คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2529

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3437

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3437/2529

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1367 ประมวลกฎหมายที่ดิน ม. 61

การเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นคนละเรื่องกับการใช้สิทธิครอบครองที่ดินที่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ถูกเพิกถอนดังนั้นเมื่อที่ดินพิพาทอยู่ในความครอบครองของผู้ร้องและยังฟังไม่ได้ว่าเป็นที่ดินของจำเลยโจทก์ก็จะนำยึดเพื่อบังคับชำระหนี้ของจำเลยไม่ได้ต้องถอนการยึดให้ผู้ร้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3436

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3436/2529

พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 ม. 30 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55, 188

ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้สมัครรับเลือกกำนันอ้างว่าคณะกรรมการเลือกประจำหน่วยเลือกกำนันไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกกำนันพ.ศ.2524ทำให้คะแนนของผู้ร้องน้อยกว่าคะแนนของผู้คัดค้านผู้ได้รับเลือกเป็นกำนันซึ่งถ้าปฏิบัติโดยถูกต้องแล้วคะแนนของผู้ร้องจะมากกว่าผู้คัดค้านและเป็นผลให้ผู้ร้องได้รับเลือกเป็นกำนันดังนี้ผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายแพ่งแล้วเมื่อนายอำเภอซึ่งเป็นผู้อำนวยการเลือกตั้งและแต่งตั้งคณะกรรมการเลือกกำนันรายงานผลการนับคะแนนของคณะกรรมการเลือกกำนันว่าผู้ใดได้คะแนนเสียงส่วนมากไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดโดยเชื่อคะแนนที่คณะกรรมการตรวจนับนายอำเภอและคณะกรรมการเลือกตั้งจึงเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกกำนันไม่ได้ให้สิทธิผู้ร้องที่จะร้องคัดค้านการเลือกกำนันต่อศาลได้ผู้ร้องจะขอให้มีการเลือกกำนันใหม่หรือให้นับคะแนนการเลือกกำนันใหม่ก็ต้องฟ้องผู้ที่โต้แย้งสิทธิของผู้ร้องเป็นคดีมีข้อพิพาทต่อศาลผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอต่อศาลอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3395

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3395/2529

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1129, 1367, 1382 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 119

การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อของบริษัทจำกัดแม้จะกระทำโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายแต่เมื่อผู้ร้องรู้เห็นมิได้โต้แย้งปฏิเสธการโอนหุ้นนั้นจึงถือได้ว่าผู้ร้องรับหุ้นนั้นไว้โดยเจตนายึดถือเพื่อตนย่อมได้สิทธิครอบครองเมื่อครอบครองเป็นเวลาเกินกว่า5ปีหากการโอนหุ้นเป็นโมฆะผู้ร้องก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองแล้วจึงต้องรับผิดในมูลค่าหุ้นส่วนที่ยังชำระไม่ครบตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงถาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3390

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3390/2529

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 425, 575 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 8

จำเลยได้ทำความตกลงกับโจทก์ผู้เป็นนายจ้างไว้ว่าเมื่อจำเลยได้รับการบรรจุเข้าทำงานกับโจทก์แล้วหากจำเลยกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ว่าในกรณีใดจำเลยยินยอมชดใช้จนครบถ้วนต่อมาจำเลยได้กระทำละเมิดตามทางการที่จ้างของโจทก์โดยขับรถยนต์ของโจทก์ชนรถยนต์ของบุคคลภายนอกเสียหายโจทก์ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา425จึงเป็นเรื่องที่จำเลยได้กระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายตรงตามข้อตกลงดังกล่าวแล้วโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ชดใช้เงินที่โจทก์ได้ชำระให้บุคคลภายนอกไปแก่โจทก์กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา8(1)แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522ศาลแรงงานกลางมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2435

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2435/2529

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 227

ในคดีที่จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนแต่ให้การปฏิเสธในชั้นศาลแม้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานแต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าส.และหญิงผู้ตายนั่งรถจักรยานสามล้อของจำเลยชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับสารภาพว่าหลังจากส.ปลุกปล้ำร่วมประเวณีกับผู้ตายแล้วจำเลยได้ขอร่วมประเวณีกับผู้ตายแต่ผู้ตายไม่ยอมได้ดิ้นรนข่วนหน้าจำเลยผลักจำเลยตกน้ำซึ่งปรากฏจากรายงานการตรวจร่างกายที่บริเวณโหนกแก้มซ้ายขวาของจำเลยมีรอยถลอกเป็นขีดยาวๆประมาณ1ซม.-3ซม.10กว่าแผลและได้กางเกงเสื้อของจำเลยเปียกน้ำเปื้อนโคลนหมกอยู่ในบ้านจำเลยเป็นพยานแวดล้อมกรณีหรือพยานพฤติเหตุประกอบคำรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลยศาลฟังได้ว่าจำเลยฆ่าผู้ตาย.(ที่มา-เนติฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2404

