คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2540

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5396

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5396/2540

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 49

แม้นายจ้างมีสิทธิที่จะปรับปรุงหน่วยงานของตนเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงาน แต่การปรับปรุงหน่วยงาน ดังกล่าวต้องไม่เป็นเหตุให้ลูกจ้างได้รับความเสียหายหากลูกจ้างคนใดได้รับความเสียหายและไม่ยินยอม หากนายจ้าง เลิกจ้างลูกจ้างนั้นเพราะลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของ นายจ้างดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมลูกจ้างคนนั้นย่อมมีสิทธิได้รับการชดใช้ความเสียหายในส่วนนี้ จำเลยยุบตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร ซึ่งขณะนั้นโจทก์ดำรงตำแหน่งดังกล่าวและให้โจทก์ไปทำหน้าที่เป็นแพทย์อาวุโสประจำโรงพยาบาลจำเลย แต่ค่าตอบแทนที่โจทก์จะได้รับลดลงโดยโจทก์ไม่ยินยอม การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ไม่ไปปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งจึงเป็นการเลิกจ้างที่ ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5395

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5395/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 206, 420, 448 ระเบียบสำนักงานนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2524 ม. , ,

หน้าที่ของคณะกรรมการเปิดซองประกวดราคาเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ คือต้องตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา แคตตาล็อก หรือแบบรูปและรายละเอียดของพัสดุที่เสนอขึ้นไป และคัดเลือกพัสดุซึ่งเสนอขึ้นไปนั้นให้ถูกต้องตรงกับที่กำหนดไว้ การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2ตรวจคุณลักษณะของสมุดตัวอย่างที่ร้านพัฒนาพานิชเสนอขายแต่เพียงใช้มือจับและตาดูเท่านั้น แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2จะไม่มีความรู้ในเรื่องคุณลักษณะของเนื้อในของสมุดที่ต้องตรวจคุณลักษณะก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้รับการ แต่งตั้ง มอบหมายให้เป็นกรรมการเปิดซองประกวดราคาจำเลยที่ 1 ที่ 2 จะต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ขวนขวายดำเนินการศึกษางานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เพียงแต่ตรวจคุณลักษณะเนื้อใน ของสมุดโดยการจับด้วยมือและดูด้วยตาเท่านั้นยังไม่เพียงพอและเมื่อปรากฏว่าสมุดที่ร้าน พ. เสนอขายไม่ใช่ขนาดตามที่กำหนดไว้ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงถือว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าหน้าที่แผนกพัสดุ จำเลยที่ 4 เป็นหัวหน้าแผนกพัสดุ และเป็นผู้เห็นชอบให้ซื้อสมุดที่จำเลยที่ 1ที่ 2 เสนอมา ซึ่งตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การ พัสดุพ.ศ. 2524 ข้อ 22 ได้กำหนดหน้าที่ของเจ้าหน้าที่พัสดุ ไว้ ว่าก่อนดำเนินการซื้อหรือจ้างทุกวิธีนอกจากการซื้อที่ดินตามข้อ 23 ให้เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการดังต่อไปนี้ (1) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง(2) รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างและตามข้อ 42(4)กำหนดว่า เมื่อได้ดำเนินการไปแล้วได้ผลประการใดให้เสนอความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อหัวหน้า ส่วนราชการเพื่อสั่งการโดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นเจ้าหน้าที่โดยตรง ที่จะต้องตรวจสอบคุณสมบัติของพัสดุที่จะซื้อ แต่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ปล่อยปละละเลยไม่ตรวจสอบคุณลักษณะของกระดาษที่จัดซื้อ เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับ ความเสียหายเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เช่นกัน จำเลยที่ 5 ผู้ช่วยผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดจำเลยที่ 6 ผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด จำเลยที่ 7รองผู้ว่าราชการจังหวัด และจำเลยที่ 8 ผู้ว่าราชการจังหวัดมีหน้าที่เพียงแต่เสนอความเห็นตามลำดับชั้นว่าควรจัดซื้อพัสดุหรือไม่ โดยไม่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณลักษณะเนื้อในของสมุดดังกล่าว การที่จำเลยที่ 8 เป็นผู้อนุมัติให้จัดซื้อ ซึ่งหากไม่มีการเสนอความเห็นตามขั้นตอนจากคณะกรรมการรับซองคณะกรรมการเปิดซองและตรวจรับพัสดุแล้ว จำเลยที่ 8 ก็ไม่อาจสั่งการจัดซื้อได้เพราะไม่ผ่านขั้นตอนในการจัดซื้อตามระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรี ส่วนจำเลยที่ 7 เมื่อจำเลยที่ 8อนุมัติให้จัดซื้อเพียงแต่ลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายในฐานะผู้ซื้อเท่านั้นเอง ดังนี้ จำเลยที่ 5 ถึงที่ 8จึงไม่ได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ จำเลยที่ 4 เป็นหัวหน้าแผนกพัสดุมีหน้าที่ในการตรวจสอบคุณลักษณะของสมุดที่จัดซื้อตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2524ข้อ 22 ซึ่งกำหนดให้เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการเกี่ยวกับเหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องซื้อหรือจ้าง รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างและตามข้อ 42(4) ให้คณะกรรมการเปิดซองหรือกรรมการจัดซื้อเสนอความเห็นผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ดังนั้นเจ้าหน้าที่แผนกพัสดุจึงมีหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบคุณลักษณะของ สมุดที่จัดซื้อ จำเลยที่ 3 ที่ 4 จะอ้างว่าไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นหาได้ไม่ เมื่อจำเลยที่ 3 ที่ 4 กระทำให้โจทก์เสียหายจึงต้องรับผิดพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5ของเงินค่าเสียหายดังกล่าวนับตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 3ทำบันทึกเสนอจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นวันทำละเมิด จำเลยที่ 5 ที่ 6 เป็นผู้เสนอความเห็นตามที่จำเลยที่ 3ที่ 4 เสนอผ่านมาเท่านั้น ไม่มีหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบคุณลักษณะของกระดาษ และได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วไม่ได้ประมาทเลินเล่อแต่ประการใด จึงไม่เป็นการละเมิด แม้สัญญาซื้อขายฉบับพิพาทไม่ได้ระบุรายละเอียดคุณลักษณะของกระดาษที่จัดซื้อว่ามีขนาด 60 แกรม อาจเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องผู้ขายไม่ได้เมื่อปรากฏว่าจำเลยผู้ทำสัญญาได้ระบุไว้ในสัญญาไว้แล้วว่า ผู้ขายยอมรับว่าสิ่งของที่ขายให้ตามสัญญานี้มีคุณภาพไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ตามตัวอย่าง ซึ่งเป็นตัวอย่างของผู้ขายที่จำเลยที่ 8 ผู้ว่าราชการจังหวัดได้อนุมัติให้จัดซื้อแล้ว ดังนี้ จำเลยผู้ทำสัญญาซื้อขาย ฉบับพิพาทจึงไม่ได้ทำละเมิดต่อโจทก์ เพราะทำตามคำสั่งอนุมัติของจำเลยที่ 8 แล้ว การที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ไม่รายงานการที่ผู้ขายนำสมุดไปส่งตามสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอต่าง ๆ ล่าช้าอันเป็นการผิดสัญญาทำให้จังหวัดไม่ได้ปรับผู้ขายนั้น แม้ตามสัญญาซื้อขายจะระบุให้ผู้ขายนำสมุดไปส่งมอบ ณ ที่ทำการการประถมศึกษาประจำอำเภอต่าง ๆ แต่เมื่อปรากฏว่ามีข้อขัดข้องคือทางแผนกศึกษานิเทศไม่ได้กำหนดว่าอำเภอใดจะได้จำนวนกี่เล่ม และคณะกรรมการตรวจรับสมุดดินสอก็ไม่ได้แต่งตั้ง การที่ จำเลยที่ 3 ตรวจรับสมุด ณ ที่ทำการประถมศึกษาจังหวัดเพราะเชื่อโดยสุจริตว่าเป็นการรับมอบสมุดไว้แทนอำเภอต่าง ๆซึ่งต่อมาทางอำเภอต่าง ๆ ได้ตรวจรับถูกต้องแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ จังหวัดได้ส่งสำนวนการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งให้สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติโจทก์โดยเลขานุการกรมโจทก์รับไว้เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2529ทางสำนักงานเลขานุการกรมส่งเรื่องทั้งหมดไปให้งานนิติการโจทก์ เพื่อทำการตรวจสำนวน งานนิติการรับเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2529 งานนิติการได้สรุปสำนวนและเสนอความเห็นมายัง รองเลขาธิการโจทก์เมื่อเดือนตุลาคม 2529 นอกจากนี้ยังได้ ขอทราบราคากระดาษว่าต่างกันอย่างไร ต่อมาได้ส่งเรื่องไป กรมบัญชีกลางเพื่อทราบค่าเสียหาย ในที่สุดได้เสนอเรื่อง ไปยังเลขาธิการโจทก์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2530 ดังนี้ เมื่อสำนวนการสอบสวนมาถึงสำนักงานโจทก์ครั้งแรก ไม่ได้นำเสนอ เลขาธิการโจทก์ในทันทีเพราะมีขั้นตอนในการปฏิบัติงานอีกมากมาย แต่เพิ่งเสนอเป็นครั้งแรกในวันที่ 19 พฤษภาคม 2530 เมื่อนับถึงวันฟ้องไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5394

