คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2540

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2540

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 32, 91 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 192, 212 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ม. 7, 8 ทวิ, 72, 72 ทวิ

จำเลยมีเจตนาที่จะมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองมีความผิดมาตั้งแต่เริ่มครอบครองเป็นกรรมหนึ่งและมีเจตนาที่จะพกอาวุธปืนดังกล่าวติดตัวไปในทางสาธารณะโดยผิดกฎหมายก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งจึงเป็นความผิดสองกรรม อาวุธปืนซึ่งไม่มีเครื่องหมายของเจ้าพนักงานประทับและเครื่องกระสุนปืนของกลางเป็นทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิดต้องริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา32แม้โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาเรื่องของกลางก็ตามแต่เมื่อโจทก์มีคำขอให้ริบของกลางมาแล้วทั้งมิใช่กรณีเพิ่มเติมโทษจำเลยก็ชอบที่จะวินิจฉัยในเรื่องของกลางด้วยศาลฎีกาจึงพิพากษาให้ริบของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3085

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3085/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1719 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 46 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 197, 225 วรรคหนึ่ง

ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่คู่ความจะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งนอกจากจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์และต้องเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยแล้วต้องเป็นข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นด้วยและกรณีที่จะถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นนั้นต้องได้ความว่าคู่ความได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นขึ้นกล่าวอ้างเป็นประเด็นแห่งคดีมาในคำฟ้องหรือคำให้การและศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายตรงตามประเด็นดังกล่าวนั้นด้วย กรณีจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การโจทก์ทั้งสองก็มิได้บรรยายข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายต่างๆดังที่จำเลยกล่าวอ้างมาในอุทธรณ์ไว้ในคำฟ้องดังนี้แม้ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายตามที่จำเลยอุทธรณ์มาโจทก์ทั้งสองและจำเลยจะได้แถลงรับกันตามที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาก็ตามก็ถือมิได้ว่าข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นเป็นประเด็นในคดีทั้งศาลชั้นต้นก็มิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายดังกล่าวนั้นด้วยข้ออุทธรณ์ของจำเลยจึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยชอบแล้ว คำฟ้องโจทก์บรรยายว่าเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาลชั้นต้นจำเลยเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยเพิกเฉยเช่นนี้เห็นได้ว่าโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเพื่อจัดการมรดกของผู้ตายเมื่อจำเลยเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินพิพาทโจทก์ทั้งสองทวงถามให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแต่จำเลยเพิกเฉยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสองในการจัดการทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาทโจทก์มีอำนาจฟ้องแม้จำเลยอ้างว่ายังมีข้อโต้แย้งว่าผู้ใดจะเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายบ้างก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์มรดกเสียไป โจทก์ฟ้องให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทอ้างว่าเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทเมื่อโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกก็ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเพื่อจัดการมรดกการรวบรวมทรัพย์มรดกก็ดีการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทก็ดีล้วนแต่เป็นการจัดการมรดกทั้งสิ้นแม้โจทก์ฟ้องให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแก่โจทก์เพื่อนำไปรวบรวมดำเนินการแก่ทายาทก็มีความหมายให้โจทก์รวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาทนั่นเองการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทก็เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องดังนี้ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษานอกคำฟ้องแต่อย่างใด คดีนี้กับคดีอาญาหมายเลขดำที่6258/2538ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นฐานยักยอกแม้คดีนี้กับคดีอาญาดังกล่าวโจทก์กับจำเลยต่างเป็นคู่ความเดียวกันแต่คดีนี้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องบังคับให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแก่โจทก์เพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาทส่วนคดีอาญาดังกล่าวโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นฐานยักยอกโฉนดที่ดินพิพาทประเด็นในคดีแพ่งและคดีอาญามิได้เป็นประเด็นอย่างเดียวกันไม่ว่าข้อเท็จจริงในคดีอาญาจะฟังว่าจำเลยจะมีความผิดตามฟ้องหรือไม่ก็ตามแต่ในคดีแพ่งจำเลยเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินพิพาทก็ต้องส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกดังนั้นคดีนี้กับคดีอาญาดังกล่าวจึงมิใช่เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาการพิพากษาคดีนี้ไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2540