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2404/2529

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 609, 618 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 57 (2) พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ.2477 ม. 8, 22, 28, 29, 30, 48 พระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 ม. 4 ไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2520 ม. , , , ,

โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายระหว่างพิจารณาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าแทนที่โจทก์ดังนี้เป็นการอนุญาตให้ผู้ร้องสอดมีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นเดียวกับโจทก์เดิมส่วนโจทก์มีสิทธิและหน้าที่อยู่อย่างไรก็คงมีอยู่เช่นนั้นและต้องผูกพันโดยคำพิพากษาของศาลทุกประการโจทก์จึงมีสิทธิฎีกาได้ จำเลยที่1เป็นนิติบุคคลดำเนินกิจการไปรษณีย์มีหน้าที่ตามกฎหมายในการรับขนส่งไปรษณียภัณฑ์ของผู้ฝากส่งไปทั้งในและนอกราชอาณาจักรจำเลยที่1จึงมิใช่ผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. การฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นการฝากส่งไปรษณียภัณฑ์รับประกันเมื่อไปรษณียภัณฑ์สูญหายจำเลยที่1ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์พุทธศักราช2477มาตรา29ไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520ข้อ141. จำเลยที่2มิได้รับขนส่งให้โจทก์และมิใช่การขนส่งหลายทอดแต่จำเลยที่2มีหน้าที่ต้องขนส่งให้จำเลยที่1ตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์พุทธศักราช2477มาตรา48ตามที่จำเลยที่1กำหนดให้ส่งทั้งไม่ได้รับแจ้งถึงสภาพและราคาของไปรษณียภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ในถุงไปรษณีย์ที่จำเลยที่1ส่งมอบให้และไม่ปรากฏว่าสินค้าของโจทก์สูญหายไปจากที่แห่งใดถุงไปรษณียภัณฑ์ที่จำเลยที่2รับไปจำเลยที่2ได้ขนส่งไปถึงปลายทางในสภาพเรียบร้อยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่2ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อในการขนจนเป็นเหตุให้ของหายจำเลยที่2ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3432

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3432/2529

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 40, 86, 88

ชั้นสืบพยานจำเลยจำเลยขอเลื่อนคดีหลายครั้งจนในนัดสุดท้ายจำเลยแถลงรับรองต่อศาลว่าในนัดต่อไปจำเลยมีพยานมาศาลเท่าใดก็จะสืบเพียงนั้นแต่พอถึงวันนัดจำเลยยังคงไม่มีพยานมาสืบพร้อมกันนี้ทนายจำเลยก็ขอถอนตัวและจำเลยได้ตั้งทนายความใหม่ในโอกาสเดียวกันนี้ทนายจำเลยคนใหม่ก็ได้ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมและขอเลื่อนคดีซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตทั้งสองกรณีเห็นว่าการขอระบุพยานเพิ่มเติมนั้นเป็นเวลาภายหลังที่โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อนนำสืบพยานเสร็จแล้วเหตุผลในคำร้องของจำเลยไม่เข้าเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคท้ายที่ศาลจะอนุญาตตามคำขอได้เพราะจำเลยย่อมทราบดีแล้วในขณะสืบพยานโจทก์ว่าพยานที่จำเลยขอระบุเพิ่มเติมเป็นผู้รับสำนวนการสอบสวนจากพยานโจทก์ดำเนินการต่อมาจำเลยชอบที่จะขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้เสียแต่ตอนนั้นเมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องแต่เพิ่งมายื่นบัญชีขอระบุพยานเพิ่มเติมเอาในนัดสุดท้ายซึ่งจำเลยได้แถลงรับรองต่อศาลแล้วว่าจะไม่ขอเลื่อนคดีอีกจึงเป็นพฤติการณ์ที่ส่อให้เห็นเจตนาที่จะประวิงคดีโดยตรง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3431/2529

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 867, 887 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 88