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5394/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 456, 1368, 1381, 1382

บ. เข้าครอบครองที่ดินแปลงที่ผู้ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์รายนี้โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างบริษัท ศ. ผู้จะขายกับ บ. ผู้จะซื้อส่วนผู้ร้องเข้าครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำระหว่าง บ. กับผู้ร้อง ซึ่งสัญญาแต่ละฉบับดังกล่าวมีข้อความระบุว่าผู้ขายจะต้องไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อด้วย แสดงให้เห็นว่าทั้งผู้ซื้อและผู้ขายมีเจตนาที่จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ต่อกัน ฉะนั้น การครอบครองที่ดินรายนี้ของ บ.จึงเป็นการครอบครองแทนบริษัท ศ. และผู้ร้องก็จะเข้าครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิของ บ.ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิดีกว่า บ. เมื่อไม่ปรากฏว่า บ.ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 ดังนี้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้ยังเป็นของบริษัท ศ. แม้ บ. จะครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวนานเพียงใด บ. ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ผู้ร้องครอบครองต่อจาก บ. และโดยอาศัยสิทธิของ บ. จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1138

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1137 - 1138/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 203, 653 วรรคหนึ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55, 183, 249 วรรคหนึ่ง ประมวลรัษฎากร ม. 118

