คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2540
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2490/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420, 438
จำเลยเข้าทำประโยชน์บนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่หลวงโดยสุจริตและโดยผู้บังคับบัญชาซึ่งครอบครองดูแลที่ดินพิพาทเป็นผู้อนุญาต มิได้จงใจบุกรุกที่ดินพิพาทของโจทก์ การเข้าทำประโยชน์บนที่ดินพิพาทจึงไม่เป็นละเมิด
จำเลยนำที่ดินพิพาทของโจทก์ไปให้บุคคลอื่นเช่าโดยละเมิดเป็นการแสวงหาประโยชน์จากการให้เช่าที่ดินพิพาท ดังนั้นค่าเช่าที่ดินจึงเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการกระทำละเมิด ส่วนค่าธรรมเนียมการจัดให้เช่ามิใช่ค่าเสียหายโดยตรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 2489/2540
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ม. 18, 21
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวรคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา18ประกอบมาตรา21วรรคสุดท้ายเจ้าของหรือผู้ครอบครองจะได้รับค่าตอบแทนเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนก็เฉพาะกรณีที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขายหรือประกอบการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนนั้นเท่านั้นโจทก์ได้ให้น.เช่าอาคารที่ต้องเวนคืนประกอบธุรกิจการค้าเปิดเป็นร้านขายอาหารและใช้เป็นที่อยู่อาศัยมาเป็นเวลานานหลายปีแล้วซึ่งแสดงว่าโจทก์หรือผู้ที่เป็นเจ้าของอาคารมิได้อยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขายหรือประกอบการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในอาคารที่ต้องเวนคืนนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนค่าความเสียหายอันเนื่องจากการขาดผลประโยชน์ที่ได้จากการให้เช่าอาคารที่ต้องเวนคืนนั้นเพราะสิทธิที่จะได้รับเงินค่าทดแทนจากการไม่ได้ใช้ประโยชน์อาคารทั้งสี่หลังดังกล่าวได้แก่น.ผู้เช่าแต่ฝ่ายเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2467/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 47 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 22 (1)
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา22วรรคหนึ่งคำว่าจำเลยถูกจับในท้องที่หนึ่งหมายถึงเจ้าพนักงานจับจำเลยตามข้อหาที่ถูกกล่าวหาในคดีที่จะนำมาฟ้องเท่านั้นแต่ตามบันทึกการจับกุมจำเลยกับคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีของโจทก์ปรากฎว่าจำเลยถูกจับในความผิดฐานพยายามฆ่าและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่และความผิดฐานอื่นๆนอกเขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรีซึ่งมิใช่ความผิดตามที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้แต่เจ้าพนักงานตำรวจได้อายัดตัวจำเลยมาสอบสวนในคดีนี้และโจทก์ขอยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรีดังนี้กรณีถือไม่ได้ว่าคดีนี้จำเลยถูกจับในท้องที่ซึ่งอยู่เขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา47ภูมิลำเนาของผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลหรือตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายได้แก่เรือนจำหรือทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัวบทบัญญัติดังกล่าวได้แยกผู้ที่ถูกจำคุกออกเป็น2กรณีต่างหากจากกันกล่าวคือถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลเป็นกรณีหนึ่งและถูกจำคุกตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นอีกกรณีหนึ่งหาใช่เป็นกรณีเดียวกันไม่เมื่อปรากฎว่าในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรีซึ่งเป็นศาลชั้นต้นจำเลยถูกจำคุกตามคำพิพากษาซึ่งยังไม่ถึงที่สุดอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรีดังนี้จะถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา47ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2540
ประมวลรัษฎากร ม. 77/1 ( (8), 81 (1) (ข)