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 46

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46ที่บัญญัติว่าในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจะต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาส่วนอาญานั้นหมายถึงข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงซึ่งเป็นประเด็นสำคัญและศาลต้องฟังยุติมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วไม่ใช่ประเด็นปลีกย่อยสำหรับคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่2ได้บุกรุกเข้าไปปลูกสร้างเรือนในที่ดินพิพาทสำหรับคดีแพ่งคดีนี้ศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามได้เพียงว่าจำเลยที่2ได้บุกรุกที่ดินพิพาทจริงส่วนปัญหาที่ว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยที่2บุกรุกเนื้อที่เท่าไรเป็นไปตามคำพิพากษาคดีอาญาหรือตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องคดีนี้เป็นเพียงข้อปลีกย่อยในรายละเอียดที่จะต้องนำสืบกันอีกในชั้นพิจารณาซึ่งโจทก์โจทก์ร่วมและจำเลยที่2จะต้องสืบพยานในประเด็นนี้กันต่อไปอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3071

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3071/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 321 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 271, 292 (3), 295

หลังจากโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยแล้วต่อมาศ. ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินที่ถูกยึดกับฝ่ายจำเลยโดยศ. ได้ขอสินเชื่อเพื่อซื้อที่ดินจากธนาคารน. และได้รับอนุมัติสินเชื่อแล้วธนาคารน.จึงได้ออกแคชเชียร์เช็คจำนวน6,200,945.44บาทเพื่อให้ศ. ใช้ชำระค่าซื้อที่ดินต่อมาได้มีการมอบแคชเชียร์เช็คดังกล่าวแก่โจทก์และโจทก์ได้ขอถอนการยึดทรัพย์ที่ดินของฝ่ายจำเลยเพื่อจะได้จดทะเบียนโอนขายแก่ศ. และจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ต่อธนาคารน. ต่อไปและเจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตแล้วก็ตามแต่การที่โจทก์ศ. และธนาคารน.ตกลงให้โจทก์ถือแคชเชียร์เช็คดังกล่าวไว้เป็นประกันในการที่ยอมถอนการยึดทรัพย์ที่ดินให้เท่านั้นหากต่อมาตกลงซื้อขายกันไม่ได้โจทก์ย่อมคืนแคชเชียร์เช็คให้แก่ธนาคารน. ได้การที่ศ. จะชำระค่าที่ดินโดยแคชเชียร์เช็คดังกล่าวก็เพื่อให้จำเลยที่2จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ศ. ในคราวเดียวภายในวันเดียวกันเพียงแต่ต้องมอบแคชเชียร์เช็คให้โจทก์ก่อนเพื่อให้ขั้นตอนการถอนการยึดทรัพย์ซึ่งต้องกระทำก่อนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กระทำได้สำเร็จโดยศ. มีเจตนาจะชำระเงินค่าที่ดินตามแคชเชียร์เช็คนั้นให้แก่จำเลยที่2เป็นค่าซื้อที่ดินโดยเงื่อนไขว่าต้องมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ศ.ได้ในวันเดียวกันนั้นเมื่อจำเลยที่2ยังไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ศ. ได้จำเลยที่2จึงยังไม่มีสิทธิได้รับเงินตามแคชเชียร์เช็คนั้นเป็นการชำระค่าที่ดินและการมอบแคชเชียร์เช็คให้โจทก์ยึดถือไว้เช่นนี้ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์แล้วโจทก์ย่อมจะคืนแคชเชียร์เช็คแก่ธนาคารน. ตามข้อตกลงได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยและโจทก์มีสิทธิบังคับคดีจำเลยต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3050

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3050/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 324, 420, 421 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 284

ตามคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ที่ต้องชำระด้วยเงินแก่จำเลยจนกว่าจะชำระเสร็จนั้นมิได้พิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยโดยนำเงินจำนวนดังกล่าวมาวางศาลทั้งตามคำบังคับของศาลออกให้ตามคำขอของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็มิได้ระบุสถานที่ใช้เงินไว้ด้วยกรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา324ที่บัญญัติให้ต้องชำระณสถานที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาปัจจุบันของเจ้าหนี้เมื่อหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวเป็นหนี้ที่ต้องชำระด้วยเงินโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้จึงต้องนำเงินไปชำระแก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ณภูมิลำเนาของจำเลยการที่โจทก์ชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่จำเลยโดยนำเงินมาวางศาลจึงถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยได้รับชำระหนี้จากโจทก์โดยถูกต้องตามกฎหมายแล้วและโจทก์ก็มิได้แจ้งการชำระหนี้โดยการนำเงินมาวางศาลให้จำเลยทราบทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทราบถึงการที่โจทก์ได้นำเงินมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่จำเลยการที่จำเลยขอบังคับคดีโดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดหุ้นของโจทก์ตามหมายบังคับคดีของศาลจึงเป็นการใช้สิทธิทางศาลตามที่จำเลยมีอยู่เพื่อขอบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำโดยไม่สุจริตจงใจหรือประมาทเลินเล่อเพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหายแต่ประการใดแล้วการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการผิดกฎหมายและไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3067