โจทก์ฟ้องว่าบิดาจำเลยกู้เงินโจทก์ไปตามฟ้องจำเลยให้การต่อสู้คดีว่าบิดาจำเลยไม่ได้กู้เงินไปจากโจทก์ดังนี้ข้อความที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าบิดาจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปตามฟ้องหรือไม่ย่อมมีความหมายรวมไปถึงว่าบิดาจำเลยได้รับเงินแล้วหรือไม่ไม่จำต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าบิดาจำเลยได้กู้เงินโจทก์และรับเงินกู้ไปแล้วหรือไม่ บิดาจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปตามเอกสารหมายจ.2และจ.6โดยเอกสารหมายจ.2ทำขึ้นในวันที่3กรกฎาคม2535มีข้อความว่า"ฯลฯข้อ1ฯลฯ1.1ผู้กู้ได้กู้ยืมเงินมาเมื่อวันที่22กุมภาพันธ์2533จำนวนเงิน2,025,000บาท(สองล้านสองหมื่นห้าพันบาทถ้วน)1.2ผู้กู้ได้กู้ยืมเงินมาเมื่อวันที่13มิถุนายน2533จำนวนเงิน590,000บาทฯลฯรวมเป็นเงินฯลฯ10,900,000บาท(สิบล้านเก้าแสนบาทถ้วน)ฯลฯข้อ3ผู้ให้กู้และผู้กู้ตกลงกันว่าเงินจำนวนกู้ทั้งหมดตามสัญญากู้นี้ผู้กู้จะชำระคืนให้เมื่อขายที่ที่สามเหลี่ยมทองคำฯลฯได้เสร็จเรียบร้อยแล้วฯลฯ"การที่โจทก์และบิดาจำเลยได้ทำสัญญากู้เงินกันก่อนหน้าที่โจทก์และบิดาจำเลยจะได้ทำเอกสารหมายจ.2ซึ่งตามข้อความในเอกสารหมายจ.2ก็ปรากฏชัดว่าบิดาจำเลยได้รับเงินไปก่อนแล้วทั้งเอกสารหมายจ.6ก็มีลักษณะอย่างเดียวกันเอกสารหมายจ.2และจ.6จึงเป็นเพียงหลักบานในการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อบิดาจำเลยผู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา653วรรคหนึ่งไม่ใช่สัญญากู้ยืมเงินแม้ไม่ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ หนี้ตามเอกสารหมายจ.2จำเลยให้การต่อสู้ว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ไม่เคยทวงถามจำเลยให้ชำระหนี้เลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าหนี้ตามเอกสารหมายจ.2ยังไม่ถึงกำหนดเพราะจำเลยยังไม่ได้ขายที่ดินฎีกาของจำเลยที่ว่าหนี้ตามเอกสารหมายจ.2ยังไม่ถึงกำหนดจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ หนี้ตามเอกสารหมายจ.6ไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้โจทก์จะบอกกล่าวเพื่อให้เวลาแก่จำเลยหรือไม่ก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา203โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องได้แม้ไม่ได้บอกกล่าวจำเลยให้ชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1136

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1136/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 150, 155, 1367, 1368 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 288 ประมวลกฎหมายที่ดิน ม. 31

จำเลยได้ขายที่พิพาทเป็นที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิซึ่งจำเลยครอบครองอยู่ให้ผู้ร้องและส. โดยทำสัญญาซื้อขายกันเองต่อมาทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่พิพาทให้จำเลยโดยมีข้อกำหนดห้ามโอน10ปีในวันเดียวกันนั้นจำเลยจดทะเบียนจำนองที่พิพาทกับผู้ร้องและส. และได้ส่งมอบการครอบครองที่พิพาทให้ผู้ร้องและส. ตั้งแต่วันจดทะเบียนจำนองการที่จำเลยกับผู้ร้องมีเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาซื้อขายแต่เมื่อปรากฏว่าในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวมีข้อกำหนดห้ามโอนเป็นเวลา10ปีผู้ร้องและส.ไม่สามารถจดทะเบียนซื้อขายที่พิพาทกันได้จึงได้ทำจำนองในวงเงินเท่ากับราคาซื้อขายกันไว้โดยจำเลยได้ให้คำมั่นที่จะขายที่พิพาทให้เมื่อพ้นกำหนดเวลาห้ามโอนตามพฤติการณ์จึงชี้ให้เห็นว่าสัญญาจำนองเป็นเพียงนิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายโดยคู่สัญญาไม่มีเจตนาผูกพันกันในเรื่องจำนองสัญญาจำนองจึงตกเป็นโมฆะแต่เนื่องจากทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยมีข้อกำหนดห้ามโอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยกับผู้ร้องและส. จึงตกเป็นโมฆะไปด้วยผู้ร้องจึงมิได้มีสิทธิใดๆในที่พิพาทและแม้ผู้ร้องยังคงครอบครองที่พิพาทอยู่เมื่อพ้นกำหนดเวลาห้ามโอนแล้วก็ตามก็ถือว่าเป็นการครอบครองแทนจำเลยผู้เป็นเจ้าของเดิมจำเลยจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทและโจทก์ย่อมมีสิทธินำยึดที่พิพาทเพื่อขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5393

