คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2529
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3792/2529
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 83, 341 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 797, 918 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 2 (4), 123, 158 (5), 208 (2) พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ม. 3
คำฟ้องของโจทก์บรรยายถึงสถานที่เกิดการกระทำความผิดในข้อหาฉ้อโกงโดยระบุชื่อแขวงและเขตหลายแห่งในกรุงเทพมหานครรวมกันมาและระบุด้วยว่าเกี่ยวพันกันนั้นสถานที่ที่จำเลยได้กล่าวหลอกลวงผู้เสียหายย่อมหมายถึงสถานที่ทำงานของผู้เสียหายซึ่งมีที่อยู่ตามแขวงและเขตในกรุงเทพมหานครจำเลยมิได้หลงต่อสู้แต่ประการใดฟ้องโจทก์ที่บรรยายเกี่ยวกับสถานที่เกิดเหตุมาเพียงพอที่จำเลยจะเข้าใจได้ดีจึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา158(5)แล้ว ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาฉ้อโกงโดยอาศัยเหตุว่าฟ้องเคลือบคลุมโจทก์อุทธรณ์ว่าได้บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนชอบแล้วจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อกฎหมายดังกล่าวและข้อเท็จจริงในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยและฟังข้อเท็จจริงในความผิดฐานฉ้อโกงไปเสียเองได้ จำเลยวางแผนหรือสร้างเหตุการณ์ต่างๆขึ้นเพื่อให้ผู้เสียหายหลงเชื่อโดยนำเช็คส่วนตัวของจำเลยมาแลกเงินสดจากผู้เสียหายก่อนต่อมานำเช็คที่บุคคลอื่นลงลายมือชื่อสั่งจ่ายมาขอแลกโดยหลอกลวงว่าผู้สั่งจ่ายมีฐานะดีในตอนแรกๆจำนวนเงินตามเช็คไม่สูงนักและเรียกเก็บเงินได้หมดเนื่องจากจำเลยออกเงินให้บุคคลเหล่านั้นไปเปิดบัญชีไว้ตามธนาคารต่างๆและให้เจ้าของบัญชีลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คมอบแก่จำเลยไว้จำเลยนำเช็คเหล่านี้มากรอกข้อความแล้วนำไปขอแลกเงินจากผู้เสียหายเมื่อเช็คถึงกำหนดสั่งจ่ายจำเลยก็นำเงินของตนไปเข้าบัญชีของบุคคลดังกล่าวเพื่อให้เช็คเรียกเก็บเงินได้การกระทำดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งโดยการหลอกลวงดังกล่าวผู้เสียหายหลงเชื่อและได้มอบเงินแก่จำเลยไปการกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงแล้ว เช็คที่โจทก์นำมาฟ้องมีจำนวนมากถึง38ฉบับและโจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนว่าเช็คแต่ละฉบับนั้นเป็นของธนาคารใดพร้อมกับระบุสาขาของธนาคารอันถือว่าเป็นสถานที่เกิดเหตุที่ธนาคารแห่งนั้นปฏิเสธการจ่ายเงินไว้ด้วยแล้วหาจำเป็นที่จะต้องระบุแขวงและเขตอีกไม่เพราะการที่โจทก์นำเอาชื่อแขวงและเขตที่เกิดการกระทำผิดไปรวมไว้ในตอนท้ายเพื่อบอกสถานที่เกิดเหตุย่อมเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจได้ดีแล้วและจำเลยก็ไม่ได้หลงต่อสู้คดีแต่ประการใดฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คจึงไม่เคลือบคลุม แม้จำเลยจะมิได้เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คแต่จำเลยเป็นผู้จัดการออกเงินให้เจ้าของบัญชีนำไปขอเปิดบัญชีตามธนาคารต่างๆและสั่งให้เจ้าของบัญชีลงลายมือชื่อในเช็คมอบแก่จำเลยไว้จำเลยจะกรอกรายการในเช็คแล้วนำไปแลกเงินสดจากผู้เสียหายจำเลยจึงเป็นตัวการในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497มาตรา3ประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา83ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497มาตรา3นั้นหาจำเป็นต้องกระทำโดยบุคคลคนเดียวไม่บุคคลหลายคนอาจสมคบร่วมกันกระทำผิดได้ โจทก์ร่วมฝากเช็คอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือให้ก.