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3067/2540

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 142, 172, 240

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยในข้อใด หากจำเลยไม่เห็นด้วยก็ต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งรับอุทธรณ์ในข้อที่ไม่รับนั้นได้ เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์ ต้องถือว่าคำสั่งศาลชั้นต้นถึงที่สุดศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ของจำเลยตามประเด็นข้อที่ศาลชั้นต้นสั่งรับไว้เท่านั้น

โจทก์บรรยายฟ้อง โจทก์เข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับจำเลยตามคำพรรณนาโจทก์หลงเชื่อทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและผ่อนชำระเงินมัดจำแก่จำเลย รวมเป็นเงิน630,000 บาท เวลาล่วงเลยมานานประมาณ 5 ปี จำเลยยังไม่จัดทำโครงการตามที่ได้พรรณนาไว้ อันเป็นการผิดสัญญา โจทก์จึงได้บอกเลิกสัญญา ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ ฟ้องโจทก์ดังกล่าวไม่ขัดกันจึงไม่เคลือบคลุม ทั้งไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าโจทก์ถูกหลอกลวงถึงขนาดหรือไม่เพียงใดเพราะโจทก์มิได้ฟ้องขอให้สัญญาจะซื้อจะขายเป็นโมฆะอันเนื่องมาจากการบอกล้างสัญญาที่เกิดจากกลฉ้อฉล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3055

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3055/2540

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 208

คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยที่1กล่าวแต่เพียงว่าพยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่พอฟังตามที่ศาลพิพากษาหากมีการพิจารณาใหม่แล้วจำเลยที่1จะมีโอกาสแสดงพยานหลักฐานว่าจำเลยที่1ไม่ต้องรับผิดตามฟ้องและชนะคดีได้โดยมิได้กล่าวว่าพยานหลักฐานใดของโจทก์ที่ไม่พอฟังให้จำเลยที่1ต้องรับผิดตามฟ้องและมิได้กล่าวถึงพยานหลักฐานของจำเลยที่1ว่ามีอย่างใดบ้างที่จะทำให้จำเลยที่1ชนะคดีได้อีกทั้งไม่กล่าวถึงคำตัดสินชี้ขาดของศาลว่าไม่ชอบประการใดคำขอพิจารณาใหม่ของจำเลยที่1เป็นคำขอที่มิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลจึงไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา208วรรคสองศาลไม่อาจมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 306

คู่สัญญาเช่าโทรศัพท์หมายเลขพิพาทคือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและจำเลยแต่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยมีข้อตกลงกับโจทก์ว่าด้วยการแบ่งรายได้ค่าพูดโทรศัพท์ระหว่างประเทศว่าไม่ว่าจะเป็นการใช้โทรศัพท์เรียกเข้าหรือเรียกออกโจทก์จะจ่ายผลประโยชน์ให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยนาทีละ4บาทและกำหนดด้วยว่าการเรียกเก็บเงินองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจะเป็นผู้เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการและกล่าวถึงว่าองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและโจทก์ตกลงที่จะแบ่งค่าใช้จ่ายในการลงทุนฝ่ายละครึ่งตามข้อตกลงดังกล่าวเห็นได้ว่าเป็นความตกลงระหว่างโจทก์กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเท่านั้นถือได้ว่าโจทก์และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นหุ้นส่วนกันในการหาประโยชน์และผลกำไรร่วมกันนอกจากนี้ระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทยของโจทก์ฉบับที่224ว่าด้วยบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศพ.ศ.2535หมวด6ว่าด้วยการระงับบริการและการยกเลิกการระงับบริการข้อ32มีข้อความว่าผู้เช่าโทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยที่ประสงค์จะดำเนินการตามข้อ31.1ให้ยื่นคำขอระงับ/ยกเลิกการขอระงับบริการต่อการสื่อสารแห่งประเทศไทยหรือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยการขอระงับการใช้บริการหรือยกเลิกการระงับดังกล่าวจะมีผลต่อเมื่อการสื่อสารแห่งประเทศไทยหรือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้ดำเนินการให้เรียบร้อยแล้วดังนี้การที่จำเลยได้แจ้งการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์หมายเลขพิพาทให้แก่จำเลยร่วมต่อผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่15กันยายน2535และพนักงานขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้ลงชื่อรับแบบขอโอนและรับโอนสิทธิการเช่าสองฝ่ายตามเอกสารหมายล.3ในวันเดียวกันนั้นต้องถือว่าจำเลยได้แจ้งระงับการใช้บริการแก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยแล้วและเอกสารหมายล.3ซึ่งเป็นแบบฟอร์มขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเองมีใจความว่าจำเลยมีความประสงค์จะขอโอนสิทธิการเช่าพร้อมทั้งภาระผูกพันต่างๆและหนี้สินทั้งหมดที่มีอยู่ก่อนและที่จะปรากฏต่อไปให้แก่จำเลยร่วมประกอบกับหลังจากมีการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์ตามเอกสารหมายล.3แล้วองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยต้องส่งเรื่องให้โจทก์เช่นนี้ย่อมถือได้ว่าองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้รับรู้การโอนสิทธิการเช่าซึ่งได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนตามเอกสารหมายล.3ดังกล่าวแล้วและมีผลผูกผันไปถึงโจทก์ด้วยตามข้อตกลงระหว่างองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยกับโจทก์และระเบียบของโจทก์ดังกล่าวข้างต้นจำเลยจึงยกเอาการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวขึ้นยันโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306วรรคหนึ่งจำเลยจึงพ้นจากความรับผิดในหนี้ค่าบริการใช้โทรศัพท์ระหว่างประเทศตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3049