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5393/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1375 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 46 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 84, 138, 183

ป.วิ.อ.มาตรา 46 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการรับฟังข้อเท็จจริงของคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไว้อย่างชัดแจ้งว่า ในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาศาลต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา และคำพิพากษาคดีส่วนอาญานั้นจะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นยุติประการใดแล้ว จึงจะให้คดีส่วนแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงตามนั้นได้

คดีนี้คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีส่วนอาญายังมิได้ฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติเพียงพอที่จะถือมาเป็นข้อวินิจฉัยในคดีส่วนแพ่งได้ แต่โจทก์จำเลยต่างแถลงไม่ติดใจสืบพยาน และขอให้ศาลฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานในคดีอาญาศาลจึงนำเอาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบในคดีอาญามาเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้เพื่อการวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังที่คู่ความแถลงรับกันได้โดยไม่ถือตามผลในคดีอาญา แต่วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในคดีอาญา

วันเกิดเหตุคือวันที่ 7 พฤศจิกายน 2531 ถึงวันที่ 13พฤศจิกายน 2531 จำเลยใช้รถแทรกเตอร์และรถแบคโฮเข้าไปไถขุดที่พิพาทถือว่าจำเลยเข้าไปแย่งการครอบครองที่พิพาทนับแต่วันดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องคือวันที่ 13 มกราคม 2532 จึงยังไม่เกินระยะเวลา 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 วรรคสอง โจทก์จึงไม่ขาดสิทธิฟ้องร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 37, 41, 420 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55 พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 ม. 12

ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้านพ.ศ. 2535 ข้อ 6 กำหนดให้นายอำเภอดำเนินการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งนายอำเภอจะต้องเป็นผู้ประกาศกำหนดวันเวลาสถานที่เลือก เวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการลงคะแนน ระยะเวลาการสมัครรับเลือก นอกจากนี้ให้นายอำเภอจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือก บัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือก การแต่งตั้งคณะกรรมการเลือก แต่งตั้งเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยณ ที่เลือกและเป็นประธานหรือมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นประธานคณะกรรมการเลือกและอื่น ๆ ตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2535 ข้อ 5 ข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 9ดังนี้ นายอำเภอจึงเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดที่จะดำเนินการเลือกผู้ใหญ่บ้านแต่ละครั้งให้สำเร็จลุล่วงด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม โจทก์เป็นผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2535 ข้อ 8 วรรคสอง กำหนดว่าก่อนนายอำเภอจะรับใบสมัครของผู้สมัครรับเลือกผู้ใหญ่บ้านให้คณะกรรมการเลือกตรวจสอบคุณสมบัติและหลักฐานประกอบการสมัครรับเลือกของผู้สมัครทุกราย และให้นายอำเภอจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านแล้วประกาศให้ ราษฎรทราบก่อนวันเลือกไม่น้อยกว่าสามวัน แสดงว่าแม้คณะกรรมการเลือกจะต้องตรวจสอบคุณสมบัติและหลักฐานประกอบการสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านของผู้สมัครทุกรายก็ตามแต่ผู้ที่จะรับสมัครในชั้นที่สุดและประกาศแสดงให้ผู้สมัครหรือราษฎรทราบว่าผู้สมัครรายใดมีสิทธิหรือไม่มีสิทธิรับเลือกบ้างก็คือนายอำเภอซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดในการดำเนินการเลือก หาใช่กรรมการเลือกแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ดังนั้น การรับสมัครและการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านจึงยังตกอยู่ในความรับผิดชอบของนายอำเภอ เพียงแต่ต้องให้คณะกรรมการเลือกเป็นผู้กลั่นกรองตรวจสอบคุณสมบัติและหลักฐานประกอบการสมัครรับเลือกของผู้สมัคร อันพอถือได้ว่าเป็นการถ่วงดุลมิให้นายอำเภอรับสมัครบุคคลใด ๆ ได้ตามอำเภอใจ การที่จำเลยซึ่งเป็นนายอำเภอท้องที่ที่มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านและเป็นผู้ดำเนินการเลือกไม่รับสมัครโจทก์เป็นผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ด้วยการไม่ประกาศรายชื่อโจทก์ในบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านโดยอ้างว่าโจทก์ไม่ได้มีภูมิลำเนาและมีชื่อในทะเบียนบ้านในหมู่บ้านที่มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านติดต่อกันมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสองปีจนถึงวันเลือกตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครอง ท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 12(3) ที่แก้ไขแล้ว ย่อมทำให้ โจทก์เสียสิทธิดังกล่าวโดยไม่มีทางเยียวยาได้ในทางปกครอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงหากข้อเท็จจริงปรากฏว่าคุณสมบัติและหลักฐานประกอบการสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านของโจทก์ตามที่คณะกรรมการเลือกผู้ใหญ่บ้านได้ตรวจสอบไว้แล้วนั้นครบถ้วนถูกต้องเพียงแต่จำเลยวินิจฉัยและจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกดังกล่าวขัดต่อบทกฎหมายข้างต้น โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีขอให้ศาลมีคำสั่งบังคับให้จำเลยรับสมัครโจทก์และจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน เสียใหม่ แล้วประกาศให้ราษฎรทราบเพื่อดำเนินการเลือก ผู้ใหญ่บ้านต่อไปได้ คำสั่งดังกล่าวของศาลย่อมลบล้าง ข้อวินิจฉัยของจำเลยไปในตัว หาเป็นการบังคับให้จำเลย กระทำการใดอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย หรือเป็นการก้าวล่วง อำนาจของฝ่ายปกครองที่ได้วินิจฉัยสั่งการไปโดย มิชอบด้วยกฎหมายนั้นไม่ ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2535 ข้อ 26 กำหนดว่าเมื่อประกาศผลการเลือกผู้ใหญ่บ้านแล้ว ผู้สมัครหรือผู้มีสิทธิเลือกผู้ใดเห็นว่าการเลือกเป็นไปโดยมิชอบ ให้มีสิทธิร้องคัดค้านการเลือกต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายสิบห้าวันนับแต่วันเลือกเพื่อให้มีการเลือกใหม่ แต่เรื่องข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2535 ข้ออื่น ๆ ได้กำหนดขั้นตอนการเลือกผู้ใหญ่บ้านไว้เป็นลำดับ ตั้งแต่กำหนดวันเวลาสถานที่เลือก ระยะเวลาการสมัครรับเลือกการตั้งคณะกรรมการเลือก การตรวจคุณสมบัติและหลักฐานของผู้สมัครรับเลือกการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านการประกาศและประชุมราษฎรในหมู่บ้านเพื่อแจ้งวัตถุประสงค์ในการเลือก คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือก คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือก ตลอดจนวิธีการเลือกให้ราษฎรทราบโดยทั่วกัน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงขั้นตอนการเตรียมการเลือกผู้ใหญ่บ้านตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2535ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 และข้อ 10 เท่านั้น ต่อจากนั้นเป็นขั้นตอนการเลือกผู้ใหญ่บ้านซึ่งอาจเป็นการเลือกโดยวิธีลับหรือโดยวิธีเปิดเผย การลงคะแนน การนับคะแนนที่นายอำเภอและคณะกรรมการเลือกผู้ใหญ่บ้านจะต้องควบคุม ดูแลการเลือกและการประกาศผลการเลือกผู้ใหญ่บ้านให้เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯพ.ศ. 2535 ข้อ 11 ถึงข้อ 24 และขั้นตอนสุดท้ายเป็นการรายงานผลการเลือกผู้ใหญ่บ้านให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2535 ข้อ 25ดังนี้ การที่จำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตัดสิทธิไม่ให้โจทก์สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ด้วยการไม่ประกาศชื่อโจทก์ในบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านจึงเกิดขึ้นก่อนการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ดังนั้น จึงไม่มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านที่จะให้โจทก์อ้างว่าการเลือกเป็นไปโดยมิชอบในขณะนั้นที่โจทก์จะต้องร้องคัดค้านต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อโจทก์มิได้คัดค้านว่าการเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบ แต่อ้างเพียงว่าจำเลยไม่รับสมัครโจทก์ทำให้โจทก์เสียสิทธิไม่ได้ลงสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านเท่านั้น กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยพ.ศ. 2535 ข้อ 26 ทั้งไม่มีข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯข้ออื่นใดที่บังคับให้โจทก์ต้องร้องคัดค้านต่อผู้ว่าราชการจังหวัดก่อนที่จะฟ้องคดีในกรณีเช่นนี้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์เกิดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2501 ที่หมู่ที่ 7ตำบลโคกบีบอำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นสายสามัญ (ม.ศ.3) จากโรงเรียนโคกปีบวิทยาคม และโจทก์อยู่บ้านเลขที่ 144/1หมู่ที่ 7 ตำบลโคบปีบ มาตั้งแต่เกิดและย้ายทะเบียนบ้านไปอยู่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เมื่อวันที่18 กรกฎาคม 2532 ต่อมาอีกเพียง 3 เดือนเศษ ก็ย้ายกลับมาอยู่ที่บ้านเลขที่ดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2532แสดงว่าโจทก์ถือเอาบ้านเลขที่ 144/1 หมู่ที่ 7 ตำบลโคกปีบซึ่งเป็นท้องที่ที่จำเลยประกาศให้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านเป็นแหล่งที่อยู่สำคัญมาตั้งแต่เกิดเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้วบ้านเลขที่ดังกล่าวจึงเป็นภูมิลำเนาของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 37 ส่วนการที่โจทก์ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นโจทก์มิได้แจ้งย้ายไปอยู่ที่อื่นหรือแสดงเจตนาอย่างชัดแจ้งว่าโจทก์จะถือเอาประเทศญี่ปุ่นเป็นภูมิลำเนา การไปอยู่ประเทศญี่ปุ่นจึงเป็นเพียงเพราะสภาพของานบังคับให้ไปอยู่ที่นั่น ทั้งระยะทางก็อยู่ห่างไกลกันคนละประเทศ จะให้โจทก์เทียวไปเทียวมาระหว่างบ้านกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อที่จะแสดงว่าโจทก์ไม่ได้ย้ายภูมิลำเนาย่อมเป็นไปไม่ได้ กรณีต้องถือว่าโจทก์ไปทำงานเพียงชั่วคราวเท่านั้น การที่โจทก์ไม่ประสงค์จะเปลี่ยนหรือย้ายภูมิลำเนาและโจทก์มีความรักและความผูกพันในหมู่บ้านซึ่งเป็นบ้านเกิดของตนอย่างแน่นแฟ้นเป็นเวลานานพอสมควรในการอยู่ในหมู่บ้าน สมดังเจตนารมณ์ของกฎหมายลักษณะปกครองท้องถิ่นที่ที่ประสงค์จะให้ผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านมีความผูกพันในหมู่บ้านที่จะสมัครรับเลือกตั้งนั้นแล้ว และเมื่อโจทก์กลับมาแล้วก็ได้ประกอบอาชีพอยู่ในหมู่บ้านเป็นหลักฐานตลอดมา ต้องถือว่าโจทก์มีภูมิลำเนาและมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรในหมู่บ้านนั้นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี จนถึงวันเลือก มิเช่นนั้นก็จะกลายเป็นว่านอกจากโจทก์จะมีภูมิลำเนาและมีชื่อในทะเบียนบ้านแล้ว โจทก์ต้องอยู่ที่หมู่บ้านนั้นเป็นประจำตลอดจะไปไหนไม่ได้เลยระหว่างนั้นแม้เป็นการทำงานเพียงชั่วคราว อันเป็นการแปลกฎหมายไปในทางที่ตัดสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 12(3)การที่จำเลยไม่รับสมัครโจทก์เป็นผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านด้วยข้ออ้างดังกล่าวจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5353