จำเลยยื่นคำขอระบุพยานเพิ่มเติมภายหลังสืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนเสร็จเพื่อแสดงว่าเอกสารท้ายฟ้องที่แสดงรายละเอียดของรายการซ่อมรถยนต์ของโจทก์ตลอดถึงราคาว่าซ่อมอะไรราคาเท่าไรนั้นเป็นเอกสารปลอมเมื่อจำเลยได้นำสืบบุคคลอื่นเป็นพยานแล้วว่าราคาตามรายการต่างๆสูงเกินไปและค่าเสียหายในการซ่อมรถยนต์ของโจทก์นี้แม้จำเลยไม่ได้นำสืบหักล้างศาลก็ต้องวินิจฉัยชี้ขาดและกำหนดให้ตามสมควรอยู่แล้วการที่จะนำสืบว่าลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวเป็นลายมือปลอมจึงไม่เป็นการอ้างพยานหลักฐานเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมและไม่จำเป็นต้องสืบพยานที่ขออ้างเพิ่มเติมนั้นศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมชอบด้วยกฎหมายแล้ว ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีเงื่อนไขยกเว้นไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ขับรถยนต์ตามกฎหมายหรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมายการมีเงื่อนไขดังกล่าวก็เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มีความสามารถทำการขับรถยนต์ที่เอาประกันภัยเพราะจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายอันจะทำให้จำเลยที่1จะต้องเสี่ยงภัยมากขึ้นม.ลูกจ้างของจำเลยที่2ที่3ได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของกรมตำรวจย่อมมีความรู้ความสามารถในการขับรถยนต์ได้ม.จึงเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ขับรถยนต์ตามกฎหมายม.ขับรถยนต์บรรทุกที่จำเลยที่1รับประกันไว้จากจำเลยที่2ที่3โดยประมาทเป็นเหตุให้ชนกับรถยนต์ของโจทก์ที่1จึงไม่เป็นการผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ดังกล่าวจำเลยที่1ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ทั้งสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3429

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3428 - 3429/2529

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 133, 138, 865

ข้อความจริงตามคำขอเอาประกันชีวิตที่เกี่ยวกับรายได้และความสามารถในการหารายได้ของผู้เอาประกันตลอดจนข้อที่ผู้เอาประกันเคยถูกบริษัทประกันชีวิตอื่นปฏิเสธหรือลดจำนวนเงินขอเอาประกันถือว่าเป็นข้อความจริงอันเป็นสาระสำคัญที่ผู้เอาประกันจะต้องเปิดเผยให้บริษัททราบเพราะอาจจะจูงใจให้บริษัทเรียกเก็บเบี้ยประกันสูงขึ้นหรือบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาได้เมื่อผู้เอาประกันไม่เปิดเผยข้อความจริงดังกล่าวในเวลาทำสัญญาสัญญานั้นย่อมตกเป็นโมฆียะตามป.พ.พ.มาตรา865และเมื่อบริษัทได้บอกล้างภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้วสัญญาย่อมตกเป็นโมฆะบริษัทไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3427

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3427/2529

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 366, 406, 537 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 86, 183, 243, 247

โจทก์ตกลงเช่าห้องอาหารของจำเลยเป็นเวลา1ปีแบ่งชำระค่าเช่าเป็น4งวดโจทก์ได้ชำระค่าเช่างวดแรกให้จำเลยครบถ้วนแล้วคู่กรณีโต้เถียงกันว่าเหตุที่ไม่อาจทำสัญญาเป็นหนังสือกันได้เพราะอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติผิดข้อตกลงดังนี้ฟังได้ว่าโจทก์จำเลยได้มีนิติสัมพันธ์กันแล้วตามข้อตกลงในเรื่องการเช่าแต่เหตุที่ยังไม่อาจทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรได้เพราะยังคงโต้เถียงกันจึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยต่อไปหาใช่กรณีเป็นที่สงสัยอันจะเข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายที่ให้ถือว่าโจทก์จำเลยยังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา366วรรคสองไม่ทั้งเงินที่จำเลยรับไว้จากโจทก์ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นลาภมิควรได้เพราะจำเลยรับไว้เป็นค่าเช่างวดแรกตามข้อตกลงจึงไม่ใช่รับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้การที่ศาลล่างด่วนตัดพยานทั้งที่คู่กรณียังมีข้อเท็จจริงที่โต้เถียงกันอยู่เช่นนี้เป็นการไม่ชอบ.

« »
ติดต่อเราทาง LINE