ประมวลรัษฎากรมาตรา77/1(ข)(ฉ)"ขาย"หมายความว่าจำหน่ายจ่ายโอนสินค้าไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่และให้หมายความรวมถึงมีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการณวันเลิกประกอบกิจการด้วยโจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เลิกประกอบกิจการมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าคงเหลือหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการณวันเลิกประกอบกิจการตามมาตราดังกล่าวเพราะถือว่าเป็นการขายแล้วซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อเลิกประกอบกิจการหรือแจ้งเลิกประกอบกิจการแม้กิจการของโจทก์จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรมาตรา81(1)(ข)แต่ทรัพย์สินที่โจทก์มีไว้ในการประกอบกิจการเป็นทรัพย์สินที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มโจทก์จึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร(ฉบับที่244)มาตรา3(5)ได้กำหนดให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการแต่ไม่รวมถึงที่ดินที่ผู้นั้นใช้ในการเกษตรกรรมเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรการขายที่ดินที่โจทก์มีไว้ในการประกอบการเกษตรกรรมซึ่งเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา3(5)แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวจึงย่อมได้รับยกเว้นไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแต่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวยกเว้นให้เฉพาะที่ดินเท่านั้นไม่รวมถึงอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างเมื่อโจทก์ขายที่ดินรวมทั้งอาคารบนที่ดินนั้นโจทก์จึงต้องนำรายรับของราคาอาคารมาเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2540
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 145 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 9 วรรคสอง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา9วรรคสองที่บัญญัติว่าในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลแรงงานหรือศาลอื่นให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัยคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางให้เป็นที่สุดมีความหมายว่าหากกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจศาลแรงงานหรือไม่นั้นให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัยเมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าอย่างไรคำวินิจฉัยย่อมเป็นที่สุดและย่อมผูกพันคู่ความเฉพาะในคดีที่ได้มีการวินิจฉัยเท่านั้นหาผูกพันคู่ความที่พิพาทกันในคดีอื่นไม่แม้คู่ความในคดีนี้กับคดีหมายเลขแดงที่321/2538ของศาลแรงงานกลางเป็นคู่ความเดียวกันและมูลคดีเป็นอย่างเดียวกันก็ตามแต่ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายฟ้องในลักษณะเป็นการจ้างแรงงานซึ่งถ้าฟังได้ว่าเป็นการจ้างแรงงานดังที่โจทก์อ้างคดีก็ย่อมอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางในคดีก่อนไม่มีผลที่จะถือได้ว่าคดีนี้ไม่อยู่อำนาจของศาลแรงงานและศาลแรงงานก็ไม่มีอำนาจสั่งว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2540
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 357
จำเลยที่2เพียงรับจำนำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไว้มิใช่ซื้อรถจักรยานยนต์จากป. ซึ่งจะต้องชำระเงินเต็มตามราคาทรัพย์สินที่ซื้อไว้แต่การรับจำนำเป็นเพียงการที่ผู้จำนำส่งมอบสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้รวมทั้งดอกเบี้ยโดยปกติทั่วไปราคาทรัพย์ที่จำนำขึ้นอยู่กับผู้จำนำและผู้รับจำนำจะตกลงกันผู้จำนำอาจขอจำนำเพียง10ถึง20เปอร์เซ็นต์ของราคาทรัพย์ที่จำนำก็ได้เพื่อไม่ต้องเสียดอกเบี้ยตามที่ตกลงกันมากเกินไปแต่บางรายผู้จำนำอาจขอจำนำทรัพย์ในราคาที่สูงผู้รับจำนำอาจกำหนดราคาทรัพย์ที่จำนำให้ไม่สูงมากนักเพราะอาจเสี่ยงต่อการขาดทุนถ้าผู้จำนำไม่มาไถ่ถอนทรัพย์ที่จำนำภายในระยะเวลาที่กำหนดและผู้รับจำนำต้องนำทรัพย์ที่จำนำออกขายแล้วได้เงินไม่คุ้มกับเงินที่รับจำนำพร้อมดอกเบี้ยก็ได้ดังนั้นการที่จำเลยที่2รับจำนำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายในราคา2,300บาทจึงมิใช่ข้อพิรุธที่จะแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่2รู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์รูปคดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดฐานรับของโจร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 193/30, 448, 1336
โจทก์ฟ้องให้จำเลยคืนเงินค่าภาษีการค้าที่โจทก์มอบให้ไปชำระแก่กรมสรรพากรแทนแต่จำเลยไม่นำไปชำระเป็นการฟ้องเพื่อใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิยึดถือทรัพย์ของโจทก์ไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์ใช้สิทธิเช่นนี้เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิส่วนเงินค่าจ้างที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนนั้นเป็นการฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยที่รับเงินไปจากโจทก์แล้วผิดสัญญาไม่กระทำการที่จ้างมิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงใช้อายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2448/2540
