข้อความในจดหมายที่จำเลยเขียนถึงบ.พนักงานสอบสวนมีลักษณะขอร้องให้บ.ช่วยเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปในชั้นสถานีตำรวจโดยไม่ต้องให้คดีถึงศาลเท่านั้นเพื่อทั้งฝ่ายผู้ต้องหาและฝ่ายเจ้าพนักงานตำรวจจะได้ไม่เสียเวลาและเป็นการประหยัดเพราะจำเลยมีความเห็นว่าไม่ว่าจะชั้นศาลหรือชั้นสถานีตำรวจก็ถูกลงโทษปรับเหมือนกันจึงไม่พอแปลความหมายได้ว่าจำเลยขอให้หรือรับว่าจะให้เงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่บ.เพื่อจูงใจไม่ให้ดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาดังกล่าวอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา144,167.

« »
ติดต่อเราทาง LINE