ไปช่วยเรียกเก็บเงินการที่ก.นำเช็คนั้นไปเข้าบัญชีเรียกเก็บเงินจึงเป็นการทำแทนโจทก์ร่วมเพราะโจทก์ร่วมมิได้มีเจตนาที่จะโอนเช็คไปยังก.แต่ประการใดโจทก์ร่วมจึงยังเป็นผู้ทรงอยู่ดังนี้เมื่อเช็คฉบับดังกล่าวถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา123บัญญัติไว้ใจความว่าคำร้องทุกข์นั้นต้องปรากฏชื่อและที่อยู่ของผู้ร้องทุกข์ลักษณะแห่งความผิดพฤติการณ์ต่างๆที่ความผิดนั้นได้กระทำลงความเสียหายที่ได้รับและชื่อหรือรูปพรรณของผู้กระทำผิดเท่าที่จะบอกได้ดังนี้เมื่อผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยที่1กับพวกได้กระทำผิดต่อโจทก์ร่วม(ผู้เสียหาย)เมื่อปรากฏต่อมาว่าพวกของจำเลยที่1มีจำเลยที่2ร่วมอยู่ด้วยก็ถือว่าได้มีการร้องทุกข์สำหรับจำเลยที่2แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3792 - 3793/2529
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 83, 341 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 797, 918 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 2 (4), 123, 158 (5), 208 (2) พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ม. 3
คำฟ้องของโจทก์บรรยายถึงสถานที่เกิดการกระทำความผิดในข้อหาฉ้อโกง โดยระบุชื่อแขวงและเขตหลายแห่งในกรุงเทพมหานครรวมกันมาและระบุด้วยว่าเกี่ยวพันกันนั้น สถานที่ที่จำเลยได้กล่าวหลอกลวงผู้เสียหายย่อมหมายถึงสถานที่ทำงานของผู้เสียหาย ซึ่งมีที่อยู่ตามแขวงและเขตในกรุงเทพมหานครจำเลยมิได้หลงต่อสู้แต่ประการใด ฟ้องโจทก์ที่บรรยายเกี่ยวกับสถานที่เกิดเหตุมาเพียงพอที่จำเลยจะเข้าใจได้ดี จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาฉ้อโกงโดยอาศัยเหตุว่าฟ้องเคลือบคลุม โจทก์อุทธรณ์ว่าได้บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนชอบแล้วจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อกฎหมายดังกล่าว และข้อเท็จจริงในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยและฟังข้อเท็จจริงในความผิดฐานฉ้อโกงไปเสียเองได้
จำเลยวางแผนหรือสร้างเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้นเพื่อให้ผู้เสียหายหลงเชื่อโดยนำเช็คส่วนตัวของจำเลยมาแลกเงินสดจากผู้เสียหายก่อน ต่อมานำเช็คที่บุคคลอื่นลงลายมือชื่อสั่งจ่ายมาขอแลกโดยหลอกลวงว่าผู้สั่งจ่ายมีฐานะดีในตอนแรก ๆ จำนวนเงินตามเช็คไม่สูงนักและเรียกเก็บเงินได้หมดเนื่องจากจำเลยออกเงินให้บุคคลเหล่านั้นไปเปิดบัญชีไว้ตามธนาคารต่าง ๆ และให้เจ้าของบัญชีลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คมอบแก่จำเลยไว้ จำเลยนำเช็คเหล่านี้มากรอกข้อความแล้วนำไปขอแลกเงินจากผู้เสียหาย เมื่อเช็คถึงกำหนดสั่งจ่ายจำเลยก็นำเงินของตนไปเข้าบัญชีของบุคคลดังกล่าวเพื่อให้เช็คเรียกเก็บเงินได้ การกระทำดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหาย โดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง โดยการหลอกลวงดังกล่าวผู้เสียหายหลงเชื่อและได้มอบเงินแก่จำเลยไป การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงแล้ว
เช็คที่โจทก์นำมาฟ้องมีจำนวนมากถึง 38 ฉบับ และโจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนว่าเช็คแต่ละฉบับนั้นเป็นของธนาคารใดพร้อมกับระบุสาขาของธนาคารอันถือว่าเป็นสถานที่เกิดเหตุที่ธนาคารแห่งนั้นปฏิเสธการจ่ายเงินไว้ด้วยแล้วหาจำเป็นที่จะต้องระบุแขวงและเขตอีกไม่ เพราะการที่โจทก์นำเอาชื่อแขวงและเขตที่เกิดการกระทำผิดไปรวมไว้ในตอนท้ายเพื่อบอกสถานที่เกิดเหตุย่อมเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจได้ดีแล้ว และจำเลยก็ไม่ได้หลงต่อสู้คดีแต่ประการใด ฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คจึงไม่เคลือบคลุม
แม้จำเลยจะมิได้เป็นผู้สั่งจ่ายเช็ค แต่จำเลยเป็นผู้จัดการออกเงินให้เจ้าของบัญชีนำไปขอเปิดบัญชีตามธนาคารต่าง ๆและสั่งให้เจ้าของบัญชีลงลายมือชื่อในเช็คมอบแก่จำเลยไว้จำเลยจะกรอกรายการในเช็คแล้วนำไปแลกเงินสดจากผู้เสียหาย จำเลยจึงเป็นตัวการในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา3 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 นั้นหาจำเป็นต้องกระทำโดยบุคคลคนเดียวไม่ บุคคลหลายคนอาจสมคบร่วมกันกระทำผิดได้
โจทก์ร่วมฝากเช็คอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือให้ ก.ไปช่วยเรียกเก็บเงินการที่ ก. นำเช็คนั้นไปเข้าบัญชีเรียกเก็บเงินจึงเป็นการทำแทนโจทก์ร่วมเพราะโจทก์ร่วมมิได้มีเจตนาที่จะโอนเช็คไปยัง ก.แต่ประการใดโจทก์ร่วมจึงยังเป็นผู้ทรงอยู่ ดังนี้เมื่อเช็คฉบับดังกล่าวถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 123 บัญญัติไว้ใจความว่า คำร้องทุกข์นั้นต้องปรากฏชื่อและที่อยู่ของผู้ร้องทุกข์ลักษณะแห่งความผิด พฤติการณ์ต่าง ๆ ที่ความผิดนั้นได้กระทำลง ความเสียหายที่ได้รับและชื่อหรือรูปพรรณของผู้กระทำผิดเท่าที่จะบอกได้ ดังนี้เมื่อผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยที่ 1 กับพวกได้กระทำผิดต่อโจทก์ร่วม (ผู้เสียหาย)เมื่อปรากฏต่อมาว่าพวกของจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 ร่วมอยู่ด้วย ก็ถือว่าได้มีการร้องทุกข์สำหรับจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3797 - 3798/2529
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 146, 148, 224, 245, 248, 249
คดีสำนวนแรกโจทก์ฟ้องขับไล่ผู้อาศัยออกจากที่พิพาทแม้ไม่ปรากฏตามคำฟ้องว่าที่พิพาทอาจให้เช่าได้เดือนละเท่าใดแต่ก็ได้ความจากคดีในสำนวนหลังซึ่งมีผู้ฟ้องโจทก์คดีนี้กับพวกให้ร่วมกันใช้ค่าขาดประโยชน์จากที่พิพาทเป็นเงินปีละ2,400บาทถือได้ว่าที่พิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละสองพันบาทเมื่อจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์หรือยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาอาศัยคดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาโจทก์ไม่มีสิทธิฎีกาต่อมาได้ข้อเท็จจริงคงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้บังคับคดีสำนวนแรกตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นคงรับวินิจฉัยเฉพาะฎีกาของจำเลยที่1ในสำนวนหลัง(โจทก์ในสำนวนแรก)ซึ่งคดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงแต่เมื่อศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยที่1ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกฟ้องโจทก์ให้มีผลถึงจำเลยที่2ซึ่งไม่ได้ฎีกาด้วยเพราะเป็นกรณีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245,247 คดีสำนวนแรกศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยที่1(ซึ่งเป็นโจทก์ในสำนวนหลัง)แต่ในคดีสำนวนหลังศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าที่พิพาทเป็นของ พ.จำเลยที่1(ซึ่งเป็นโจทก์ในสำนวนแรก)ดังนี้ในคดีสำนวนหลังศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้สิทธิแก่พ.จำเลยที่1ในการที่จะฟ้องบังคับตามสิทธิที่เกิดขึ้นจากผลของคำพิพากษาฎีกานี้ต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3788/2529
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 39 (2) พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ม. 4, 5
โจทก์จำเลยแถลงต่อศาลร่วมกันว่าคดีตกลงกันได้โดยจำเลยยอมชดใช้เงินตามจำนวนที่สั่งจ่ายเช็คแก่โจทก์แต่จำเลยต้องใช้เวลารวบรวมเงินขอให้ศาลเลื่อนการพิพากษาคดีออกไปหนึ่งนัดหากจำเลยชำระเงินให้โจทก์ครบถ้วนตามกำหนดโจทก์จะถอนฟ้องทันทีหากผิดนัดให้ศาลพิพากษาคดีไปได้ทันทีเช่นเดียวกันเช่นนี้ข้อตกลงดังกล่าวไม่มีข้อความใดแสดงว่าโจทก์ตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญากับจำเลยในทันทีแต่กลับมีเงื่อนไขให้จำเลยต้องชำระเงินเสียก่อนโจทก์จึงจะถอนฟ้องให้แสดงว่าในระหว่างนั้นโจทก์ยังติดใจที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยอยู่การที่จำเลยเตรียมเงินมาครบถ้วนในวันนัดต่อมาแต่โจทก์ไม่ยอมมาศาลก็เป็นเพียงข้อแสดงว่าจำเลยมิได้ผิดนัดเท่านั้นข้อตกลงดังกล่าวหามีผลเป็นการยอมความตามประมวลกฎหมายหวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(2)ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3775 - 3776/2529
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 49 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
โจทก์ให้การรับสารภาพต่อผู้บังคับบัญชาว่าทุจริตต่อหน้าที่เป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงอันเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามข้อบังคับของจำเลยผู้ว่าการมีอำนาจพิจารณาสั่งลงโทษไล่ออกหรือให้ออกได้โดยไม่ต้องตั้งกรรมการสอบสวนอำนาจนี้เป็นอำนาจที่สมบูรณ์ของผู้ว่าการจำเลยแม้จำเลยจะตั้งกรรมการขึ้นสอบสวนโดยไม่มีผู้แทนของสหภาพแรงงานเข้าร่วมเป็นกรรมการด้วยตามข้อตกลงระหว่างสหภาพแรงงานกับจำเลยก็ไม่มีผลลบล้างอำนาจที่สมบูรณ์สิทธิขาดนั้นเสียได้การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3748/2529
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55 ประมวลรัษฎากร ม. 18, 30, 78, 87 (2) พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ม. 112 ทวิ พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 ม. 9
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ตรวจสอบราคาสินค้าของโจทก์แล้วมีความเห็นให้เรียกอากรขาเข้ากรมศุลกากรและภาษีการค้าเพิ่มแล้วจำเลยก็ได้มีแบบแจ้งการประเมินอากรขาเข้าและภาษีการค้ารวม10ฉบับแต่ละฉบับได้แจ้งผลการประเมินตามรายการภาษีอากรที่สำแดงภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มแล้วมีรายการแยกรายละเอียดเป็นยอดเงินเพิ่มสำหรับอากรขาเข้าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลไว้กรณีเช่นนี้ย่อมถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าโดยเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา18ประกอบด้วยมาตรา87(2)แล้วหากโจทก์เห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา30เสียก่อนเมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ภายในระยะเวลาตามบทกฎหมายดังกล่าวโจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องคดีอันเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ กรณีที่ราคาอันแท้จริงของสินค้าในการซื้อขายหลายรายหรือในท้องตลาดหลายแห่งอาจไม่ตรงกันกรณีเช่นนี้ตามมาตรา9แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ.2503อธิบดีกรมศุลกากรย่อมมีอำนาจกำหนดราคาสินค้าในท้องตลาดเป็นรายเฉลี่ยและเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ให้ถือราคานั้นเป็นเกณฑ์ในการประเมินอากรส่วนคดีนี้เป็นเรื่องที่จำเลยกำหนดราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเฉพาะเครื่องสำอางโคซี่ที่โจทก์นำเข้าและสำแดงราคาคลาดเคลื่อนเท่านั้นการกระทำของจำเลยจึงไม่ขัดต่อพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ.2503มาตรา9 (หมายเหตุวรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่7/2529)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3743/2529
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 138, 140 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 80, 81 (1), 92 (2)
การที่เจ้าพนักงานค้นพบของกลางที่บริเวณบ้านจำเลยและจำเลยรับว่าเป็นของตนไม่ใช่ความผิดซึ่งเจ้าพนักงานเห็นจำเลยกำลังกระทำหรือพบในอาการซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าจำเลยกระทำผิดมาแล้วสดๆจึงไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้าที่เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับจำเลยได้โดยไม่มีหมายจับเมื่อเป็นการจับกุมโดยไม่มีอำนาจแม้จำเลยจะต่อสู้ขัดขวางการจับกุมก็ไม่มีความผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3607/2529
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 271, 290
การร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆของการบังคับคดีให้ครบถ้วนภายในกำหนด10ปีคือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีขั้นต่อไปต้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีแล้วจากนั้นเจ้าหนี้ต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ยึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำแถลงการที่ผู้ร้องเพียงแต่ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีอย่างเดียวเท่านั้นโดยมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปอีกจนพ้นกำหนดเวลา10ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาผู้ร้องจึงหมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยเพราะขาดอายุการบังคับคดีและผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอเฉลี่ยทรัพย์จากทรัพย์สินของจำเลยเพราะการขอเฉลี่ยทรัพย์เป็นการบังคับคดีอย่างหนึ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3070/2529
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
จำเลยเป็นบริษัทรับจ้างเฝ้ายามตามสถานที่ต่างๆโจทก์เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยลูกจ้างของจำเลยได้รับคำสั่งให้ไปอยู่เวรที่โรงแรมขณะอยู่เวรโจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปเพราะเหตุน้อยใจที่ถูกผู้จัดการรักษาความปลอดภัยของโรงแรมต่อว่านั้นแม้จะถือว่าเป็นการีฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้างและเป็นการบกพร่องต่อหน้าที่ก็ตามแต่พฤติการณ์ดังกล่าวก็มิใช่เป็นกรณีที่ร้ายแรงโดยนายจ้างไม่จำต้องตักเตือนเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุนี้โดยไม่ตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือก่อนกรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3774/2529
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 39 (4), 166
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับการกระทำตามฟ้องนี้เป็นคดีอาญามาครั้งหนึ่งแล้วซึ่งในคดีดังกล่าวโจทก์ไม่มาศาลในชั้นไต่สวนมูลฟ้องศาลชั้นต้นจึงพิพากษายกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา166วรรคแรกคดีถึงที่สุดเช่นนี้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสองในเรื่องเดียวกันอีกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา166วรรคสาม.