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3049/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 453, 583 ประมวลรัษฎากร ม. 79, 88 ทวิ (1) บัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายประมวลรัษฎากร ประเภทการค้า 4 บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร

กรณีใดจะถือว่ารายรับใดเป็นรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า4การรับจ้างทำของจะต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆไปเมื่อตามข้อสัญญาพิพาทโจทก์และลูกค้ามุ่งประสงค์ถึงการซื้อขายลิฟท์เครื่องปรับอากาศบันไดเลื่อนและการรับจ้างติดตั้งด้วยโดยข้อสัญญาได้ระบุราคาค่าลิฟท์เครื่องปรับอากาศหรือบันไดเลื่อนรวมภาษีขาเข้าภาษีการค้าและการขนส่งถึงสถานที่ติดตั้งเป็นจำนวนเงินแยกต่างหากจากราคาค่าแรงงานติดตั้งพร้อมทั้งวัสดุอุปกรณ์โดยที่สินค้าลิฟท์เครื่องปรับอากาศที่ทำสัญญาซื้อขายกันนั้นผู้ซื้อสามารถจ้างผู้อื่นให้ทำการติดตั้งได้แต่เพื่อความสะดวกผู้ซื้อก็จะว่าจ้างให้โจทก์ทำการติดตั้งไปในคราวเดียวกันซึ่งตามสัญญาซื้อขายนอกจากจะตกลงในเรื่องราคาสินค้าไว้แล้วก็จะทำการตกลงในเรื่องค่าแรงงานในการติดตั้งพร้อมทั้งวัสดุอุปกรณ์ไว้ด้วยในสัญญาฉบับเดียวกันแต่จะแยกราคาสินค้าและค่าแรงงานพร้อมทั้งวัสดุอุปกรณ์ออกต่างหากจากกันอย่างชัดเจนสัญญาเช่นนี้ย่อมทำได้เพราะไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนนอกจากนี้สัญญาดังกล่าวโจทก์ไม่ได้ทำการผลิตหรือทำวัตถุสิ่งใดขึ้นมาแต่วัตถุสิ่งของคือลิฟท์เครื่องปรับอากาศหรือบันไดเลื่อนนั้นมีอยู่สำเร็จรูปอยู่แล้วเพียงแต่โจทก์นำมาติดตั้งเท่านั้นทั้งข้อตกลงในสัญญายังได้ระบุเป็นเงื่อนไขว่าหากผู้ซื้อชำระราคาไม่ครบถ้วนสินค้าลิฟท์เครื่องปรับอากาศหรือบันไดเลื่อนยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์จนกว่าผู้ซื้อจะชำระราคาค่าสินค้าครบถ้วนแล้วซึ่งแสดงว่าคู่สัญญามุ่งถึงการโอนกรรมสิทธิ์ของสินค้าเพื่อตอบแทนการชำระราคาอันเป็นลักษณะสำคัญของสัญญาซื้อขายสัญญาพิพาทจึงมิใช่เป็นสัญญาจ้างทำของเพียงประการเดียวแต่เป็นสัญญาซื้อขายส่วนหนึ่งและเป็นสัญญาจ้างทำของส่วนหนึ่งรวมอยู่ในสัญญาฉบับเดียวกันการที่สินค้าลิฟท์เครื่องปรับอากาศและบันไดเลื่อนโจทก์ได้เสียอากรขาเข้าและภาษีการค้าเมื่อขณะนำมาครบถ้วนแล้วต่อมาโจทก์นำสินค้าดังกล่าวไปขายย่อมไม่ต้องเสียภาษีการค้าอีกการที่จำเลยประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าจากการขายสินค้าดังกล่าวจากโจทก์อีกจึงเป็นการเก็บภาษีซ้ำซ้อนไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ สัญญาซื้อขายลิฟท์เครื่องปรับอากาศและบันไดเลื่อนพิพาทเป็นสัญญาจ้างทำของเฉพาะค่าแรงติดตั้งพร้อมทั้งวัสดุอุปกรณ์หาใช่สัญญาจ้างทำของทั้งฉบับเมื่อสัญญาจ้างทำของเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรตามลักษณะแห่งตราสาร4แห่งบัญชีอากรแสตมป์โจทก์จึงมีหน้าที่ปิดอากรแสตมป์เฉพาะสำหรับค่าจ้างทำของเท่านั้นส่วนค่าลิฟท์เครื่องปรับอากาศและบันไดเลื่อนเป็นสัญญาซื้อขายจึงมิใช่ตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ ในปี2528โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับสำหรับเดือนกุมภาพันธ์กรกฎาคมสิงหาคมกันยายนและธันวาคมขาดไปเกินกว่าร้อยละ25ของรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้าเป็นเงิน140,539,353.23บาทและในปี2529โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับสำหรับเดือนภาษีมกราคมกุมภาพันธ์มีนาคมมิถุนายนกรกฎาคมตุลาคมพฤศจิกายนและธันวาคมขาดไปเกินกว่าร้อยละ25ของรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้าเป็นเงิน105,746,724.30บาทรายรับที่ขาดไปดังกล่าวข้างต้นเป็นรายรับเกี่ยวกับค่าลิฟท์ค่าเครื่องปรับอากาศและบันไดเลื่อนดังนี้เมื่อโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องนำรายรับดังกล่าวมาเสียภาษีการค้าโจทก์จึงไม่ต้องนำรายรับเกี่ยวกับค่าลิฟท์ค่าเครื่องปรับอากาศและบันไดเลื่อนมารวมคำนวณในการยื่นแบบแสดงรายการการค้าอีกดังนั้นจึงฟังได้ว่าในปี2528และปี2529สำหรับเดือนภาษีดังกล่าวโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละ25ของยอดรายรับที่แสดงใบแบบแสดงรายการการค้าเจ้าพนักงานประเมินจึงต้องทำการประเมินภายในกำหนดเวลา5ปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลังตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา88ทวิ(1)ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นแต่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินและแจ้งการประเมินภาษีการค้าสำหรับปี2528และปี2529เมื่อวันที่30มิถุนายน2537โจทก์ได้รับแจ้งเมื่อวันที่11กรกฎาคม2537จึงเกินกำหนดเวลา5ปีการประเมินภาษีการค้าดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3048

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3048/2540

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 95 (3), 172 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 448 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 51 วรรคหนึ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 84, 183

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยแจ้งขอความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับคดีอาญาแก่พนักงานสอบสวนว่าโจทก์ร่วมกันขุดถนนริมคลองไหหลำอันเป็นถนนสาธารณะทำให้ถนนอยู่ในลักษณะอันน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่การจราจรอันเป็นความผิดและมีโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา172ทำให้โจทก์ทั้งสี่เสียหายเพราะถูกฟ้องคดีอาญาคำฟ้องของโจทก์ทั้งสี่จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งมีกำหนดอายุความทางอาญา10ปีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา95(3)โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งภายในกำหนด10ปีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา51วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่าจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับคดีอาญาต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ทั้งสี่ร่วมกันขุดถนนสาธารณะความจริงโจทก์ทั้งสี่ขุดรางน้ำในที่ดินโฉนดเลขที่260ของโจทก์ที่1กับบ.ทำให้โจทก์ทั้งสี่ถูกดำเนินคดีอาญาได้รับความเสียหายเป็นเงิน400,000บาทจำเลยให้การว่าที่ดินที่โจทก์ทั้งสี่ขุดเป็นที่ดินสาธารณะไม่ใช่ที่ดินในโฉนดเลขที่260โจทก์ทั้งสี่ไม่ได้รับความเสียหายประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าข้อความที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ทั้งสี่ขุดถนนสาธารณะนั้นเป็นความเท็จอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสี่หรือไม่โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยเพียงใดโจทก์ทั้งสี่เป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่าข้อความที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนเป็นความเท็จการกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นเงิน400,000 บาทหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงนั้นจึงตกอยู่แก่โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้กล่าวอ้างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา84ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยกระทำละเมิดโจทก์ทั้งสี่หรือไม่ค่าเสียหายเพียงใดและกำหนดว่าภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ทั้งสี่จึงชอบแล้ว

« »
ติดต่อเราทาง LINE