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5353/2540

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 57 (3), 247, 249

จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียก ณ. และ ส.เข้ามาเป็นจำเลยร่วม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(3) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องและในวันเดียวกันศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นเหตุให้คดีถึงที่สุด และสิทธิดำเนินคดีของจำเลยไม่มีอีกแล้วก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะมีคำพิพากษาให้หมายเรียก ณ. และ ส. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมเช่นนี้จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลอุทธรณ์จะหมายเรียกให้ ณ. และ ส. เข้ามาในคดีตามคำร้องของจำเลยที่ 1 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5352

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5352/2540

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 148

เมื่อปี 2517 โจทก์ฟ้องขับไล่สามีจำเลยออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 2021 ของโจทก์ซึ่งให้สามีจำเลยเช่า สามีจำเลยต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเดิมเป็นที่รกร้างว่างเปล่า สามีจำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ ไม่ใช่ที่ดินตามโฉนดดังกล่าวศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของสามีจำเลย และอยู่นอกเขตโฉนดเลขที่ 2021 โจทก์ไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาท ให้ยกฟ้องโจทก์ การที่โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยในคดีนี้ออกจากที่ดินพิพาทอีกนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยในคดีนี้เป็นภรรยาของจำเลยในคดีก่อนและได้ร่วมครอบครองที่ดินพิพาทกับจำเลยในคดีก่อนตลอดมาจนกระทั่งจำเลยในคดีก่อนถึงแก่ความตาย จากนั้นจำเลยในคดีนี้ได้ครอบครองที่ดินพิพาทสืบต่อมา จำเลยในคดีนี้จึงเป็นผู้สืบสิทธิจากจำเลยในคดีก่อน ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ ซึ่งต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5349

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5349/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 798, 821 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 94

ทางพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่จำเลยที่ 1 สามีของจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ต่อมาจำเลยที่ 1แบ่งแยกที่ดินส่วนที่อยู่ทางทิศใต้ของทางพิพาทออกเป็น10 แปลง เนื้อที่แปลงละ 50 ตารางวา โจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 จำนวน 1 แปลง และผ่อนชำระเงินจนครบถ้วนแล้วโจทก์และผู้ซื้อที่ดินรายอื่นใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะการที่ต่อมาจำเลยที่ 2 ทำบันทึกยกทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะคิดค่าตอบแทนจากโจทก์และผู้ซื้อที่ดินรายอื่นเป็นเงินรายละ 20,000 บาท โดยบางครั้งจำเลยที่ 2เป็นผู้รับชำระค่าที่ดินนั้น การที่จำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 เก็บเงินค่าผ่อนชำระราคาที่ดินจากผู้ซื้อและรับชำระเงินค่าผ่อนที่ดินแทน และฝ่ายจำเลยที่ 1 เพิ่งจะไม่ยอมตกลงยกทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะหลังจากจำเลยที่ 2ตกลงทำบันทึกยกทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะแล้วถึง20 กว่าวัน เป็นการแสดงออกของจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 2ออกเป็นตัวแทน หรือยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับที่ดินของจำเลยที่ 1ตลอดมาได้ว่าจำเลยที่ 1 เชิดให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนไปทำบันทึกยกทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโดยคิดค่าตอบแทนจากโจทก์และผู้ซื้อที่ดินรายอื่นแล้ว จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าการตั้งตัวแทนไม่ได้ทำเป็นหนังสือหรือไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 หาได้ไม่

« »
ติดต่อเราทาง LINE