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 296 วรรคสอง
การบังคับคดีจะเสร็จลงแล้วนั้นต้องเป็นเรื่องที่ไม่มีการกระทำอย่างไรต่อไปอีกในการบังคับคดีคดีนี้โจทก์ยังไม่ได้รับเงินจากการขายทอดตลาดจึงยังมีเรื่องที่ต้องดำเนินการต่อไปตามระเบียบและข้อบังคับการบังคับคดีอีกขั้นตอนหนึ่งซึ่งยังไม่เสร็จดังนั้นแม้ศาลชั้นต้นจะมีหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยแก่ผู้ซื้อทรัพย์ก็ตามกรณียังถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2438/2540
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 95
ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญในคดีแพ่ง เป็นเพียงพยานความเห็นมิใช่ประจักษ์พยาน การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยพยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยแล้วรับฟังว่า หนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.5ไม่ใช่เอกสารปลอมโดยวินิจฉัยไว้ด้วยว่า ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่ว่าลายมือชื่อผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.5 เปรียบเทียบกับลายมือชื่อของโจทก์แล้วไม่ใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันนั้น เป็นเพียงหลักฐานที่จะรับฟังประกอบดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานเท่านั้น มิใช่ว่าผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นอย่างไร ศาลต้องรับฟังตามนั้นเสนอไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2540
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 224 วรรคหนึ่ง, 248 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีอาณาเขตติดต่อกับที่ดินของจำเลยต่อมาจำเลยได้รื้อรั้วไม้ขัดแตะซึ่งกั้นแนวเขตออกแล้วนำสังกะสีมาล้อมเป็นรั้วรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ3ตารางวาขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ให้จำเลยรื้อรั้วสังกะสีออกไปจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยซ่อมแซมรั้วไม้ขัดแตะโดยเปลี่ยนรั้วสังกะสีในแนวเดิมมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์และฟ้องแย้งว่าโจทก์ปลูกสร้างบ้านใหม่โดยชายคาบ้านรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของจำเลยประมาณ2ตารางวาขอให้บังคับโจทก์รื้อถอนชายคาบ้านในส่วนที่รุกล้ำที่ดินของจำเลยออกไปซึ่งโจทก์ทั้งสามได้ให้การแก้ฟ้องแย้งว่าโจทก์ทั้งสามปลูกสร้างบ้านในเขตที่ดินของโจทก์มิได้รุกล้ำที่ดินของจำเลยจำเลยสร้างรั้วสังกะสีรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ทำให้ชายคาบ้านโจทก์ทั้งสามล้ำแนวรั้วสังกะสีที่จำเลยทำขึ้นใหม่จึงเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยต่างอ้างว่าตนเองเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทอันเป็นกรณีพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ในที่ดินจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์แม้โจทก์จะมีคำขอให้บังคับจำเลยรื้อรั้วสังกะสีออกไปจากที่พิพาทและจำเลยจะมีคำขอให้โจทก์รื้อถอนชายคาบ้านในส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่พิพาทมาด้วยก็ตามแต่คำขอให้รื้อถอนดังกล่าวจะบังคับให้ได้หรือไม่เพียงใดนั้นเป็นเพียงผลต่อเนื่องมาจากข้อวินิจฉัยในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทอันเป็นประเด็นสำคัญในคดีคดีนี้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์อย่างเดียวหาใช่เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยไม่ ที่พิพาทมีเนื้อที่ครึ่งตารางวาซึ่งโจทก์ตีราคาที่พิพาทตารางวาละ70,000บาทและจำเลยตีราคาที่พิพาทตารางวาละ375บาทดังนี้ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เกิน50,000บาทและทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000บาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งและมาตรา248วรรคหนึ่งที่จำเลยอุทธรณ์ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้โดยพิพากษาคดีมาก็ดีและที่โจทก์ฎีกาต่อมาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์และศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ทั้งสามมาก็ดีเป็นการไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว