คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2540

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2540

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 249

ฎีกาของโจทก์ทั้งเก้ามิได้กล่าวคัดค้านโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค3ว่าวินิจฉัยข้อเท็จจริงข้อใดตอนใดผิดถูกอย่างใดเพียงแต่กล่าวทบทวนคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อุทธรณ์ภาค3และเนื้อหาสาระในฎีกาแทบจะเหมือนกับที่กล่าวไว้ในอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 633

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 633/2540

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 56, 90 พระราชบัญญัติป่าไม้ ม. 11, 73 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ ฯ ม. 14, 31

จำเลยทั้งสามร่วมกันทำไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวนแห่งชาติและทำให้เสื่อมสภาพป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทคือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯมาตรา11,73วรรคสองโทษจำคุกตั้งแต่1ปีถึง20ปีและปรับตั้งแต่5,000บาทถึง200,000บาทและเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯมาตรา14,31วรรคสองโทษจำคุกตั้งแต่2ปีถึง15ปีและปรับตั้งแต่20,000บาทถึง150,000บาทจึงต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯมาตรา11,73วรรคสองอันเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา90 เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฎจำเลยจำเลยทั้งสามทำไม้หวงห้ามในลักษณะเป็นนายทุนมีอิทธิพลเพื่อทำลายป่าแต่จำเลยได้ร่วมกันตัดฟันทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติมีปริมาตรถึง32.38ลูกบาศก์เมตรนับว่าทำไม้จำนวนมากจึงไม่มีเหตุรอการลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420, 1370 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55, 86, 104, 296, 248

ตามคำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลยคู่ความรับกันข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินและบ้านของจำเลยถูกบังคับคดีโดยนำออกขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินและบ้านของจำเลยจากการขายทอดตลาดดังกล่าวโดยมีคำโต้แย้งคัดค้านของจำเลยว่าการบังคับคดีกระทำโดยมิชอบขอให้เพิกถอนอันเป็นข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะนำมาวินิจฉัยชี้ขาดตามประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้ว่าโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินและบ้านที่โจทก์ซื้อมาได้หรือไม่หากวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยไม่ได้ศาลย่อมต้องพิพากษายกฟ้องหากวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยได้ศาลย่อมต้องวินิจฉัยในประเด็นต่อไปว่าโจทก์เสียหายเพียงใดซึ่งค่าเสียหายในกรณีเช่นนี้ย่อมอยู่ในอำนาจของศาลที่จะกำหนดให้ตามความเหมาะสมแก่รูปคดีเนื่องจากโจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์เสียหายเดือนละ30,000บาทโดยโจทก์คาดว่าหากนำที่ดินและบ้านออกให้เช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ30,000บาทและจำเลยให้การว่าโจทก์ไม่เสียหายหากเสียหายจริงก็ไม่เกินเดือนละ5,000บาทโดยต่างฝ่ายต่างมิได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่แน่นอนขึ้นสนับสนุนข้ออ้างและข้อเถียงของฝ่ายตนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยนั้นชอบแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้าสู้ราคาจนเป็นผู้ซื้อทอดตลาดได้ในขณะที่ยังไม่มีข้อคัดค้านของจำเลยว่าการบังคับคดีดังกล่าวไม่ชอบต้องถือว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านโดยชอบแล้วเมื่อโจทก์ไม่อาจเข้าครอบครองหรือใช้ประโยชน์ในที่ดินพร้อมบ้านเนื่องจากจำเลยและบริวารยังคงอยู่ในที่ดินพร้อมบ้านดังกล่าวอันเป็นการขัดขวางโต้แย้งการใช้สิทธิของโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกไปจากที่ดินและบ้านได้แม้ภายหลังจะปรากฏว่าจำเลยยื่นคำร้องคัดค้านการบังคับคดีดังกล่าวว่าไม่ชอบและขอให้เพิกถอนก็ตามแต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องนำสืบพิสูจน์ข้อกล่าวอ้างคัดค้านของตนในคดีเดิมจนปรากฏเป็นความจริงและศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีดังกล่าวแล้วจึงจะมีผลให้การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านจากการขายทอดตลาดของโจทก์ถูกเพิกถอนไปด้วยตราบใดที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีถึงที่สุดการที่จำเลยและบริวารยังอยู่ในที่ดินและบ้านหลังจากโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านจากการขายทอดตลาดแล้วถือได้ว่าจำเลยอยู่โดยละเมิดโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ คดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆออกจากอสังหาริมทรัพย์เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้เดือนละ5,000บาทโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้เถียงประเด็นนี้จึงถือว่าทรัพย์พิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ5,000บาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2749

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2749/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 70, 76, 420 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 84, 93, 94

จำเลยที่ 1 ถึงที่ 23 และที่ 25 ถึงที่ 29 เป็นกรรมการดำเนินการของโจทก์ ซึ่งตามรายงานการประชุม ไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ได้ลงมติให้จ่ายเงินกู้แก่สมาชิกเป็นเช็คขีดคร่อมเป็นรายตัวเพียงแต่ที่ประชุมเห็นด้วยกับข้อเสนอของกรรมการคนหนึ่งที่ให้มีการจ่ายเงินกู้เป็นเช็คด้วยเหตุผลเพื่อความปลอดภัยและความสะดวกเท่านั้นและในการประชุมครั้งถัดมา ที่ประชุมได้รับทราบเรื่องที่สืบเนื่องมาจากการประชุมเรื่องการจ่ายเงินกู้สามัญเป็นเช็คว่า ได้มีการดำเนินการจ่ายเช็คเงินกู้สามัญเป็นรายการสำหรับหน่วยอำเภอ ม. และอำเภอ ค. โดยขีดคร่อมผู้ถือออกเท่านั้นและเมื่อการจ่ายเงินให้แก่ผู้กู้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการจะจ่ายให้เป็นเงินสดหรือเช็คก็ได้ ฉะนั้นไม่ว่าการจ่ายเงินกู้แก่สมาชิกจะจ่ายโดยเช็คขีดคร่อมเป็นรายตัวหรือไม่ และจะเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตได้หรือไม่จึงไม่ใช่ความประมาทเลินเล่อหรือละเลยอันจำเลยที่ 1 ถึงที่ 23และที่ 25 ถึงที่ 29 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ ทั้งการที่จำเลยดังกล่าวได้ตั้งผู้ตรวจสอบกิจการขึ้นตามข้อบังคับ และผู้ตรวจสอบไม่สามารถตรวจพบการทุจริต เพราะผู้ทุจริตได้ปลอมเอกสารการเงินขึ้นอีกชุดหนึ่ง ก็หาใช่ความผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 23และที่ 25 ถึงที่ 29 ไม่ เพราะจำเลยดังกล่าวไม่มีหน้าที่ เข้าไปตรวจสอบเอกสารการเงินด้วยตนเอง เป็นแต่ต้องควบคุมดูแลและวางมาตรการให้การดำเนินการของโจทก์เป็นไปด้วยความถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับที่วางไว้เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2748

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2748/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 862 วรรคสอง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 172

โจทก์ได้บรรยายมาในคำฟ้องแล้วว่าจำเลยที่1เป็นเจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียน80-5080สมุทรสาครโดยเป็นนายจ้างหรือเป็นตัวการได้ใช้จ้างวานให้ผู้ขับซึ่งเป็นลูกจ้างในทางการที่จ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่1เพื่อประโยชน์ของจำเลยที่1ในฐานะเป็นตัวการแล้วผู้ขับดังกล่าวได้กระทำละเมิดชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายดังนี้คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายโดยชัดแจ้งว่าประการแรกผู้ขับขี่เป็นทั้งลูกจ้างในทางการที่จ้างของจำเลยที่1และประการที่สองเป็นตัวแทนซึ่งขับรถโดยมีจำเลยที่1เป็นตัวการเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่1ในฐานะตัวการเพื่อให้จำเลยที่1รับผิดทั้งสองประการจึงเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา862วรรคสองผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยซึ่งระบุชื่อไว้ในกรมธรรม์อาจเป็นคนละคนกับผู้ที่ส่งเบี้ยประกันภัยแต่ความหมายของผู้เอาประกันภัยตามกฎหมายต้องเป็นผู้ที่ส่งเบี้ยประกันภัยเท่านั้นดังนั้นเมื่อส. เป็นผู้ส่งเบี้ยประกันภัยจึงเป็นผู้เอาประกันภัยส่วนที่ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุชื่อช.บุตรส. ช.จึงเป็นเพียงผู้รับประโยชน์และเมื่อคดีนี้มิได้พิพาทกันเองระหว่างคู่สัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัยแต่เป็นกรณีที่โจทก์ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันและผู้รับประโยชน์ไปแล้วโดยรับช่วงสิทธิมาเนื่องจากรถยนต์ซึ่งเอาประกันภัยไว้เกิดวินาศภัยขึ้นการที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่าส.เป็นผู้เอาประกันภัยแต่ตามตารางกรมธรรม์มีชื่อช.ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์นำสืบต่างกับคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 438

แม้ว่าตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ3.7.5ระบุว่าการประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความเสียหายอันเกิดจากการขาดการใช้รถยนต์ซึ่งหมายความว่าจำเลยที่1ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในความเสียหายส่วนที่เกิดแก่โจทก์ผู้เอาประกันภัยที่ไม่อาจใช้ประโยชน์จากรถยนต์ที่ประกันภัยเนื่องจากอุบัติเหตุจนรถยนต์เสียหายใช้การไม่ได้กล่าวคือค่าขาดประโยชน์ส่วนนี้เริ่มนับแต่รถยนต์ที่ประกันภัยเกิดอุบัติเหตุเสียหายใช้การไม่ได้จนกระทั่งซ่อมเสร็จใช้การได้ตามปกติโจทก์จะเรียกร้องค่าขาดประโยชน์ส่วนนี้จากจำเลยที่1ไม่ได้เพราะเข้ายกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ3.7.5ดังกล่าวก็ตามแต่ความเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ของโจทก์ตามฟ้องเป็นค่าขาดประโยชน์ที่เกิดขึ้นหลังจากซ่อมรถยนต์ของโจทก์เสร็จแล้วและเกิดจากเหตุที่จำเลยที่1ไม่ยอมชำระค่าซ่อมครบถ้วนแก่ผู้ซ่อมทำให้ผู้ซ่อมใช้สิทธิยึดหน่วงรถยนต์ของโจทก์ไว้ทำให้โจทก์ขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ของโจทก์ดังกล่าวเป็นคนละส่วนกับค่าขาดประโยชน์ที่จำเลยที่1ไม่ต้องรับผิดตามกรมธรรม์ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกันเพราะเกิดจากคนละเหตุโจทก์จึงเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ส่วนนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2737

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2737/2540

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 145,

ก่อนคดีนี้จำเลยเคยเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่โจทก์ที่3ออกจากบ้านเลขที่39ส่วนโจทก์ที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกได้ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านเลขที่38/2คดีทั้งสองสำนวนศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษาและคดีถึงที่สุดโดยศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสองสำนวนโดยคดีทั้งสองสำนวนดังกล่าวมีประเด็นข้อพิพาทข้อหนึ่งว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของส.หรือของจำเลยซึ่งศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวว่าแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าบ้านเลขที่39เป็นของจำเลยส่วนที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยกึ่งหนึ่งในฐานะที่ครอบครองร่วมกันมาส. ก็ยังเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทส่วนบ้านเลขที่39ตกเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทเมื่อส. ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทพร้อมบ้านเลขที่39จึงเป็นทรัพย์มรดกของส. โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเท่าใดดังนี้ข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของส.หรือไม่จึงหายุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่แม้คำพิพากษาในคดีก่อนจะผูกพันโจทก์จำเลยในคดีนี้ซึ่งเป็นคู่ความรายเดียวกันแต่ข้อเท็จจริงที่รับฟังมาในคดีก่อนยังหาเพียงพอแก่การวินิจฉัยในคดีนี้ไม่ศาลชั้นต้นชอบที่จะดำเนินการสืบพยานต่อไปและพิพากษาใหม่ตามรูปคดียังไม่ควรงดสืบพยานคู่ความ จำเลยฎีกาเพียงแต่ขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดีมิได้ฎีกาขอให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีจึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล200บาทตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา1ข้อ2(ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 11, 171, 340, 850, 852 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 49, 56

โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยต่อมาจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่25พฤศจิกายน2537และจำเลยได้จ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จจำนวน424,083บาทแก่โจทก์โจทก์ได้ทำหนังสือตามบันทึกเอกสารหมายจ.7ให้แก่จำเลยความว่า"ตามที่ชสท.(จำเลย)ได้เลิกจ้างข้าพเจ้าตามคำสั่งที่46/2537วันที่25พฤศจิกายน2537ข้าพเจ้าได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบชสท.ว่าด้วยการพนักงานชสท.พ.ศ.2535และเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานเป็นเงิน424,083บาทถูกต้องแล้วและจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีแต่ประการใดทั้งสิ้น"ข้อความในเอกสารที่โจทก์ลงลายมือชื่อให้ไว้แก่จำเลยดังกล่าวได้ระบุประเภทของเงินไว้เฉพาะเงินบำเหน็จและค่าชดเชยเท่านั้นมิได้ระบุถึงค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วยแต่อย่างใดข้อความตอนท้ายที่ว่าจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีแต่ประการใดซึ่งจำเลยถือว่าเป็นการที่โจทก์สละสิทธิหรือปลดหนี้ให้แก่จำเลยนั้นข้อความดังกล่าวหาได้ระบุไว้โดยแจ้งชัดว่าโจทก์ทั้งสองได้ปลดหนี้ในเงินอื่นๆรวมทั้งค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วยไม่บันทึกตามเอกสารหมายจ.7ดังกล่าวโจทก์เพียงแต่รับรองว่าจะไม่ฟ้องร้องจำเลยเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินบำเหน็จและค่าชดเชยเท่านั้นกรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องในค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสจากจำเลยได้ ปัญหาที่ว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่หากเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายเพียงใดและโจทก์มีสิทธิได้รับเงินโบนัสหรือไม่จำนวนเท่าใดนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางยังมิได้วินิจฉัยศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2714

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2714/2540

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55, 142, 172 ประมวลกฎหมายที่ดิน ม. 60

โจทก์ดำเนินการขอออกโฉนดที่ดินต่อจากบิดาโจทก์แต่จำเลยยื่นหนังสือคัดค้านโดยอ้างว่าที่ดินของโจทก์เป็นของจำเลยแม้การยื่นคำคัดค้านดังกล่าวจะเป็นการใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา60แต่เนื้อหาในคำคัดค้านที่จำเลยอ้างว่าที่ดินโจทก์ขอออกโฉนดที่ดินเป็นที่ดินของจำเลยนั้นเป็นการโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยถือว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55แล้วทั้งตามคำฟ้องของโจทก์ได้แนบสำเนาหนังสือคัดค้านที่มีข้อความระบุว่าจำเลยได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามเอกสารแนบท้ายคำฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องและโจทก์ได้ขอให้บังคับจำเลยและบริวารมิให้เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทซึ่งย่อมมีความหมายรวมถึงการที่จำเลยไปคัดค้านการออกโฉนดที่ดินของโจทก์ด้วยซึ่งหากโจทก์ชนะคดีศาลย่อมมีอำนาจบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ได้ศาลชั้นต้นชอบที่จะสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไปการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษายกฟ้องนั้นเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2540

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 174, 226, 246, พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 199, 153, 179

แม้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา119วรรคสองและวรรคสามจะกำหนดให้การร้องคัดค้านหนังสือแจ้งยืนยันหนี้ของผู้คัดค้านให้ทำเป็นคำร้องก็ตามแต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้คัดค้านผู้ร้องอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์กลับคำสั่งศาลชั้นต้นโดยขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่มีหนังสือแจ้งยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้และให้จำหน่ายชื่อผู้ร้องออกจากบัญชีลูกหนี้ซึ่งแม้ผู้ร้องจะอ้างว่าหนี้จะระงับสิ้นไปแล้วโดยการหักกลบลบหนี้ก็ตามแต่ผลก็คือขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าผู้ร้องไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามที่ผู้คัดค้านมีหนังสือแจ้งยืนยันไปและหากศาลอุทธรณ์ให้ผู้ร้องชนะคดีทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปตามจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องชำระคดีของผู้ร้องจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ตามตาราง1ข้อ(1)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา179วรรคท้ายซึ่งกำหนดให้ค่าธรรมเนียมนอกจากที่บัญญัติไว้ให้คิดอัตราเดียวกันกับค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้ถูกต้องซึ่งศาลชั้นต้นแจ้งให้ผู้ร้องทราบคำสั่งนั้นแล้วผู้ร้องเพิกเฉยจึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2),246ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา153ต้องจำหน่ายคดีของผู้ร้องออกจากสารบบความ คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้ถูกต้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาแม้ผู้ร้องจะเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องก็มีสิทธิเพียงโต้แย้งคำสั่งนั้นเพื่อใช้สิทธิฎีกาต่อไปเท่านั้นหามีสิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นไม่การที่ผู้ร้องฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226(1)ประกอบมาตรา247

« »
ติดต่อเราทาง LINE